พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ผิดนัดชำระ ก็เป็นดอกผลนิตินัย โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามสัญญา
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีและในกรณีมีเหตุจำเป็นยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ แสดงว่าตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในช่วงแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ หาใช่เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้อง อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ไม่ โจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญากู้เงินได้
ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองตามหนังสือสัญญากู้เงินไม่ใช่การแสดงเจตนาเพื่อลวงบุคคลอื่น และไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีเจตนาทำสัญญาฉบับนี้อำพรางสัญญาฉบับอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าลักษณะนิติกรรมอำพรางที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองลดลงเหลืออัตราร้อยละ 16 ต่อปีได้
ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองตามหนังสือสัญญากู้เงินไม่ใช่การแสดงเจตนาเพื่อลวงบุคคลอื่น และไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีเจตนาทำสัญญาฉบับนี้อำพรางสัญญาฉบับอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าลักษณะนิติกรรมอำพรางที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองลดลงเหลืออัตราร้อยละ 16 ต่อปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่เป็นหนังสือ & การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำตามแบบอย่างใดบ้าง ผู้รับจำนองเพียงแต่มีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันควร ก็ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยบทมาตราดังกล่าวแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะมอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจก็ไม่เป็นโมฆะ นอกจากนี้เมื่อโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ส. ได้กระทำการไปในนามของโจทก์โดยการฟ้องคดีนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่ลูกหนี้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
สัญญาค้ำประกันมีข้อความให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ก็มีความหมายว่าจำเลยที่ 3 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เมื่อหนี้รายนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการนำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ภายในกำหนดอายุความ
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเกินได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งตามประกาศธนาคารโจทก์ก็คืออัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีมีกำหนดเวลา (MLR) บวกส่วนต่าง (Margin) แต่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดนัดชำระหนี้ซึ่งสูงกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
สัญญาค้ำประกันมีข้อความให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ก็มีความหมายว่าจำเลยที่ 3 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เมื่อหนี้รายนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการนำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ภายในกำหนดอายุความ
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเกินได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งตามประกาศธนาคารโจทก์ก็คืออัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีมีกำหนดเวลา (MLR) บวกส่วนต่าง (Margin) แต่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดนัดชำระหนี้ซึ่งสูงกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไป บวก 0.25%
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่กำหนดโดยธนาคารโจทก์ไม่ได้ระบุจำกัดว่าให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น จึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ และเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม มาตรา 383 และมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน โดยย่อมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, วงเงินค้ำประกัน, การลดเบี้ยปรับ, และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามสัญญา
สัญญาค้ำประกันซึ่งระบุว่า เป็นการค้ำประกันหนี้สินในวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันและอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้แม้สัญญาค้ำประกันอันเป็นสัญญาหรือหนี้อุปกรณ์จะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือหนี้ประธาน
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เริ่มจากวันทำสัญญานี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศ หากครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยังไม่สามารถชำระหนี้ให้ได้ก็ยินยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยินยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ ข้อความที่ระบุไว้แสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงขึ้นได้ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร จึงมีผลเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้เดิม จึงถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
การคิดคำนวณความรับผิดตามวงเงินค้ำประกันจะต้องถือตามหนี้ต้นเงินในสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น โดยไม่รวมดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องรับผิดต่างหากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทมีจำนวนต่ำกว่าจำนวนเงินค้ำประกัน การคิดคำนวณดอกเบี้ยจากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยผิดนัดจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ดังนั้น จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเมื่อนำดอกเบี้ยมารวมกับหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วจะเกินจำนวนวงเงินค้ำประกันหรือไม่อีก
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับหนี้จำนองนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างคำขอท้ายอุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เริ่มจากวันทำสัญญานี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศ หากครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยังไม่สามารถชำระหนี้ให้ได้ก็ยินยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยินยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ ข้อความที่ระบุไว้แสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงขึ้นได้ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร จึงมีผลเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้เดิม จึงถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
