พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของลูกหนี้ร่วม: พิจารณาหนี้สินและทรัพย์สินเป็นรายบุคคล
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่เมื่อโจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ต้องข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยจำเลยที่ 2 มิได้นำพยานเข้าสืบให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่นจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และการที่จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231
คดีล้มละลาย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยต่อไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ประกอบกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายจะต้องดำเนินเป็นการด่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 และ 153 จำเลยจะมาขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังเช่นการขอทุเลาการบังคับคดีแพ่งธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 231 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีล้มละลายเนื่องจากขาดนัดพิจารณา และข้อจำกัดในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดเวลาซึ่งโจทก์ได้ทราบนัดโดยชอบแล้ว และจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป กรณีนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่ง(เดิม) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเช่นว่านี้ หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีที่ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีไปแล้วกลับมาทำการพิจารณาต่อไป เป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของทายาทผู้จัดการมรดกในหนี้สินของเจ้ามรดก และการฟ้องล้มละลาย
ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นเพียงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ หากจะมีผลผูกพันจากการรับสภาพหนี้ กองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยที่ 4 ยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการผู้จัดการต้องรับผิดชอบการล้มละลายของบริษัท หากบริหารงานผิดพลาดและก่อหนี้โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4ถึงที่ 6 ย่อมทราบดีถึงศักยภาพในการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6ค้าขายขาดทุนจนไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่เจ้าหนี้ได้ ย่อมเป็นเพราะความประมาทหรือความผิดพลาดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ก่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน โดยไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าจะสามารถชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นกรณีอันควรตำหนิจำเลยที่ 2 นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังมิได้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจตกต่ำมีผลกระทบอย่างไรแก่การประกอบธุรกิจ ซึ่งหากจำเลยที่ 2 บริหารงานไม่ผิดพลาด การค้าขายก็คงไม่ขาดทุนถึงเพียงนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกันและการสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
++ เรื่อง ค้ำประกัน ++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาติดตามทรัพย์สินในคดีล้มละลาย มิใช่โมฆะหรือโมฆียะ แต่เป็นสัญญาที่มีผลใช้บังคับได้
ข้อสัญญาให้โจทก์มีหน้าที่ติดตามรวบรวมทรัพย์สินของ อ.เพื่อนำเข้ากองทรัพย์สินของ อ. และระบุถึงมูลเหตุที่ทำให้จำเลยยินยอมจ่ายค่าบำเหน็จให้โจทก์ว่า การรวบรวมทรัพย์สินมีความ ยากลำบากต่อการสืบเสาะค้นหาทรัพย์สินและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง การทำงานของโจทก์จึงกระทำไปเพื่อ ประโยชน์ของจำเลยและเจ้าหนี้อื่นโดยตรง ข้อสัญญาจึงมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นสัญญาจ้างทำของ แต่เป็นสัญญาที่มีผลใช้บังคับได้ประเภทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการตายของลูกหนี้ระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย และการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด ถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ได้ กรณีเช่นว่านี้โจทก์อาจขอให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์เข้ามาแก้คดีแทนลูกหนี้ที่ตายนั้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 83 และ 87 ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก่อน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาดจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ใหม่
การที่ศาลออกหมายบังคับคดี แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 คงมีเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการเบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ หามีน้ำหนักไม่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว คดีจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
การที่ศาลออกหมายบังคับคดี แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 คงมีเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการเบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ หามีน้ำหนักไม่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว คดีจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การตายของลูกหนี้ระหว่างพิจารณาคดี และการพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด ถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ได้ กรณีเช่นว่านี้โจทก์อาจขอให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์เข้ามาแก้คดีแทนลูกหนี้ที่ตายนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 83 และ 87 ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก่อน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ใหม่
การที่ศาลออกหมายบังคับคดี แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 คงมีเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการเบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ หามีน้ำหนักไม่ เมื่อข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว คดีจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
การที่ศาลออกหมายบังคับคดี แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 คงมีเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการเบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ หามีน้ำหนักไม่ เมื่อข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว คดีจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีในคดีล้มละลาย: นับจากวันถือเสมือนมีคำพิพากษา ไม่ใช่วันออกคำบังคับ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้มีหนังสือทวงหนี้ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ เป็นการดำเนินการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 เมื่อลูกหนี้มิได้ปฏิเสธหนี้ที่ทวงถามภายในกำหนดเวลา 14 วัน ต้องถือว่าลูกหนี้เป็นหนี้กองทรัพย์สินของเจ้าหนี้ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งไปเป็นการเด็ดขาด โดยถึงที่สุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2529 อันเป็นวันถัดจากวันครบกำหนดเวลาให้ปฏิเสธหนี้ ต้องถือเสมือนว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2529 กรณีเช่นนี้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการบังคับคดีไว้โดยเฉพาะ ซึ่งมาตรา 153 กำหนดให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2529 อันถือเสมือนว่าเป็นวันมีคำพิพากษา มิใช่นับแต่วันที่ศาลออกคำบังคับ