คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้อภัยแบบมีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นการยอมความที่ทำให้สิทธิฟ้องอาญาขาดอายุ
จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายแล้วพูดขอโทษอย่าให้ผู้เสียหายเอาเรื่อง ผู้เสียหายว่าแล้วกันไปแต่อย่าพูดให้เสียหาย การที่ผู้เสียหายพูดกับจำเลยดังกล่าวเป็นการให้อภัยแก่จำเลยเมื่อจำเลยได้ขอโทษผู้เสียหายแล้ว โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะไม่ไปพูดให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ยังไม่ถือว่าเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะผู้เสียหายมิได้พูดว่าจะไม่ดำเนินคดีกับจำเลยตลอดไป แต่ผู้เสียหายจะไม่ดำเนินคดีกับจำเลยต่อเมื่อจำเลยไม่พูดให้เสียหาย ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้ถือ: ผู้ถือเช็คมีสิทธิฟ้องได้หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้เช็คจะถูกนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
โจทก์ออกเช็คผู้ถือ จำเลยเป็นผู้ถือย่อมเป็นผู้ทรงเช็คนั้นเมื่อเช็คถึงกำหนด จำเลยนำไปขึ้นเงินจากธนาคาร ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องโจทก์ว่ากระทำผิดอาญาฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คได้ ไม่เป็นฟ้องเท็จ และการที่จำเลยเบิกความไปตามคำฟ้องก็ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็ค: แม้ผู้สลักหลังชำระหนี้แล้ว สิทธิฟ้องไม่ระงับ
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจาก ป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็คพิพาท แม้ผู้สลักหลังจะชำระหนี้แล้ว
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจากป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28 การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้นเป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็ค: แม้ผู้สลักหลังชำระหนี้แล้ว ก็ไม่กระทบสิทธิของผู้รับโอนในการฟ้องผู้สั่งจ่าย
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจาก ป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีซ้ำซ้อนและสิทธิในการฟ้องคดีของผู้นำเสียภาษี โดยไม่ต้องรอการอุทธรณ์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2524 และชำระภาษีเงินได้บางส่วนแล้วก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโจทก์ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีก 2 เท่าตามมาตรา 26 จึงเป็นการไม่ชอบ และการที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เต็มจำนวนโดยมิได้หักภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระไว้แล้วออกเสียก่อน ทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ซ้ำซ้อน โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน
โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2523 คงยื่นแต่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2524 แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ไปแล้วก็ตามภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม หรือทำการประเมินใหม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20และ 21 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีและอื่น ๆ สำหรับปี 2523, 2524 ไปส่งให้เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ประจำปี 2523 และ 2524 ของโจทก์ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ตามมาตรา 25 และมาตรา 21 ตามลำดับซึ่งทั้งสองกรณีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ชอบ ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับฝ่ายโจทก์ว่าจะจ่ายค่าทำขวัญให้ในกรณีเรือยนต์หางยาวรับจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 จมลงทำให้มารดา พี่สาว และบุตรโจทก์ซึ่งโดยสารเรือมาด้วยจมน้ำตาย แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดไม่ได้ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว ดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยจะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับเรือยนต์หางยาวไปในทางการที่จ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายจึงเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ และไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ได้ ก็น่าจะหมายถึงอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289, 80 ศาลฎีการับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ข้อจำกัดเฉพาะผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายจึงเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ และไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ได้ ก็น่าจะหมายถึงอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,289,80 ศาลฎีการับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นยอมความในคดีอาญา สิทธิฟ้องย่อมระงับเมื่อเงื่อนไขครบถ้วน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลว่า จำเลยยินยอมชำระเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งภายใน 6 เดือน โดยจำเลยจะผ่อนชำระเป็นรายเดือน หากจำเลยผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้และให้คิดดอกเบี้ยในเงินที่ค้างชำระนับแต่วันผิดนัด เมื่อจำเลยชำระเงินครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยในคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ดังนี้ แม้จำเลยจะผิดนัดชำระเงิน 2 งวดไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้บังคับคดีหรือคิดดอกเบี้ยจากจำเลยถือได้ว่าโจทก์จำเลยต่างมีเจตนาระงับข้อผูกพันเดิมโดยไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเป็นการผิดสัญญา และไม่ติดใจเรื่องดอกเบี้ยกันแล้ว เมื่อจำเลยชำระหนี้งวดสุดท้ายให้โจทก์โจทก์จะไม่รับโดยเกี่ยงจะคิดดอกเบี้ยด้วยหาได้ไม่ การที่จำเลยนำเงินนั้นไปวางที่กรมบังคับคดีภายในกำหนดตามสัญญาจึงเป็นการชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์ต้องถอนฟ้องคดีอาญาให้จำเลย และมีผลเป็นการยอมความในคดีอาญาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไป.
of 57