การคิดคำนวณความรับผิดตามวงเงินค้ำประกันจะต้องถือตามหนี้ต้นเงินในสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น โดยไม่รวมดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องรับผิดต่างหากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทมีจำนวนต่ำกว่าจำนวนเงินค้ำประกัน การคิดคำนวณดอกเบี้ยจากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยผิดนัดจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ดังนั้น จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเมื่อนำดอกเบี้ยมารวมกับหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วจะเกินจำนวนวงเงินค้ำประกันหรือไม่อีก
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับหนี้จำนองนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างคำขอท้ายอุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การใช้สิทธิอุทธรณ์ vs. การขอแก้ไขข้อผิดพลาด
โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือมิได้เป็นไปตามข้อตกลง โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขให้เป็นไปตามข้อตกลงหรือเจตนารมณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่โจทก์หาได้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่ กลับใช้สิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา ซึ่งการจะขอแก้ไขข้อผิดพลาดได้จะต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก เมื่อส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขและศาลชั้นต้นไม่อนุญาตนั้นเป็นการเพิ่มความรับผิดให้จำเลยทั้งสามต้องรับผิดมากขึ้นกว่าเดิม จึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ แม้จำเลยทั้งสามจะไม่คัดค้านโจทก์ก็ไม่อาจขอแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2630/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ การยึดทรัพย์ถือเป็นการบอกเลิกโดยชอบ
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องบอกเลิกเป็นหนังสือ หากผู้ให้เช่าซื้อกระทำการใดที่แสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้ผู้เช่าซื้อได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่ออกให้เช่าซื้ออีกต่อไป ก็ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนไปจึงเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว
ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า ขอถือเอาคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาจำเลยทั้งสองนั้น เป็นข้อฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกควรจะเป็นอย่างไร พร้อมด้วยเหตุผลที่คัดค้าน เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า ขอถือเอาคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาจำเลยทั้งสองนั้น เป็นข้อฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกควรจะเป็นอย่างไร พร้อมด้วยเหตุผลที่คัดค้าน เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบกพร่องของห้องชุดเกินร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่สัญญา เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาได้
ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่า การที่จำเลยเปลี่ยนแปลงผนังห้องชุดจากอิฐฉาบปูนไปเป็นผนังยิปซัม ก่อสร้างห้องน้ำสำหรับห้องนอนใหญ่เปลี่ยนไปจนล้ำเข้าไปในเนื้อที่ของห้องนอนใหญ่ถึงประมาณครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ห้องน้ำรวมทั้งเนื้อที่ของห้องชุดจากทั้งหมด 117 ตารางเมตรเหลือเพียง 96 ตารางเมตรขาดหายไป 21 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 17.95 ของเนื้อที่ตามสัญญาที่ทำกับโจทก์นั้น ล้วนแต่เป็นข้อสำคัญ โดยเฉพาะเนื้อที่ที่ขาดตกบกพร่องเกินกว่าร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่ทั้งหมด อันเป็นการขาดตกบกพร่องถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญากับจำเลยอย่างแน่นอนโจทก์จึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466ฎีกาจำเลยที่โต้เถียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของรองประธานศาลฎีกา ซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมายเห็นว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นปัญหาที่ไม่ควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยล้วนมีสาเหตุหลายประการมิใช่เพียงสาเหตุที่จำเลยได้ใช้แผ่นยิปซัมเป็นฉากแต่ประการเดียวตามที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ ดังนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้อนี้ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190-2193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างงานตามสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา และเหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่เข้าหลักเกณฑ์
การจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน อันเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง นอกจากเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วยังต้องเป็นงานโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างและนายจ้างต้องเลิกจ้างลูกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย จำเลยประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติ จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานก่อสร้างอันเป็นธุรกิจปกติของจำเลยและจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ตามระยะเวลาการจ้างที่กำหนด กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสุดท้าย ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118และมาตรา 119 ไม่มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ก็มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเรื่องการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118และมาตรา 119 ไม่มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ก็มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเรื่องการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะเนื่องจากผู้เอาประกันปกปิดอาการป่วยจริง
ผู้เอาประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย โดยทราบอยู่แล้วว่าตนเป็นโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง แต่ละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงดังกล่าว เพราะอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่รับทำสัญญาประกันชีวิตให้แก่ตน สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่งและเมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังโจทก์ในฐานะผู้รับผลประโยชน์แล้ว สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะเนื่องจากผู้เอาประกันปกปิดอาการป่วยจริง
ผู้เอาประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย โดยทราบอยู่แล้วว่าตนเป็นโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง แต่ละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงดังกล่าวเพราะอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่รับทำสัญญาประกันชีวิตให้แก่ตน สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่งและเมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังโจทก์ในฐานะผู้รับผลประโยชน์แล้ว สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176