คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ดุลพินิจศาลและข้อจำกัดในการขอขยายซ้ำ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 นั้น ศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแม้จะน้อยกว่าระยะเวลาที่จำเลยขอ ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์ให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อไปได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลมีดุลพินิจ พิจารณาจากเหตุพิเศษ การอนุญาตขยายบางส่วนไม่ถือเป็นเหตุอุทธรณ์
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลา แม้จะน้อยกว่าระยะเวลาที่จำเลยขอไป 2 วัน ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์ให้ขยายระยะเวลาต่อไปได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการรับฎีกา, การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา, และหน้าที่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม
ในชั้นที่จำเลยยื่นฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา เพราะ ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 232 ให้อำนาจศาลชั้นต้นไว้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา และจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฎีกาเพื่อสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาเสียเองเป็นการไม่ชอบ และเมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ต่อมาศาลฎีกาเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่า คดีดังกล่าวอาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาหรือไม่ แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ถูกข่มขู่ & การพิจารณาความผิดกรรมเดียว
คำรับสารภาพของจำเลยทั้งสองต่อศาลไม่ปรากฏตามสำนวนว่ามีการข่มขู่แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าเป็นการรับสารภาพต่อศาลโดยความสมัครใจ การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าถูกนายประกันข่มขู่ให้การรับสารภาพต่อศาล หากไม่รับสารภาพจะถอนประกันจึงถือว่าเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นขึ้นอุทธรณ์ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยให้ในปัญหานี้จึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านตามหมายค้นของศาล และไม่ยอมให้นำตัว นาย ก. ซึ่งถูกจับกุมออกจากบ้านด้วยการใช้ไม้ท่อนเป็นอาวุธขู่เข็ญว่าจะทำร้ายและได้ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังเจ้าพนักงานตำรวจโดยปิดล็อกใส่กุญแจประตูรั้วบ้านไม่ยอมให้ออกจากบ้าน กับใช้ไม้ท่อนเป็นอาวุธขู่เข็ญว่าจะทำร้าย อันเป็นการข่มขืนใจ เจ้าพนักงานตำรวจให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาเดียวคือป้องกันมิให้ผู้เสียหายทั้งห้าจับกุมตัวนาย ก. เท่านั้น และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องในทันทีทันใด ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องจำหน่ายคดีหากคู่สัญญามิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้า ซึ่งมีข้อสัญญาว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเป็นเงื่อนไขของสัญญาให้ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมิได้ปฏิบัติตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการและจำเลยได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงชอบที่ศาลจะต้องไต่สวน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ได้ ก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย เพื่อให้โจทก์และจำเลยไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องจำหน่ายคดีหากไม่ได้เสนอข้อพิพาทเข้าอนุญาโตตุลาการก่อน
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้า ซึ่งมีข้อสัญญาว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเป็นเงื่อนไขของสัญญาให้ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมิได้ปฏิบัติตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการและจำเลยได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงชอบที่ศาลจะต้องไต่สวน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ได้ ก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย เพื่อให้โจทก์และจำเลยไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอดำเนินคดีอนาถาต้องมีการสืบพยานเบื้องต้นก่อน จึงจะยื่นคำร้องใหม่ขอแสดงพยานเพิ่มเติมได้
จำเลยอ้างในคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาว่า จำเลยเป็นคนยากจนและจำเลยต้องถูกจำคุกตามคำพิพากษาศาลฎีกา ยิ่งทำให้ครอบครัวจำเลยซึ่งไม่มีรายได้อื่นต้องเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสจำเลยไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยโดยไม่มีการไต่สวน ทำให้จำเลยไม่ได้เสนอพยานหลักฐานเกี่ยวกับความยากจนของจำเลยต่อศาล หากจำเลยเสนอพยานหลักฐานแล้วจะทำให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นคนยากจน ขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยเป็นคนยากจนและให้มีการพิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยใหม่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิขอสืบพยานเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มิใช่จำเลยตกเป็นคนยากจนลงภายหลังและจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามมาตรา 156 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มีความหมายว่า ผู้ยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก เมื่อคดีนี้ไม่มีการสืบพยานจำเลยเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 156 วรรคสี่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ของจำเลยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่า ตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่งหรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย ที่จำเลยเสียค่าคำร้องค่าคำขอ ค่าอ้างเอกสารในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถาโดยที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนให้แก่จำเลย รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยเสียมาให้เป็นพับแก่จำเลย จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้า: ไม่มีกำหนดระยะเวลา 90 วันในการฟ้อง
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน การใช้สิทธิทางศาล ในกรณี เช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใด บัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดี ภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาให้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องและการถอนฟ้อง: ศาลต้องพิจารณาเป็นรายกรณี และต้องให้จำเลยทราบก่อนอนุญาตถอนฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉย มิได้หมายความว่า จะเป็นกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) เสมอไป เช่น โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ตามมาตรา 175 วรรคสอง (1) ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้ ส่วนคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องพิจารณาเป็นรายกรณี และให้โอกาสจำเลยคัดค้านก่อน
เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉย มิได้หมายความว่า จะเป็นกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) เสมอไป เช่น โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ตามมาตรา 175 วรรคสอง (1) ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้ ส่วนคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ดังนั้นศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง
of 364