คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผิดแบบและการใช้กฎหมายย้อนหลัง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจนถูกดำเนินคดีและ เปรียบเทียบปรับไปแล้ว โจทก์ก็มิใช้อำนาจรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้าง ผิดแบบนั้นตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 มาตรา11ทวิให้อำนาจไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายอาคารนั้นให้แก่จำเลยที่1 โจทก์ก็ยังมิได้รื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบนั้นแต่ประการใด คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 บังคับซึ่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้แม้มาตรา 40 และ มาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารส่วนที่สร้างผิดแบบนั้นได้ก็จะมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารส่วนที่ผิดแบบนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 อนึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ แม้มีเงื่อนไขให้รื้อถอนได้
จำเลยทำสัญญาขายฝากบ้านไว้แก่โจทก์โดยไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีเงื่อนไขว่าหากจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนดโจทก์มีสิทธิรื้อถอนเอาบ้านไปได้ดังนี้รูปเรื่องเป็นการขายฝากบ้าน ซึ่งบ้านยังคงสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์อยู่ตามเดิมจนกว่าจำเลยจะไม่ไถ่คืน และโจทก์ได้รื้อถอนเอาไปถ้าจำเลยไถ่คืนแล้วก็ไม่มีทางที่บ้านนั้น จะแปรสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ไปได้ดังนี้ สัญญาที่ทำไว้จึงเป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายไม้ที่ปลูกสร้างบ้าน ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่เมื่อทำสัญญากันเองและมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 โจทก์จะนำมาฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 788/2497 และ 923/2485)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการบังคับใช้กฎหมายอาคารหลังได้รับอนุญาตแล้ว
จำเลยดัดแปลงผนังทึบอาคารตึกแถวด้านหลังซึ่งมีเขตติดต่อกับทางเดินอันเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ ตามที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างโดยเจาะทำประตูเหล็กยึดและหน้าต่างกระจกบานเกล็ดมิได้รุกล้ำเขตที่ดินข้างเคียง การกระทำของจำเลยก็ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 75 เมื่อการดัดแปลงดังกล่าวเสร็จพร้อมกับการก่อสร้างตึกแถวซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุเวลาของใบอนุญาต แต่ขณะนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับแล้ว กรณีก็ต้อง บังคับตามกฎหมายดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องกฎหมายมีผลบังคับย้อนหลังจำเลยถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุดแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและหัวหน้าเขตโจทก์ที่สั่งให้รื้อถอนประตูหน้าต่างผนังอาคารที่พิพาทโจทก์มีอำนาจขอให้ศาลสั่งบังคับจำเลยรื้อถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดค่ารื้อถอนอาคารต่อเติมหลังโอนสิทธิ เจ้าของเดิมไม่ต้องรับผิดหากกฎหมายใหม่บังคับใช้
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ทำการต่อเติมอาคารดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หลังจากจำเลยถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้วจึงได้ขายอาคารพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 และให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แทน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับให้รื้ออาคารส่วนที่ต่อเติม ดังนี้ต้องใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับ ซึ่งมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้รื้อ เจ้าของอาคารต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไม่ใช่เจ้าของอาคารพิพาทแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้จะรื้อถอนบางส่วน แต่หากยังมีส่วนที่รุกล้ำอยู่ ศาลยังคงมีคำพิพากษาให้ขับไล่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดต่อประมวลกฎหมายที่ดินลงโทษจำเลยกับให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล เมื่อได้ความตามทางไต่สวนว่าบ้านของจำเลยบางส่วนซึ่งจำเลยอ้างว่าอยู่นอกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อยู่ในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังนี้ จำเลยก็ต้องออกไปจากที่ดินนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างเหมา: