พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เพื่อหลักประกันการส่งไปทำงานต่างประเทศ ไม่ใช่การจัดการสินสมรส โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์โดยไม่มีการมอบเงินตามสัญญากู้การทำสัญญากู้ดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมเพื่อเป็นหลักประกันการที่จำเลยจะส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสของโจทก์โดยเฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสการที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินส่วนตัวและสินสมรสของลูกหนี้: กรณีจำเลยที่ 2 ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ได้สมยอมแกล้งเป็นหนี้จำเลยที่ 2 พี่สาว และสมยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมยึดทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ หรือให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และให้ถอนการยึดทรัพย์ทั้งหมดที่จำเลยที่ 2 ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้แล้ว ตามคำฟ้องดังกล่าว การยอมความของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องของบุคคลทั้งสองไม่มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 เลยเพราะการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ต่อจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 คงยึดได้เฉพาะสินส่วนตัวและสินสมรสที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา1488 จะยึดสินสมรสส่วนของโจทก์ไม่ได้ ถ้านำยึดโจทก์ก็ขอกันสินสมรสส่วนของตนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดสินสมรสส่วนของจำเลยที่ 1ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1488 ดังกล่าวเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอห้ามมิให้จำเลยที่ 2ยึดสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ เพราะจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินส่วนของจำเลยที่ 1 ได้ และที่โจทก์ขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 นำยึดไว้นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามคำ-พิพากษา จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์ไม่มีอำนาจใดที่จะขอให้จำเลยที่ 2 ถอนการยึดทรัพย์ได้ การที่จำเลยที่ 2 นำยึดทรัพย์อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีกับสินสมรส: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ของลูกหนี้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีโจทก์ได้สมยอมแกล้งเป็นหนี้จำเลยที่ 2 และสมยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ศาลพิพากษาตามยอม โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2จะอ้างสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมยึดทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ หรือให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และให้ถอนการยึดทรัพย์ทั้งหมดที่จำเลยที่ 2 ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้แล้วแต่การยอมความเป็นเรื่องของจำเลยทั้งสอง ไม่มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1เพราะในการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ต่อจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2คงยึดทรัพย์ได้เฉพาะสินส่วนตัวและสินสมรสที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1488จะยึดสินสมรสส่วนของโจทก์มิได้ ถ้าจำเลยที่ 2 นำยึดโจทก์ก็ขอกันสินสมรสส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 เมื่อจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดสินสมรสส่วนของจำเลยที่ 1ได้ตามมาตรา 1488 โจทก์จะฟ้องขอห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ยึดสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และขอให้จำเลยที่ 2 ถอนการยึดทรัพย์มิได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 นำยึดทรัพย์อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับสินสมรส: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากสิทธิไม่ถูกโต้แย้งโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ได้สมยอมแกล้งเป็นหนี้จำเลยที่ 2 พี่สาว และสมยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2จะอ้างสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมยึดทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ หรือให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และให้ถอนการยึดทรัพย์ทั้งหมดที่จำเลยที่ 2 ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้แล้ว ตามคำฟ้องดังกล่าว การยอมความของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องของบุคคลทั้งสองไม่มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 เลยเพราะการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ต่อจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 คงยึดได้เฉพาะสินส่วนตัวและสินสมรสที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1488 จะยึดสินสมรสส่วนของโจทก์ไม่ได้ ถ้านำยึดโจทก์ก็ขอกันสินสมรสส่วนของตนได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287เมื่อจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดสินสมรสส่วนของจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1488 ดังกล่าวเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ยึดสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้เพราะจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินส่วนของจำเลยที่ 1ได้ และที่โจทก์ขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 นำยึดไว้นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1ได้โจทก์ไม่มีอำนาจใดที่จะขอให้จำเลยที่ 2 ถอนการยึดทรัพย์ได้การที่จำเลยที่ 2 นำยึดทรัพย์อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าตามหลักกฎหมายอิสลาม: ข้อตกลงการแบ่งและสถานะสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นหย่าและสินสมรสบางรายการยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คงมีประเด็นชั้นฎีกาเพียงว่ามีข้อตกลงแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยอย่างไร บ้านและรถยนต์กระบะเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคดีที่พิพาทกันเรื่องสิทธิในครอบครัว แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,500 บาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินสมรสต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สมรส หากไม่มีหลักฐานแสดงความยินยอม ศาลไม่อาจรับฟังพยานบุคคลแทนได้
โจทก์มิได้นำสืบหนังสือยินยอมของสามีจำเลยที่ให้จำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่กลับสืบพยานบุคคลแทนหนังสือให้ความยินยอม และการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสามีจำเลยได้ให้ความยินยอมนั่นเอง จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความยินยอมจากสามีให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินยกให้ก่อนสมรส ไม่ใช่สินสมรส จำเลยสำคัญผิดในนิติกรรม
เมื่อจำเลยและนาง ต.มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินพิพาทที่นาง ต.ได้รับการยกให้จากพี่ชายในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันกับจำเลย จึงบังคับตามบทบัญญัติเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ และที่ดินพิพาทดังกล่าวนาง ต.ได้รับการยกให้ฝ่ายเดียว จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันกับจำเลย อันจะแบ่งในฐานะหุ้นส่วนครึ่งหนึ่งดังที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเลยการที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่ และการแบ่งสินสมรสหลังการขาย
ที่พิพาทเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ของโจทก์ และจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 อำนาจจัดการนั้นตามมาตรา 1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้รวมถึงกรณีจำหน่ายด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่พิพาทในวันที่ 24 เมษายน 2533 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ไม่อาจเพิกถอน การโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้เท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งของโจทก์ในสินสมรส ซึ่งการแบ่งสินสมรสจะมีได้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่พิพาทแก่โจทก์ กฎหมายก็ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากัน และศาลมิได้มีคำสั่งให้แยกสินสมรส จึงยังไม่มีการแบ่งสินสมรสกัน โจทก์จึงยังไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3061/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากมรดกและทรัพย์สินที่ได้จากการขายมรดก แม้มีการหย่าขาด กรรมสิทธิ์ในสินสมรสยังคงอยู่
ผู้ร้องได้รับมรดกจากบิดาระหว่างสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มรดกที่ได้จึงเป็นสินสมรส การที่ผู้ร้องนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์มรดกดังกล่าวไปซื้อที่ดินพิพาทภายหลังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 แม้ต่อมาจะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาก็หากระทบกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ในที่ดินพิพาทใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากเงินบำนาญ การซื้อที่ดินและปลูกสร้างบ้านโดยเงินบำนาญถือเป็นสินสมรส การโอนโดยไม่สุจริตและไม่ได้รับความยินยอม
เงินบำนาญเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้ที่พ้นจากราชการแล้วตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายยังมีชีวิตอยู่จึงเป็นการได้เงินมาในระหว่างสมรส ย่อมถือว่าเงินบำนาญนั้นเป็นสินสมรส เมื่อนำเงินนั้นมาซื้อที่ดินและต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินในระหว่างสมรส ที่ดินและบ้านจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมบ้านสินสมรสให้จำเลยที่ 2โดยโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสไม่ได้ให้ความยินยอม ราคาที่ขายเป็นราคาถูกมาก และตามพฤติการณ์จำเลยที่ 2 ต้องทราบว่าจำเลยที่ 1กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินพร้อมบ้านโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง