คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการชำระหนี้ด้วยวิธีการอื่นที่คู่กรณีรับทราบและยินยอม ถือเป็นการปลดเปลื้องภาระหนี้เดิม
จำเลยขับรถยนต์ชนลวดสลิง ที่ยึดโยงเสาอากาศวิทยุของโจทก์ทำให้เสาอากาศวิทยุล้มเสียหายใช้การไม่ได้ จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์ยอมรับเอาเสาอากาศวิทยุที่จำเลยติดตั้งใหม่แทนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันไว้ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงเป็นอันระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผูกพันของสัญญาจำนองและค้ำประกันต่อจำเลยจากการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และการยินยอมให้ผู้อื่นลงนาม
จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 ต่อมาอีก 3 วัน คือวันที่ 29 พฤษภาคม2521 จำเลยที่ 2 ได้มาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเพื่อมาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรแก่โจทก์ตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อต่อมาภายหลังคือวันที่ 1 มิถุนายน 2521นายทะเบียนรับจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองให้ตามที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนแล้ว แม้วัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองนั้น ยังไม่ได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ตามฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจถือเอาประโยชน์จากการขอจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในข้อกิจการจำนองของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวได้แล้ว ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1023 สัญญาจำนองผูกพันจำเลยที่ 2 ได้. สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ มีจำเลยที่ 4ลงชื่อและประทับตราห้างจำเลยที่ 2 ในขณะทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการจากจำเลยที่ 4 เป็นจำเลยที่ 3 แล้ว แสดงว่าหลังจากจำเลยที่ 3 เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสืบต่อจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 3 ยังคงยอมให้จำเลยที่ 4 ครอบครองตราของห้างอยู่ และเมื่อจะทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ก็ยินยอมให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการเสมือนยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามเดิม โดยจำเลยที่ 3 มิได้ทักท้วงว่ากล่าวหรือแจ้งให้โจทก์ทราบพฤติการณ์บ่งชัดว่าจำเลยที่ 3 เชิดจำเลยที่ 4 ให้แสดงออกเป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาค้ำประกันในนามห้างจำเลยที่ 2ซึ่งโจทก์มิได้ล่วงรู้ข้อความจริงจำเลยที่ 2 จึงจำต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างต่อโจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายที่ไม่สมเหตุสมผลและการยินยอมชำระภาษีเหมาจ่าย ศาลยืนตามประเมินเจ้าพนักงาน
ในชั้นตรวจสอบไต่สวน หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มิได้นำเอกสารเกี่ยวกับรายจ่ายที่เป็นปัญหาว่าต้องห้ามหรือไม่ไปมอบให้เจ้าพนักงาน ทั้งไม่มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าวมาเบิกความรับรอง รับฟังไม่ได้ว่ามีการจ่ายจริง โจทก์จะนำจำนวนเงินที่ปรากฏในเอกสารมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้
หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยินยอมชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำนวนลูกจ้างของโจทก์มีเท่าใด แต่ละคนได้ค่าจ้างเท่าใด อันจะเป็นข้อที่ทำให้เห็นว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานคิดคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงานและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้ประเมินตามที่โจทก์ยินยอม อันเป็นการปฏิบัติไปตามความยินยอมของโจทก์ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าเป็นการไม่ชอบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ-การยินยอมให้เช่าต่อ-หนังสือบอกเลิกสัญญา-การฟ้องขับไล่-อำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าอาคารตึกแถวจากโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าจำเลยได้ส่งค่าเช่าประจำเดือนต่อไปอีก 3 เดือน ไปให้โจทก์ทางไปรษณีย์ธนาณัติแต่โจทก์ก็มิได้เปิดซองนำธนาณัติไปรับเงินดังนี้ แสดงว่าโจทก์มิได้ยินยอมให้จำเลยอยู่ในอาคารตึกแถวที่เช่าต่อไป จึงไม่รับเงินค่าเช่า ทั้งโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องส่งธนาณัติคืนจำเลย เมื่อสัญญาเช่าหมดอายุและโจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในตึกที่เช่าต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอมและการบังคับคดี: สัญญาที่ถูกแก้ไขโดยไม่ได้รับความยินยอม
การที่โจทก์เขียนข้อความในสัญญากู้เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริงโดย จำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้ดังกล่าวย่อมเป็นเอกสารปลอม ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ และแม้ขณะโจทก์เขียนสัญญากู้ จำเลยจะได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวนหนึ่งจริง ศาลก็จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้นั้นโดยอาศัยสัญญากู้นี้ไม่ได้
แม้สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องจะระบุว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ไปครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญากู้ดังกล่าวเป็นสัญญาที่โจทก์ปลอมแปลงโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินที่กู้ผิดจากที่กู้กันจริงโดย จำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย เช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของตนได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย กรณีหาใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของทรัพย์ที่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย ไม่อาจเรียกคืนทรัพย์สินได้
