คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ผู้อื่นรับมรดก ย่อมตัดสิทธิทายาทอื่นในการเรียกร้องแบ่งมรดก
บันทึกที่จ. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินใจความว่าที่ดินพิพาทมีชื่อฉ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ตายไปแล้ววันนี้(วันที่2ธันวาคม2530)ทายาทของผู้ตายคือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของฉ. จ.ได้รับทราบเรื่องราวและประกาศขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้โดยตลอดแล้วจ. เป็นทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ด้วยแต่จ. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใดและยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ถ้อยคำของจ.เป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่24(พ.ศ.2516)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497ซึ่งถ้อยคำของจ. ดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดแต่บันทึกถ้อยคำของนายจำรัสดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามมาตรา850,852และ1750ทั้งตามโฉนดที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้นอันถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของจ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก การครอบครองแทน การรับรองบุตร และการสันนิษฐานทางกฎหมาย
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นบุตรที่ ฉ.ได้ให้การรับรองว่าเป็นบุตรแล้ว แม้จำเลยจะมีเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านนักเรียนที่ระบุว่า โจทก์เป็นบุตร ฉ.และนางแฉล้มมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้ดังกล่าวข้างต้น กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านกับทะเบียนนักเรียนอันเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 แล้ว แม้จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ. โดยมิได้แจ้งว่าโจทก์เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกด้วยก็ตาม แต่การที่จำเลยไปขอรับมรดกของฉ.โดยระบุบัญชีเครือญาติของฉ. เจ้ามรดกว่ามีเฉพาะจำเลยและ ส. บุตรนายเฉลียวเพียง 2 คน เท่านั้นที่เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ.เจ้ามรดกและส. ไม่ขอรับมรดกโดยไม่ได้ระบุถึงโจทก์ด้วยตามพฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปิดบังทรัพย์มรดก อันจะเป็นเหตุให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 ฉ. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2532โจทก์ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกภายหลังจากที่ฉ. ถึงแก่กรรมแล้วโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย กรณีจึงมิใช่โจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่งมีเจตนายึดถือเพื่อตนอันจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดก ฉ. ร่วมกับจำเลยแต่ประการใด แต่เป็นการครอบครองแทนจำเลยและเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอรับโอนที่ดินมรดก โจทก์ก็ไปด้วยและโจทก์ไม่ได้ขอแบ่งที่ดินมรดก เมื่อรับฟังประกอบกับเมื่อขณะที่จำเลยขอรับโอนที่ดินมรดกจำเลยก็ไม่ได้ระบุว่าโจทก์เป็นทายาท ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินมรดกอย่างเจ้าของ และการครอบครองที่ดินมรดกของจำเลยมิใช่การครอบครองที่ดินมรดกแทนโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ฉ. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้มีสิทธิรับมรดกและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่เกิดกับ ต. เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่าผู้คัดค้านเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้เช่นนี้ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงชอบแล้ว ส่วนที่ผู้คัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องนั้นเมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ขอมาในคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และการสืบสิทธิมรดก
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งเมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่หนึ่งและป. บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมกันหาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าป. หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินมรดก: การครอบครองปรปักษ์หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
พ.เจ้ามรดกมิได้ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ก่อนตาย เมื่อ พ.ตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของ พ.และตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างประเด็นแห่งคดีมาในคำฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของพ.ผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ.ไม่สามารถขอรับโอนมรดกได้ เพราะจำเลยไปขอออก น.ส.3 ในชื่อจำเลยเสียก่อน ดังนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทหรือไม่
การที่โจทก์เพิ่งมาขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ.เจ้ามรดกและฟ้องเป็นคดีนี้เพื่อเรียกที่ดินคืนจากจำเลยโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ พ.หลังจาก พ.ตายนานถึง 8 ปีเศษ ทั้งการที่ที่ฝ่ายโจทก์เข้าไปเก็บมะพร้าวในที่ดินพิพาทโดยถือวิสาสะในฐานะญาติมากกว่าเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียวตั้งแต่ พ.ตายตลอดมาโดยมีเจตนาจะยึดถือเพื่อตนจนไปขอออก น.ส.3โดยโจทก์ไม่ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทหรือโต้แย้งแต่ประการใด ดังนี้จำเลยย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 และ 1369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามหลักศาสนาอิสลาม (นาซาร์) และการได้มาซึ่งที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
