คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าจากมูลค่าสินค้าที่นำเข้าและโอนขาย การกำหนดราคาตลาด และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
โจทก์โอนขายสินค้าที่โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีการค้า ขณะที่นำเข้าตามมาตรา 79 ตรี (11) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสินค้าดังกล่าวในวันโอนขาย ตามมาตรา 79 ทวิ (4) และมาตรา 84 แต่กฎหมายมิได้บัญญัติกฎเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าของสินค้าไว้ คงมีบัญญัติไว้ในมาตรา 78 ทวิ (6) เพียงว่าให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันโอน เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 7)เรื่องให้ใช้เกณฑ์คำนวณเพื่อกำหนดมูลค่าของสินค้าที่นำเข้าในราชอาณาจักรเป็นรายรับ (ราคาซี.ไอ.เอฟ.บวกด้วยค่าอากรขาเข้าและกำไรมาตรฐาน) มาใช้เทียบเคียงในการคำนวณมูลค่าสินค้าของโจทก์โดยเอาราคาซี.ไอ.เอฟ.บวกด้วยค่าอากรขาเข้า แล้วหักค่าเสื่อมราคาให้ได้ผลลัพธ์เท่าใดถือเป็นมูลค่าของสินค้าหรือราคาตลาดของสินค้าในวันโอนแต่ไม่ได้เอากำไรมาตรฐานบวกเข้าไปด้วยการที่ไม่ได้เอากำไรมาตรฐานบวกเข้าด้วยนั้น ทำให้มูลค่าของสินค้าของโจทก์ถูกลง การคำนวณภาษีย่อมลดลงไปด้วยซึ่งเป็นผลดีแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ได้ รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ ดังนั้น โจทก์จะอ้างว่าการประเมินไม่ชอบเพราะเหตุดังกล่าวไม่ได้
ปัญหาว่าศาลควรงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นคนละกรณีกับปัญหาตามที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่อ้างว่าประเมินโดยไม่ชอบดังนั้น ถ้าโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มด้วยโจทก์ก็ชอบที่จะมีคำขอมาท้ายฟ้องเมื่อโจทก์ไม่ได้มีคำขอในข้อนี้มาด้วยศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้อง เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อชำระหนี้ ไม่ถือเป็นการค้าเพื่อหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เพียงหนึ่งแปลงพร้อมตึกแถวเมื่อ พ.ศ.2510 แล้วใช้เป็นที่เก็บสินค้าของโจทก์ตลอดมาแสดงว่าโจทก์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินและตึกแถวนี้ไว้เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญมาแต่เดิม ที่โจทก์ต้องขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวไปใน พ.ศ.2519 ก็เพราะโจทก์มีหนี้สินอยู่มาก จำเป็นต้องขายเพื่อเอาเงินมาชำระหนี้และแม้โจทก์จะขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมากก็เป็นไปตามปกติของราคาที่ดินที่สูงขึ้นตามกาลเวลาหาใช่มีลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินและตึกแถวดังกล่าว โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า อันดับ 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3253/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายน้ำมันให้เรือต่างชาติเติมเชื้อเพลิงในถัง ไม่ถือเป็นการส่งออก ต้องเสียภาษีการค้า
วิธีการที่โจทก์ขายน้ำมันซึ่งโจทก์ผลิตในราชอาณาจักรให้แก่เรือซึ่งเดินระหว่างประเทศผู้สั่งซื้อ โดยเมื่อเรือเดินระหว่างประเทศของผู้ซื้อเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์ก็บรรทุกน้ำมันลงเรือลำเลียงนำไปสูบขึ้นเรือนั้น โดยเติมลงในถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงประจำเรือเพื่อใช้น้ำมันนั้นเป็นเชื้อเพลิงของเรือที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเท่านั้น จึงหาใช่เป็นการขายและส่งมอบน้ำมันโดยวิธีบรรทุกลงในระวางเรือของผู้ซื้อ และนำน้ำมันทั้งหมดออกนอกประเทศไม่ หากแต่เป็นการขายภายในประเทศแม้เจ้าของเรือซึ่งเป็นผู้ซื้อและชำระราคาจะอยู่ในต่างประเทศก็ตามโจทก์มิได้รับยกเว้นไม่ต้องนำรายได้มาคำนวณภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3253/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายน้ำมันให้เรือต่างชาติโดยเติมลงถังเชื้อเพลิง ถือเป็นการขายภายในประเทศ ต้องเสียภาษีการค้า
