คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สาระสำคัญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุเวลาผิดในฟ้องอาญาเป็นสาระสำคัญ หากไม่ระบุ ศาลต้องยกฟ้องและห้ามฟ้องใหม่
ศาลพิพากษายกฟ้องคดีก่อนโดยวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ระบุเวลากระทำผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เป็นฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ยกเสียตามมาตรา 161 ดังนี้พึงเห็นได้ว่าเวลากระทำผิดเป็นข้อสำคัญที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้อง และเวลากระทำผิดเช่นว่านี้ก็เป็นข้อเท็จจริงในเรื่องความผิดที่จำเลยกระทำนั่นเอง จึงได้ชื่อว่าศาลได้ยกฟ้องในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) จะฟ้องจำเลยใหม่ ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม: ผลกระทบต่อโมฆะของสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าแม้จำเลยจะทำสัญญาลงไปโดยความสำคัญผิด แต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะ แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญโดยเข้าใจผิดในตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ตกเป็นโมฆะ ดังนี้เมื่อโจทก์ฎีกาต่อสู้ในทางข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้มีความสำคัญผิด แต่หาได้ยกข้อ ก.ม.ที่ว่า แม้จะสำคัญผิด ก็หาใช่เป็นข้อสำคัญอันจะทำให้เป็นโมฆะไม่ แล้วเมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสำคัญผิดแล้ว ฎีกาโจทก์ก็ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม: การวินิจฉัยความผิดพลาดเกี่ยวกับวัตถุแห่งสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าแม้จำเลยจะทำสัญญาลงไปโดยความสำคัญผิด แต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะ แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญโดยเข้าใจผิดในตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ตกเป็นโมฆะ ดังนี้เมื่อโจทก์ฎีกาต่อสู้ในทางข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้มีความสำคัญผิด แต่หาได้ยกข้อกฎหมายที่ว่าแม้จะสำคัญผิด ก็หาใช่เป็นข้อสำคัญอันจะทำให้เป็นโมฆะไม่แล้ว เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสำคัญผิดแล้ว ฎีกาโจทก์ก็ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมออกจากที่เช่าเป็นสาระสำคัญของสัญญายอมความ หากไม่ยินยอม สัญญาเป็นโมฆะ
การที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าเคหะทำยอมกันว่า ผู้เช่ายอมออกไปภายในกำหนดวันแน่นอน ฝ่ายผู้ให้เช่ายอมจะชำระเงินให้หนึ่งหมื่นบาท และยอมให้ผู้เช่ารื้อสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าทำไว้ไป แต่แล้วผู้เช่ากลับไม่ยอมออกไป จนศาลต้องมีหมายจับมาขัง จึงยอมออกไปและเป็นเวลาล่วงเลยมาถึง 1 ปี 4 เดือน นับจากวันยอม ดังนี้ ถือว่าผู้เช่าและบริวารมิได้ออกจากที่เช่าไปโดยความยินยอม หรือสมัครใจ ผู้เช่าจะมาขอให้ศาลบังคับผู้ให้เช่าให้ปฏิบัติตามยอมมิได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากหนี้ซื้อเชื่อเป็นหนี้กู้ การมีดอกเบี้ยเป็นสาระสำคัญ
ซื้อเชื่อครั่งของเขาไป ภายหลังตกลงทำเป็นสัญญาว่ากู้เงินของเขาไปเป็นจำนวนเงินเท่าราคาครั่งที่ซื้อเชื่อไป และมีกำหนดต้องเสียดอกเบี้ยด้วย ดังนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะคู่กรณีได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ต่อกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่มีผลต่อสาระสำคัญของคดี
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมฤดกที่ดิน 11 โฉนด ครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์แก้ว่าให้ยกฟ้องฉะเพาะที่ดิน 4 โฉนด ซึ่งมีราคามากและเป็นสาระสำคัญของคดี นอกนั้นยืนตาม ดังนี้เป็นการแก้มาก โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างเล็กน้อยในคำฟ้องไม่ถึงขั้นทำให้ศาลต้องยกฟ้อง หากไม่เป็นสาระสำคัญ
การต่างกันในข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณากับที่ปรากฏในฟ้อง ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.ม.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรค 2 นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญในคำฟ้อง
ในคดีลักทรัพย์ การแตกต่างเพียงคำนำหน้าชื่อเจ้าทรัพย์ว่า "นาย" หรือ "นาง" นั้น เป็นข้อปลีกย่อย หาทำให้จำเลยหลงผิดในการต่อสู้คดีอย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างข้อเท็จจริงในคำฟ้องกับทางพิจารณาต้องเป็นสาระสำคัญจึงจะยกฟ้องได้
การต่างกันในข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณากับที่ปรากฏในฟ้อง ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญในคำฟ้อง
ในคดีลักทรัพย์ การแตกต่างเพียงคำนำหน้าชื่อเจ้าทรัพย์ว่า"นาย" หรือ "นาง" นั้นเป็นข้อปลีกย่อย หาทำให้จำเลยหลงผิดในการต่อสู้คดีอย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญและความเป็นกฎหมายของประกาศคณะกรรมการ: ศาลยกฟ้อง
ประกาศคณะกรรมการฉะบับหลังที่ยกเลิกการควบคุม ไม่เป็นกฎหมายยกเลิกความผิดตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 39(5)
ฟ้องว่าจำเลยมีผ้าแล้วไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บ แต่มิได้ระบุว่าจำเลยมีผ้าเท่าไร ดังนี้เป็นคำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งความผิด ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งความผิด และประกาศคณะกรรมการไม่ใช่กฎหมายยกเลิกความผิด
ประกาศคณะกรรมการฉบับหลังที่ยกเลิกการควบคุม ไม่เป็นกฎหมายยกเลิกความผิดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5)
ฟ้องว่าจำเลยมีผ้าแล้วไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บ แต่มิได้ระบุว่าจำเลยมีผ้าเท่าไรดังนี้เป็นคำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งความผิดต้องยกฟ้อง
of 25