คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิชายคู่หมั้น สิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสได้ แม้ของหมั้นเป็นของผู้อื่น
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิแก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชาย เฉย ๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่ จ. ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืม โดย พ.ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฎว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ.กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ.หากเป็นความจริง ไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้.
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา 168 ป.ม.วิ.แพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วย โดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้น ป.ม.วิ.แพ่งแล้วจำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา 246,186 วรรค 2 ป.ม.วิ.แพ่ง หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ก็รับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นไว้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ชายคู่หมั้น การหมั้นสมบูรณ์เมื่อสมรสแล้ว
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชายเฉยๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่จ.ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืมโดย พ. ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฏว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ. กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ. หากเป็นความจริงไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา168 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยโดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา246,186 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็รับไว้หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นได้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นต้องมีการมอบเพื่อให้เกิดสัญญาหมั้น หากชายตายก่อนสมรส หญิงได้แต่เก็บของหมั้นที่มอบไว้แล้ว
การที่จะเกิดเป็นสัญญาหมั้นได้นั้น จำต้องมีของหมั้นเป็นหลักฐาน.
(อ้างฎีกา 676/2487)
ของหมั้นนั้น ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 วรรคแรก จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่า จะสมรสกับหญิงนั้น จึงจำต้องมีการมอบกัน.
ฝ่ายหญิงได้ตกลงเรียกทองหมั้นหนัก 12 บาท ฝ่ายชายได้มอบทองหนัก 6 บาทไว้ก่อน ส่วนอีก 6 บาทได้มอบโฉนดซึ่งมีเนื้อที่ 108 ไร่ ให้ยึดไว้แทน โดยตีราคาเนื้อที่นาในโฉนดนี้เพียง 50 ไร่ เท่ากับทอง 6 บาท เมื่อชายตายโดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงก็ได้แต่เก็บเอาทองหมั้น 6 บาทที่ได้มอบไว้แล้วนั้น (มาตรา 1440) ส่วนทองอีก 6 บาทที่ยังไม่ได้มอบหาใช่ของหมั้นไม่ หญิงจึงจะเก็บเอาไว้ก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ที่หญิง จะเรียกเอาก็ไม่ได้เพราะสัญญาหมั้นเลิกกันเพราะความตายของชายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใด ให้หญิงเรียกได้ เมื่อไม่มีมูลหนี้ที่หญิงจะเรียกร้องต่อไป โฉนดที่ฝ่ายชายวางไว้เป็นประกัน จึงไม่มีหนี้จะประกัน หญิงก็ยึดโฉนดไว้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอรับรองบุตรโดยมิได้จดทะเบียนสมรสและมีข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นบิดา
คดีร้องขอให้รับรองบุตรนั้นผู้ร้องย่อมขอแก้วันเกิดของเด็กได้ในเมื่อไม่ทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบในเชิงคดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1519 บัญญัติแต่เพียงว่าเด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภรรยาชาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี มิได้วางข้อบัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี จึงเป็นเรื่องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานได้ และบทบัญญัติในเรื่องฟ้องขอให้รับรอง ก็มิได้วางข้อบัญญัติกีดกั้นมิให้ฟ้องในกรณีเช่นนี้ ฉะนั้นเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีอำนาจฟ้องได้
เด็กซึ่งเกิดกับชายชู้นั้น มารดาของเด็กย่อมร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายชู้ได้ มาตรา1529(4)ไม่ได้กีดกันถึงกรณีที่เป็นชู้กันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่วมแรงร่วมทุน: สามีที่ไม่จดทะเบียนสมรสไม่มีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ของมารดาโจทก์จากจำเลย ซึ่งเป็นสามีของมารดาโจทก์ โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อปรากฎว่าทรัพย์เหล่านั้นไม่ใช่เป็นทรัพย์ที่จำเลยร่วมแรงร่วมทุนกับมารดาโจทก์หาได้มาจำเลยก็ไม่มีสิทธิจะเรียกให้แบ่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนที่ดินเพื่อการสมรส: พิจารณาจากสิ่งตอบแทนและประเภทสัญญา
สัญญาให้ตามมาตรา 521 นั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีสิ่งตอบแทน.
สัญญาที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงทำไว้กับผู้ใหญ่ฝ่ายชายว่า จะยกที่ดินให้แก่คู่สมรสภายใน 5 ปี นับแต่วันสมรส แต่ถ้าคู่สมรสทอดทิ้งไม่อุปการะผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงซึ่งเป็นผู้ให้แล้ว ผู้ให้จะยังไม่โอนที่ดินให้ดั่งนี้ เป็นสัญญาที่มีการตอบแทน จึงไม่เป็นสัญญาให้ตาม ม.521 แต่เป็นสัญญาซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าสัญญากองทุนในการสมรส คู่สมรสฟ้องให้บังคับตามสัญญาได้
ในกรณีที่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น ศาลสูงสั่งให้รวมสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ตอนพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สามีไม่มีอำนาจฟ้องอาญาแทนภรรยา หากความเสียหายเกิดขึ้นก่อนสมรส และไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
สามีไม่มีอำนาจฟ้องความผิดทางอาญา ที่ภรรยาของตนเป็นผู้เสียหาย ในเมื่อมูลความผิดนั้นมีมาก่อนที่ตนได้เป็นสามีภริยากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสก่อนใช้ พ.ร.บ. บรรพ 5 ต้องใช้กฎหมายเดิม
สมรสกันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
การแบ่งสินสมรสต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสของพี่น้องร่วมบิดา: ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ขัดกฎหมายลักษณะผัวเมีย หากไม่ได้ร่วมบิดามารดา
ชายหญิงที่เป็นพี่น้องร่วมแต่+หรือร่วมแต่มารดาเดียวกัน+สกันก่อนใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 ย่อมเป็นสามีภรรยา+ได้ ปัญหาที่หญิงชายจะเป็นสามีภรรยากันได้ตามกฎหมายหรือไม่นั้น+ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความ+อ้างเมื่อสืบพะยานเสร็จก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมรสพี่น้องร่วมบิดา/มารดา ก่อนประมวลกฎหมายแพ่ง
ชายหญิงที่เป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมแต่มารดาเดียวกันสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ย่อมเป็นสามีภรรยากันได้
ปัญหาที่หญิงชายจะเป็นสามีภรรยากันได้ตามกฎหมายหรือไม่นั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนคู่ความยกขึ้นอ้างเมื่อสืบพยานเสร็จแล้วก็ได้
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2488
of 25