วิธีการที่โจทก์ขายน้ำมันซึ่งโจทก์ผลิตในราชอาณาจักรให้แก่เรือซึ่งเดินระหว่างประเทศผู้สั่งซื้อ โดยเมื่อเรือเดินระหว่างประเทศของผู้ซื้อเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์ก็บรรทุกน้ำมันลงเรือลำเลียงนำไปสูบขึ้นเรือนั้น โดยเติมลงในถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงประจำเรือเพื่อใช้น้ำมันนั้นเป็นเชื้อเพลิงของเรือที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเท่านั้น จึงหาใช่เป็นการขายและส่งมอบน้ำมันโดยวิธีบรรทุกลงในระวางเรือของผู้ซื้อ และนำน้ำมันทั้งหมดออกนอกประเทศไม่ หากแต่เป็นการขายภายในประเทศ แม้เจ้าของเรือซึ่งเป็นผู้ซื้อและชำระราคาจะอยู่ในต่างประเทศก็ตาม โจทก์มิได้รับยกเว้นไม่ต้องนำรายได้มาคำนวณภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นมเปรี้ยวยาคูลท์จัดเป็น 'อาหาร' ไม่ใช่ 'เครื่องดื่ม' ต้องเสียภาษีการค้า
สินค้านมสดเปรี้ยวยาคูลท์ของโจทก์ประกอบด้วยนมสดเป็นส่วนใหญ่ ต้องถือว่าเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร จึงเป็นสินค้าที่มีระบุไว้ในบัญชี 1 หมวด 1(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 หาใช่เป็นเครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(6) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โจทก์ผู้ประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า และต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) ในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ
คำว่าอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มใช้ในประมวลรัษฎากรและพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 54 จะนำวิเคราะห์ศัพท์หรือความหมายใน พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร และพระราชบัญญัติภาษีเครื่องดื่มมาใช้ก็ไม่ได้ เพราะเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติเหล่านี้ต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การหักลดหย่อนจากใบลดหนี้ประเภทต่างๆ และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ยางรถยนต์ที่โจทก์ขายไปแล้ว ต่อมายางชำรุดเสื่อมคุณภาพเนื่องจากความบกพร่องในการผลิต โจทก์จึงรับคืนยางที่ชำรุดบกพร่องและเปลี่ยนยางเส้นใหม่ให้ลูกค้าในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ โจทก์คิดคำนวณค่ายางชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพดังกล่าวออกมาเป็นตัวเงินเพื่อชดเชยให้แก่ลูกค้า แล้วนำเงินค่าชดเชยนี้ไปหักออกจากราคาปกติของยางเส้นใหม่โดยให้ลูกค้าชำระเงินเป็นราคายางเส้นใหม่ ในราคาคงเหลือจากที่หักค่าชดเชยแล้ว โจทก์จะถือราคายางเส้นใหม่เท่ากับยอดเงินราคายางที่หักค่าชำรุดเสียหายออกเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าไม่ได้ เพราะโจทก์ขายยางเส้นใหม่เสร็จเด็ดขาดเต็มราคา
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ประกาศลดราคาขายยางลง หลังโจทก์ตรวจจำนวนยางที่ยังเหลืออยู่ที่ลูกค้ายังไม่ได้ขายออกไปว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วโจทก์ออกใบลดหนี้เท่าจำนวนราคายางที่ต้องลดให้ลูกค้า ในการเสียภาษีการค้าโจทก์จะนำจำนวนเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวไปหักออกจากรายรับในเดือนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ แล้วเสียภาษีการค้าในจำนวนเงินรายรับที่เหลือนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหักเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้ออกจากรายรับเพราะส่วนลดดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายและไม่มีกฎหมายบัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้า
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงกับลูกค้าว่า หากลูกค้าซื้อยางจากโจทก์ตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์จะคิดราคายางต่ำลงมาจากราคาปกติ กล่าวคือในตอนแรกคิดราคาตามปกติ เมื่อซื้อครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะลดราคายางให้ เมื่อลูกค้าซื้อยางตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จะลดราคาให้แล้วโจทก์ออกแบบลดหนี้ให้ลูกค้าตามจำนวนที่ลดลง ราคายางที่โจทก์ลดให้ดังกล่าวเป็นการให้ค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ โจทก์จะนำเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้มาหักออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้าไม่ได้เช่นกัน
โจทก์ออกใบกำกับสินค้าโดยลงรายการจำนวนเงินผิดพลาดและลงบัญชีผิดพลาดตามไปด้วย โจทก์จึงออกใบลดหนี้เพื่อยกเลิกใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้นถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้นถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้านั้นและไม่มีรายรับเนื่องจากการขายสินค้าเจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบรับนี้มาคำนวณเป็นรายรับเป็นการไม่ถูกต้อง