ที่พิพาทแปลงปลูกบ้านเป็นที่ดินมีโฉนด แม้บิดาจะได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้นี้จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525
สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ป.พ.พ.มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่ 2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522 จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก.ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก.ให้แก่จำเลย ดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก.ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อน โจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว (ลาภาซ) แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์หรือกล่าวลาภาซไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามนาซาร์ (พินัยกรรมอิสลาม) และการครอบครองที่ดิน กรณีโอนไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายและสละการครอบครอง
ที่ดินพิพาทแปลงปลูกบ้านเป็นที่ดินมีโฉนด แม้บิดา จะได้ทำหนังสือนาซาร์ ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม ยกที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่มิได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ การ ยกให้นี้จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก. ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก. ให้แก่จำเลยดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก. ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อนโจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว(ลาภาซ)แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์ หรือกล่าวลาภาซ ไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานีการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การฟ้องซ้ำเรื่องมรดกขัดแย้งการให้การเดิม
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของ ม.ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ขณะที่ ม. ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสอง ป. และ พ. รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของ ม. ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป. บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม. ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป. และ พ.ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, อายุความ, ขอบเขตการแบ่งทรัพย์สิน, และการวินิจฉัยศาลเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ. ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อนบ. ถึงแก่กรรมและ บ. ได้จ่ายใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ. ซึ่งจะมีผลต่อ บ. และผู้รับมรดกแทนที่อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรม ซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลง กรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้ผู้อื่น & ผลของการทำพินัยกรรม: ที่ดินที่ยังไม่ได้จดทะเบียนยกให้ยังเป็นมรดก
ที่ดินพิพาทสองแปลงแรกเป็นทรัพย์มรดกของ ด.ผู้ตาย ดังนั้นข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ส่วนที่ดินพิพาทอีก 2 แปลงหลังนั้น แม้ผู้ตายจะมีความประสงค์ยกให้แก่จำเลยในปี 2520 โดยการไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินขอยกที่ดินสองแปลงหลังที่ขณะนั้นยังเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ซึ่งการยกที่ดินให้แก่กันต้องมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ในนามผู้ยกให้ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมก่อน หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการจดทะเบียนการยกให้แก่ผู้รับในภายหลัง เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนยกให้ ถือว่าการยกให้ยังไม่สมบูรณ์ ตามพฤติการณ์ของผู้ตายดังกล่าวแสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้ให้แก่จำเลย โดยวิธีขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ตายจึงได้ไปดำเนินการเช่นนั้น หาใช่ผู้ตายเจตนายกให้แก่จำเลยทันทีโดยวิธีส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลยไม่ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้ยังไม่ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายในปี 2522 ความประสงค์ของผู้ตายที่จะยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจึงไม่มีผลตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้จึงยังเป็นของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินสองแปลงหลังนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้เช่นเดียวกัน มิได้เป็นอันเพิกถอนไปตามป.พ.พ.มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลงให้แก่ ด.แต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ด.ผู้รับพินัยกรรมทันที ส่วนจำเลยแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายแต่ได้ถูกตัดมิให้ได้รับทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1608 วรรคท้าย จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายที่มีสิทธิรับทรัพย์มรดก ส่วนจำเลยร่วมเป็นบุตรของ ผ. มิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ดังนั้น จำเลยและจำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 ขึ้นต่อสู้ ด.ผู้รับพินัยกรรมรวมทั้งไม่มีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้รับมรดกจาก ด.เช่นเดียวกัน
of 179