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องให้จำเลยเช่า โรงงานและเช่าซื้อ อุปกรณ์แบ่งบรรจุก๊าซของกลางก็ตาม แต่ ก็ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องได้ ขอ อนุญาตต่อ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแบ่งบรรจุก๊าซไว้ และในระหว่างให้จำเลยเช่า โรงงานนั้น ผู้ร้องก็หาได้ แจ้งเลิกกิจการไม่ ทั้งขณะเมื่อเจ้าพนักงานเข้าจับกุมจำเลยซึ่ง ร่วมถ่ายเทก๊าซก็ได้ แสดงตัว เป็นผู้ควบคุมดูแล และได้แสดงใบอนุญาตบรรจุก๊าซของผู้ร้อง ดังนี้ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าผู้ร้องรู้เห็นยินยอมให้จำเลยประกอบกิจการแบ่งบรรจุก๊าซในนามผู้ร้องผู้ร้องจึงรู้เห็นเป็นใจด้วย ในการกระทำผิดของจำเลย ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอคืนอุปกรณ์แบ่งบรรจุก๊าซของกลาง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมให้ทำถนนแล้วฟ้องละเมิดมิได้ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
บิดามารดาโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้เยาว์ โดยโจทก์รู้เห็นด้วยตั้งแต่ขณะจำเลยเริ่มทำและไม่เคยโต้แย้งคัดค้านมาก่อน จึงถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ทางราชการทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์แล้วการที่โจทก์มีอายุ 19 ปีเศษ เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งถือว่ามีความรู้สึกผิดชอบและรอบรู้ถึงผลดีผลเสียแห่งการกระทำของตนได้เป็นอย่างดีแล้ว ได้ยินยอมให้จำเลยทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์โดยเข้าใจว่าบิดามารดาโจทก์จะได้รับสัมปทานเดินรถบนถนนสายดังกล่าว แต่ต่อมาเมื่อบิดามารดาโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติสัมปทาน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิดและขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนถนนดังกล่าวออกไปจากที่ดินโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการให้ความยินยอมของโจทก์มิได้รับอนุญาตจากศาลเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1574 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมให้ใช้ที่ดิน & สิทธิโดยไม่สุจริต: โจทก์ฟ้องละเมิดแต่เคยยินยอมและทราบเหตุผล
พฤติการณ์ที่โจทก์มอบอำนาจให้มารดานำที่ดินของโจทก์ไปจัดการหาผลประโยชน์ติดต่อ กันตลอดมา รวมทั้งการที่บิดามารดาโจทก์ยินยอมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกับพวกซึ่ง เป็นจำเลยทำถนน ผ่านที่ดินโจทก์โดย โจทก์ก็รู้เห็นด้วย และไม่เคยโต้แย้งคัดค้านมาก่อน ถือ ได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ทางราชการทำถนน พิพาทผ่านที่ดินของโจทก์แล้วการกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิด โจทก์มีอายุ 19 ปีเศษ เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่ง ถือ ว่ามีความรู้สึกผิดชอบและรอบรู้กับผลดี ผลเสียแห่งการกระทำของตน ได้เป็นอย่างดี แล้ว เมื่อโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำถนน ผ่านที่ดินของโจทก์โดย เข้าใจว่าบิดามารดาโจทก์จะได้ รับสัมปทานเดินรถบนถนน สายดังกล่าว แต่ ต่อมาบิดามารดาโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติสัมปทาน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดและให้รื้อถอนถนน พิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้ สิทธิโดย ไม่ สุจริตขัดต่อ บทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการให้ความยินยอมของโจทก์มิได้รับอนุญาตจากศาลเป็นการขัดต่อป.พ.พ. มาตรา 1574 หรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมให้ทำถนน – สิทธิโดยไม่สุจริต – ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดามารดาโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้เยาว์ โดยโจทก์รู้เห็นด้วยตั้งแต่ขณะจำเลยเริ่มทำและไม่เคยโต้แย้งคัดค้านมาก่อน จึงถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ทางราชการทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์แล้วการที่โจทก์มีอายุ19 ปีเศษ เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งถือว่ามีความรู้สึกผิดชอบและรอบรู้ถึงผลดีผลเสียแห่งการกระทำของตนได้เป็นอย่างดีแล้วได้ยินยอมให้จำเลยทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์โดยเข้าใจว่าบิดามารดาโจทก์จะได้รับสัมปทานเดินรถบนถนนสายดังกล่าว แต่ต่อมาเมื่อบิดามารดาโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติสัมปทาน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิดและขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนถนนดังกล่าวออกไปจากที่ดินโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการให้ความยินยอมของโจทก์มิได้รับอนุญาตจากศาลเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1574 หรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของภรรยาที่ไม่ได้ความยินยอมจากสามี และการหักกลบหนี้จากการซื้อขาย
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยใช้ เงินตาม สัญญาซื้อขาย จำเลยฎีกาอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากสามีจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ เป็นประเด็นในคำให้การไว้ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 294 แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ ก็ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรที่จะได้ รับการวินิจฉัย.
of 68