ในกิจการค้าของโจทก์ โจทก์ตั้งเป้าหมายในการจำหน่ายยางแต่ละเดือนไว้ว่าเมื่อใกล้จะสิ้นเดือนหากยังขายยางไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวแทนของโจทก์จะเสนอขายยางให้แก่ลูกค้าในราคาต่ำกว่าปกติเป็นกรณีพิเศษ แต่ฝ่ายบัญชีของโจทก์ไม่ทราบ จึงออกใบกำกับสินค้าไปตามราคาปกติ เมื่อลูกค้าทักท้วงมา ฝ่ายบัญชีจึงออกใบลดหนี้เพื่อปรับปรุงรายการทางบัญชีให้ตรงตามราคายางที่ขายไปจริง ใบลดหนี้ประเภทนี้ออกมาเพื่อให้ราคาที่ขายถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมิใช่รายรับ เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายรับย่อมไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์รับคืนยางที่ชำรุดหลังจ่ายยางเส้นใหม่ให้ หรือลดราคายางที่ค้างสต๊อกของลูกค้าที่ซื้อไปด้วยเงินเชื่อ หรือลดราคายางให้แก่ลูกค้าที่ซื้อยางจำนวนมากก็ดี ไม่เกี่ยวกับรายรับของเดือนภาษีต่อมา ฉะนั้น ที่โจทก์ทำใบลดหนี้ในกรณีดังกล่าวแล้วนำมาหักจากรายรับของเดือนภาษีต่อมา จึงเป็นการส่อเจตนาหลีกเลี่ยภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ลดเบี้ยปรับให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การหักลดหย่อนใบลดหนี้จากรายรับและการหลีกเลี่ยงภาษี
ยางรถยนต์ที่โจทก์ขายไปแล้ว ต่อมายางชำรุดเสื่อมคุณภาพเนื่องจากความบกพร่องในการผลิต โจทก์จึงรับคืนยางที่ชำรุดบกพร่องและเปลี่ยนยางเส้นใหม่ให้ลูกค้าในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ โจทก์คิดคำนวณค่ายางชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพดังกล่าวออกมาเป็นตัวเงินเพื่อชดเชยให้แก่ลูกค้า แล้วนำเงินค่าชดเชยนี้ไปหักออกจากราคาปกติของยางเส้นใหม่โดยให้ลูกค้าชำระเงินเป็นราคายางเส้นใหม่ในราคาคงเหลือจากที่หักค่าชดเชยแล้ว โจทก์จะถือราคายางเส้นใหม่เท่ากับยอดเงินราคายางที่หักค่าชำรุดเสียหายออกเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าไม่ได้ เพราะโจทก์ขายยางเส้นใหม่เสร็จเด็ดขาดเต็มราคา
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ประกาศลดราคายางลง หลังโจทก์ตรวจจำนวนยางที่ยังเหลืออยู่ที่ลูกค้าที่ยังไม่ได้ขายออกไปว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วโจทก์ออกใบลดหนี้เท่าจำนวนราคายางที่ต้องลดให้ลูกค้า ในการเสียภาษีการค้าโจทก์จะนำจำนวนเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวไปหักออกจากรายรับในเดือนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ แล้วเสียภาษีการค้าในจำนวนเงินรายรับที่เหลือนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหักเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้ออกจากรายรับ เพราะส่วนลดดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายและไม่มีกฎหมายบัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้า
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงกับลูกค้าว่า หากลูกค้าซื้อยางจากโจทก์ตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์จะคิดราคายางต่ำลงมาจากราคาปกติกล่าวคือในตอนแรกคิดราคาตามปกติ เมื่อซื้อครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะลดราคายางให้ เมื่อลูกค้าซื้อยางตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จะลดราคาให้แล้วโจทก์ออกแบบลดหนี้ให้ลูกค้าตามจำนวนที่ลดลง ราคายางที่โจทก์ลดให้ดังกล่าวเป็นการให้ค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ โจทก์จะนำเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้มาหักออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้าไม่ได้เช่นกัน
โจทก์ออกใบกำกับสินค้าโดยลงรายการจำนวนเงินผิดพลาดและลงบัญชีผิดพลาดตามไปด้วย โจทก์จึงออกใบลดหนี้เพื่อยกเลิกใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้น ถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้านั้นและไม่มีรายรับเนื่องจากการขายสินค้า เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบรับนี้มาคำนวณเป็นรายรับเป็นการไม่ถูกต้อง
