คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอมยอมความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 674 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย (เบี้ยปรับ) นอกเหนือจากการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับสามีฝ่ายหนึ่งและโจทก์กับภริยาอีกฝ่ายหนึ่งได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและได้บรรยายถึงรายละเอียดของที่ดินแปลงที่จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ไว้ด้วย แล้วบรรยายต่อไปว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์และได้บรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเมื่อจำเลยผิดสัญญาไว้ด้วย และตอนท้ายก็มีคำขอบังคับ คำฟ้องที่โจทก์บรรยายมาจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดว่าคู่สัญญาจะไปจดทะเบียนโอนกันภายในกี่วันและไม่ได้บรรยายถึงสาระสำคัญของสัญญาให้ครบถ้วนนั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะมิได้สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
สัญญาประนีประนอมยอมความให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเบี้ยปรับด้วย อันเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งนอกจากจะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากลูกหนี้ได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา 380 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิเรียกร้องหนี้และเบี้ยปรับควบคู่กันได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับสามีฝ่ายหนึ่งและโจทก์กับภริยาอีกฝ่ายหนึ่งได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและได้บรรยายถึงรายละเอียดของที่ดินแปลงที่จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอน ให้แก่โจทก์ไว้ด้วย แล้วบรรยายต่อไปว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์และได้บรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเมื่อจำเลยผิดสัญญาไว้ด้วยและตอนท้ายก็มีคำขอบังคับ คำฟ้องที่โจทก์บรรยายมาจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดว่าคู่สัญญาจะไปจดทะเบียนโอนกันภายในกี่วันและไม่ได้บรรยายถึงสาระสำคัญของสัญญาให้ครบถ้วนนั้นข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะมิได้สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม สัญญาประนีประนอมยอมความให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเบี้ยปรับด้วย อันเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381ซึ่งนอกจากจะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากลูกหนี้ได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา 380 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนการบังคับคดีได้หากศาลชั้นต้นผิดพลาด
สิทธิในการบังคับคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการบังคับคดีของศาลชั้นต้นเสียได้ สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมระบุว่า หากจำเลยไม่ยอมรื้อถอนเสาคอนกรีตและรั้วกำแพงเหล็กทึบที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ ทั้งไม่ยอมรื้อถอนสายไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งอยู่บนรั้วดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์หรือบุคคลที่โจทก์จ้างมีสิทธิเข้าไปรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นได้โดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และจำเลยยินยอมให้โจทก์บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องได้ดังนั้น ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ยอมรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่จะต้องรื้อถอนให้เสร็จภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกจากโจทก์จะมีสิทธิรื้อถอนสิ่งก่อสร้างนั้นเองหรือจ้างให้บุคคลอื่นเข้าไปรื้อถอนโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิบังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องโดยโจทก์ไม่จำต้องเข้าไปรื้อถอนหรือจ้างให้บุคคลอื่นเข้าไปรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นก่อนจึงจะขอบังคับคดีได้ เพราะข้อความเกี่ยวกับเรื่องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างกับข้อความเกี่ยวกับการที่โจทก์จะขอบังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องเป็นข้อความคนละตอน สามารถแยกใจความคนละส่วนต่างหากจากกันได้ โจทก์ร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอ้างว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมซึ่งหมายถึงว่า จำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนเสาคอนกรีต รั้วกำแพงทึบที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่ได้รื้อถอนสายไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งอยู่บนรั้วดังกล่าวด้วย ศาลอุทธรณ์ย่อมชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า สิ่งก่อสร้างทั้งหมดจำเลยยังไม่ได้รื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและชอบที่จะยกเอาเหตุผลดังกล่าวประกอบการวินิจฉัยการวินิจฉัยได้ว่าใครเป็นฝ่ายผิดสัญญาอันเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หาเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์: ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม และข้อยกเว้นการขออนุญาตศาล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ได้บัญญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสองเองบิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเท่านั้น จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลและถือได้ว่าบิดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ & การจดทะเบียนสมรสโดยสมัครใจ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ได้บัญญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเอง บิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเท่านั้นดังนี้ จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ผู้เยาว์ทำขึ้น มี บ.ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในเอกสารนั้น ย่อมถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ทั้งได้แสดงความยินยอมเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและพยานซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองอีกด้วยเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจดทะเบียนสมรสได้กระทำไปโดยเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประการใดแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิเดินผ่านที่ดิน ไม่รวมถึงสิทธิปักเสาไฟฟ้า
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนระบุว่า จำเลยยอมให้โจทก์เดินผ่านที่ดินของจำเลยริบเขตแดนด้านทิศใต้ตามแผนที่พิพาทได้กว้าง 3 เมตร ยาวตลอดแนว มีความหมายเฉพาะว่าให้จำเลยเดินผ่านเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงการปักเสาไฟฟ้าด้วยการปักเสาไฟฟ้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณี ผู้บริวารของจำเลยไม่อาจอ้างเป็นเหตุเพิกถอนได้
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ บ้านพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยเช่า ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไป แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าจำเลยยอมรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด แต่จำเลยมิได้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปตามสัญญาโจทก์จึงขอออกหมายบังคับคดี และปรากฏว่าบ้านพิพาทในคดีนี้เป็นบ้านหลังเดียว กันกับบ้านพิพาทในอีกคดีหนึ่งซึ่ง ส.เป็นโจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยในคดีนี้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องในคดีนี้เป็นจำเลยให้ออกจากบ้านพิพาทและคดีดังกล่าวได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ผู้ร้องยอมอาศัยห้องหนึ่งของบ้านพิพาทอย่างผู้อาศัย ดังนั้น เมื่อ ส. แถลงรับในคดีนี้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า เป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวและมอบอำนาจให้จำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นบิดาเป็นผู้ดูแลบ้านพิพาทและฟ้องคดีแทน ทั้งยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้กับโจทก์คดีนี้ ส. จึงอยู่ในฐานะวงศ์ญาติและบริวารของจำเลย ผู้ร้องในฐานะผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งทำไว้กับ ส. ก็อยู่ในฐานะบริวารของจำเลยเช่นเดียวกัน หาได้มีอำนาจพิเศษอันจะเป็นข้ออ้างต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) แต่อย่างใดไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิจะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและหมายบังคับคดีในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณี ผู้มีฐานะบริวารย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์ แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมและ ส. บุตรของจำเลยยอมรับว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาท จำเลยเป็นผู้ดูแลบ้านพิพาทแทน ส. และยอมปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังนี้ ส. อยู่ในฐานะวงศ์ญาติและบริวารของจำเลย ผู้ร้องอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทในฐานะผู้อาศัยสิทธิของ ส. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องย่อมอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยเช่นเดียวกัน จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและหมายบังคับคดีในคดีนี้ ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาถึงเหตุที่เพิ่งยกประเด็นเรื่องโจทก์ให้ผู้ร้องเช่าที่ดินต่อจากจำเลย และ ส.ไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยดูแลบ้านพิพาทและฟ้องคดีแทนขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนที่ดิน และเงื่อนไขการบังคับคดี: การวางเงินก่อนโอนที่ดิน
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมว่า จำเลยที่ 3 ตกลงจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องให้โจทก์ โดยโจทก์ยอมชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ภายใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญาโดยจะชำระในวันจดทะเบียนโอน โจทก์จะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ทราบล่วงหน้า 7 วัน หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบแล้วไม่ไปตามนัดให้โจทก์นำเงินมาวางศาลแล้วนำหลักฐานการรับเงินของศาลไปดำเนินการจดทะเบียนได้ หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ดำเนินการบังคับคดีให้โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและชำระเงิน2,300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย เมื่อปรากฏว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมีข้อขัดข้องเพราะจำเลยที่ 3 ซึ่งไปอยู่ต่างประเทศได้นำโฉนดที่ดินตามฟ้องไปด้วย เจ้าพนักงานที่ดินต้องดำเนินการออกใบแทนโฉนดตามระเบียบและวิธีปฏิบัติของกรมที่ดิน การที่โจทก์มิได้วางเงินกับศาลจึงไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงยังไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมทำให้สิทธิในการเพิกถอนสัญญาหมดไป
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ถ้าโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์จนคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้
of 68