คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,432 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อสิทธิเรียกร้องค่าฤชาธรรมเนียม
แม้จำเลยจะแพ้คดีในศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามิได้สั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น ก็ต้องถือว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมย่อมถูกยกเลิกไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยนำมาวางต่อศาลพร้อมอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ถึงแม้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น ก็ต้องถือว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมย่อมถูกยกเลิกไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยไม่ถูกต้อง ส่งผลให้กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามด้วยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "ปิดหมายเฉพาะจำเลยที่ 1" แต่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีปิดหมายด้วย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 และหลังจากนั้นต่อมาย่อมไม่มีผลตามกฎหมาย ไม่มีผลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในเหตุที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ปัญหาเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ชอบนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกาในข้อนี้ แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247 กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายหรือไม่อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่รับเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง และการรวมโทษทางอาญา
จำเลยยื่นฎีกาส่งผ่านเรือนจำเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยอาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงความผิดไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับว่า พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยและไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: ศาลฎีกาตัดสินจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ไม่ใช่ฆ่าโดยเจตนา
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายเนื่องจากโกรธที่ผู้ตายปัสสาวะรดที่นอนจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายคงมีเจตนาทำร้ายเท่านั้นเมื่อการทำร้ายของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินรางวัลพิเศษและข้อจำกัดการแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน
ตามหนังสือแจ้งเงินเดือนและเงินรางวัลพิเศษระบุว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษโดยมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าผู้มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษต้องมีสภาพเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่จำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษ ดังนั้น แม้โจทก์จะลาออกไปในภายหลัง โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินรางวัลดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานเพื่อคิดค่าชดเชยเพิ่มขึ้นนั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมิใช่การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหลังสืบพยานแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดระหว่างพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 26 ยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 91 เดิม กรณีโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า ส่วนโทษปรับนั้น โทษปรับขั้นต่ำตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษสูงกว่าโทษปรับขั้นต่ำตามมาตรา 91 เดิม โทษปรับขั้นต่ำตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่า แต่โทษปรับขั้นสูงตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ต่ำกว่าโทษปรับขั้นสูงตามมาตรา 91 เดิม โทษปรับขั้นสูงตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า กรณีโทษปรับจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีโทษปรับที่จะลงแก่จำเลยอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดหรือใช้กฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดก็ได้ จึงให้ใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานผิดกฎหมายและการพิสูจน์ความเกี่ยวข้องของจำเลย ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากไม่มีหลักฐานการกระทำร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82,91 ตรี ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 ยกฟ้องข้อหาอื่น จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องทั้งหมด โดยโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและความผิดดังกล่าวมีองค์ประกอบแตกต่างกับความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 ไม่เกี่ยวข้องกัน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี มิได้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 อันจะทำให้ศาลลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหก ทั้งกรณีไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรีได้ เป็นการเกินคำขอไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ดังนั้น เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้เสียหายทั้งสองได้ขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ก็ไม่จำต้องสั่งอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดเล็กน้อย ศาลฎีกาชี้ ประเด็นสำคัญคือแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดเจน
การบรรยายฟ้องคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง มิได้บังคับโจทก์ต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้องโดยแจ้งชัดด้วยตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์มุ่งประสงค์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระหนี้ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับอันมีมูลฐานมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ทำละเมิดเป็นพนักงานและหรือตัวแทนและหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 แสดงตัวรับสภาพความรับผิดต่อพนักงานของโจทก์ การที่ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะชื่ออะไร รถยนต์คันเกิดเหตุจะหมายเลขทะเบียนอะไร ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญและเมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้คดีโดยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายข้ามเขตและการแจ้งผลการส่งให้จำเลยเพื่อดำเนินคดีต่อไป ศาลฎีกาตัดสินว่าการไม่แจ้งผลการส่งหมายทำให้จำเลยไม่ทราบ และไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
ศาลจังหวัดสมุทรปราการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้จำเลยเป็นผู้ส่งสำเนาอุทธรณ์ ปรากฏว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลจังหวัดสมุทรปราการจึงมีหนังสือแจ้งให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้สั่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ ต่อมาศาลแพ่งกรุงเทพใต้แจ้งผลการส่งหมายมาที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการว่าส่งให้ไม่ได้ ศาลจังหวัดสมุทรปราการสั่งว่ารอจำเลยแถลง ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยมิได้เป็นผู้นำส่งแต่เป็นการส่งหมายข้ามเขตที่ศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลจังหวัดสมุทรปราการมิได้แจ้งผลการส่งหมายให้จำเลยทราบจำเลยย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยมิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) อันจะถือเป็นการทิ้งฟ้องแต่อย่างใด
of 344