ในกิจการค้าของโจทก์ โจทก์ตั้งเป้าหมายในการจำหน่ายยางแต่ละเดือนไว้ว่าเมื่อใกล้จะสิ้นเดือนหากยังขายยางไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวแทนของโจทก์จะเสนอขายยางให้แก่ลูกค้าในราคาต่ำกว่าปกติเป็นกรณีพิเศษ แต่ฝ่ายบัญชีของโจทก์ไม่ทราบ จึงออกใบกำกับสินค้าไปตามราคาปกติ เมื่อลูกค้าทักท้วงมา ฝ่ายบัญชีจึงออกใบลดหนี้เพื่อปรับปรุงรายการทางบัญชีให้ตรงตามราคายางที่ขายไปจริง ใบลดหนี้ประเภทนี้ออกมาเพื่อให้ราคาที่ขายถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมิใช่รายรับ เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายรับย่อมไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์รับคืนยางที่ชำรุดหลังจ่ายยางเส้นใหม่ให้หรือลดราคายางที่ค้างสต๊อกของลูกค้าที่ซื้อไปด้วยเงินเชื่อ หรือลดราคายางให้แก่ลูกค้าที่ซื้อยางจำนวนมากก็ดี ไม่เกี่ยวกับรายรับของเดือนภาษีต่อมา ฉะนั้นที่โจทก์ทำใบลดหนี้ในกรณีดังกล่าวแล้วนำมาหักจากรายรับของเดือนภาษีต่อมา จึงเป็นการส่อเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ลดเบี้ยปรับให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้า ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ตกลงทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราคาเงินสด แต่กำหนดให้ลูกค้าชำระราคาด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยังไม่ถึงกำหนดก็ได้ ในกรณีที่ชำระราคาด้วยตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกค้าจะต้องชำระดอกเบี้ยสำหรับราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ให้แก่โจทก์ด้วยนั้น การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าอีกจำนวนหนึ่งเพิ่ม ขึ้นจากราคาเงินสดเป็นการนำดอกเบี้ยมาเป็นหลักกำหนดราคาขายเชื่อนั่นเอง แม้ลูกค้าบางคนจะออกตั๋วสัญญาใช้เงินสำหรับดอกเบี้ยเป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาให้เงินสำหรับราคาเงินสด หรือโจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินสำหรับดอกเบี้ยเป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากจากใบเสร็จรับเงินราคาสินค้าก็ไม่ทำให้ดอกเบี้ยนั้นเป็นดอกเบี้ยของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกชำระราคาสินค้า ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าที่โจทก์ขายเพื่อ เป็นราคาสินค้าอันเป็นรายรับตามวิธีคำนวณรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยในสัญญาซื้อขายเชื่อเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีการค้า
การที่โจทก์ตกลงทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราคาเงินสด แต่กำหนดให้ลูกค้าชำระราคาด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยังไม่ถึงกำหนดก็ได้ ในกรณีที่ชำระราคาด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกค้าจะต้องชำระดอกเบี้ยสำหรับราคาสินค้า นั้นให้แก่โจทก์ ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ให้แก่โจทก์ ด้วยนั้น การที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าอีก จำนวนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากราคาเงินสด เป็นการนำดอกเบี้ยมา เป็นหลักกำหนดราคาขายเชื่อนั่นเอง แม้ลูกค้าบางคนจะ ออกตั๋วสัญญาใช้เงินสำหรับดอกเบี้ย เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหาก จากตั๋วสัญญาใช้เงินสำหรับ ราคาเงินสด หรือโจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินสำหรับดอกเบี้ย เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากจาก ใบเสร็จรับเงินราคาสินค้า ก็ไม่ทำให้ดอกเบี้ยนั้นเป็น ดอกเบี้ยของตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ออกชำระราคาสินค้า ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจึงเป็น ส่วนหนึ่งของราคาสินค้า ที่โจทก์ขายเชื่อ เป็นราคาสินค้า อันเป็นรายรับตามวิธี คำนวณรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดรายรับย้อนหลังเพื่อประเมินภาษีการค้าตาม ปร. 87 ทวิ (7) และ 88 ทวิ (1)
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไปควบคุมรายรับของโจทก์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดรายรับให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) และการกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าด้วยวิธีดังกล่าว กฎหมายมิได้จำกัดว่าให้ทำได้เฉพาะรายรับของปีปัจจุบันเท่านั้น หากเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าปีใดผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เจ้าพนักงานประเมินก็ย่อมมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าสำหรับในปีนั้นได้เพื่อจะนำมาประเมินภาษีตามมาตรา 87 และการประเมินดังกล่าวมาตรา 88 ทวิ (1) บัญญัติให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับของโจทก์ด้วยวิธีควบคุมรายรับดังกล่าวแล้วประเมินภาษีย้อนหลังไปภายใน 5 ปี (นับแต่ปีที่ควบคุมรายรับ) จึงชอบด้วยกฎหมาย
of 30