การรื้อถอนงานที่ยังไม่ส่งมอบไม่ใช่ความผิดทำให้เสียทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้จ้างโจทก์สร้างถนนและลานจอดรถยนต์ในบริเวณโรงแรมแล้วจำเลยได้หลอกลวง บ. ซึ่งมีอาชีพรับเหมาก่อสร้างว่าโจทก์ละทิ้งงาน และสั่งให้ บ. รื้อถนนและลานจอดรถยนต์ที่โจทก์สร้างและครอบครองดูแลออกจนหมดทำให้ถนนและลานจอดรถเสียหายใช้การไม่ได้ ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องโต้แย้งกันว่าฝ่ายใดผิดสัญญาจ้าง หาใช่เป็นคำฟ้องในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากสิ้นสภาพเมื่อเรือนถูกรื้อถอน การฟ้องขับไล่เรือนหลังใหม่จึงไม่ชอบ
จำเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126 ขนาดกว้าง 8 ศอก ยาว 3วาให้โจทก์ ต่อมาระหว่างอายุสัญญาจำเลยรื้อเรือนดังกล่าวแล้วสร้างขึ้นใหม่กว้าง 3 วา ยาว 4 วาโดยใช้ไม้ของเรือนหลังเดิมบางส่วน และใช้บ้านเลขที่ 126 ตามเดิมดังนี้ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝากและเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพไปแล้วเรือนหลังใหม่คือเรือนพิพาทย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของสัญญาขายฝากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาท คงมีอำนาจที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยในกรณีที่จำเลยรื้อเรือนหลังเดิมอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝากเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม, การจัดการทรัพย์สินบุตร, ฟ้องเคลือบคลุม, สิทธิเจ้าของรวม, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยไม่ยอมออกไปจากโรงเรือนของโจทก์และปลูกโรงเรือนในที่ดินของโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์แม้จะปรากฏว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องรวมกับบุคคลอื่นแต่ไม่ระบุในฟ้องจำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี จึงได้ให้การว่าโฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1571 การที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุตรถือได้ว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของบุตรทั้งยังได้ปลูกในส่วนที่เป็นของบุตรจึงไม่เป็นการขัดต่อสิทธิแห่งโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรวมโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมและการจัดการทรัพย์สินของบุตรโดยผู้ปกครอง การรื้อถอนโรงเรือนที่ปลูกบนที่ดินรวม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยไม่ยอมออกไปจากโรงเรือนของโจทก์และปลูกโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์แม้จะปรากฏว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องรวมกับบุคคลอื่นแต่ไม่ระบุในฟ้องจำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี จึงได้ให้การว่าโฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1571 การที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุตรถือได้ว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของบุตรทั้งยังได้ปลูกในส่วนที่เป็นของบุตรจึงไม่เป็นการขัดต่อสิทธิแห่งโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรวมโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตของผู้รับโอน สิทธิเรียกร้องค่าที่ดิน มิใช่การรื้อถอน
เจ้าของเดิมได้ปลูกสร้างตึกแถวเลขที่ 40, 41 และ 42 ลงบนที่ดิน 2 แปลงของตนคือที่ดินโฉนดที่ 811 และ ที่ 237 ปรากฏว่าตึกแถวเลขที่ 41 ได้ปลูกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 811 ต่อมาที่ดินโฉนดที่ 811 พร้อมตึกแถวได้ตกเป็นของโจทก์ส่วนที่ดินโฉนดที่ 237 พร้อมทั้งตึกแถวได้ตกเป็นของจำเลยกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงมาใช้บังคับคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 การที่ตึกแถวเลขที่ 41 ปลูกล้ำเข้าไปในโฉนดที่ 811 ของโจทก์นั้น เจ้าของเดิมเป็นผู้ปลูกหาใช่จำเลยไม่โจทก์จำเลยต่างรับโอนที่ดินและตึกแถวมาอีกทอดหนึ่งถือได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวเป็นมาโดยสุจริต จะให้จำเลยรื้อถอนไปหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่และจะนำมาตรา 1310 มาปรับกับกรณีนี้ก็ไม่ได้ เพราะมาตรา 1310 เป็นบทบัญญัติกรณีที่ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินผู้อื่นทั้งหลัง มิใช่ปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินผู้อื่นเพียงบางส่วนเช่นกรณีนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนฝาห้องเลขที่ 41 ออกไปจากที่ดินโจทก์
of 40