พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7954/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากโดยตัวแทนที่ซ่อนเร้นและความสุจริตของผู้ซื้อ ผู้รับซื้อฝากย่อมมีสิทธิแม้ตัวแทนมีเจตนาทุจริต
โจทก์และภรรยาโจทก์ได้จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปจำนองธนาคาร และในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินกู้แก่ธนาคาร ก.ต่อมาจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จากจำเลยที่ 1โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์และภรรยาที่มีต่อจำเลยที่ 1ดังกล่าวมาก่อน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาก็ตาม แต่การที่โจทก์และภรรยาซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างและนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ต่อธนาคารดังกล่าว แล้วต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตไม่เคยล่วงรู้ข้อความจริงดังกล่าวมาก่อน โจทก์จึงหาอาจทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องเสื่อมเสียสิทธิที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาได้ไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากดังกล่าวได้ ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 806
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7954/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากโดยสุจริตของผู้ซื้อฝาก แม้เจ้าของที่ดินมีข้อตกลงกับผู้ขายฝากก่อนหน้า ผู้ซื้อฝากไม่ต้องรับภาระ
โจทก์และภรรยาโจทก์ได้จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยที่ 1นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปจำนองธนาคาร และในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินกู้แก่ธนาคาร ก. ต่อมาจำเลยที่ 2เป็นผู้รับซื้อมาฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์และภรรยาที่มีต่อจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาก่อน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาก็ตาม แต่การที่โจทก์และภรรยาซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1ในฐานะตัวแทนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างและนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ต่อธนาคารดังกล่าว แล้วต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตไม่เคยล่วงรู้ข้อความจริงดังกล่าวมาก่อน โจทก์จึงหาอาจทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องเสื่อมเสียสิทธิที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาได้ไม่โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากดังกล่าวได้ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์สินโดยสุจริต แม้มีเจตนาลวงซ่อนอยู่ กรรมสิทธิ์ยังคงตกแก่ผู้ซื้อ
เดิมทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลย ต่อมาจำเลยได้โอนขายให้แก่ส. น้องสาวจำเลย หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทจากจำเลยเป็นของ ส. แล้ว ส.ได้แสดงความเป็นเจ้าของโดยจำนองทรัพย์พิพาทต่อธนาคารและเพิ่มเงินจำนองอีกหลายครั้งในที่สุด ส.ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้และบังคับจำนองทรัพย์พิพาท และธนาคารเจ้าหนี้ขอให้บังคับคดียึดทรัพย์พิพาท มีการขายทอดตลาดถึง 10 ครั้ง แต่ขายไม่ได้ ส.จึงขายทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา 3,950,000 บาท ได้มีการถอนการยึดและชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าด้านการแสดงออกหรือคัดค้านแต่อย่างใด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์รับซื้อทรัพย์พิพาทโดยสุจริต แม้จำเลยกับ ส. แสดงเจตนาลวงด้วยการสมรู้กันว่ามิได้มีเจตนาซื้อขายทรัพย์พิพาทกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์รับซื้อมาโดยสุจริตก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคแรก (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายโดยสุจริตของผู้ซื้อ แม้ผู้ขายแสดงเจตนาลวง ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย
เดิมทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยต่อมาจำเลยได้โอนขายให้แก่ส. น้องสาวจำเลยหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทจากจำเลยเป็นของส. แล้วส.ได้แสดงความเป็นเจ้าของโดยจำนองทรัพย์พิพาทต่อธนาคารและเพิ่มเงินจำนองอีกหลายครั้งในที่สุดส. ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้และบังคับจำนองทรัพย์พิพาทและธนาคารเจ้าหนี้ขอให้บังคับคดียึดทรัพย์พิพาทมีการขายทอดตลาดถึง10ครั้งแต่ขายไม่ได้ส. จึงขายทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา3,950,000บาทได้มีการถอนการยึดและชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าด้านการแสดงออกหรือคัดค้านแต่อย่างใดพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์รับซื้อทรัพย์พิพาทโดยสุจริตแม้จำเลยกับส. แสดงเจตนาลวงด้วยการสมรู้กันว่ามิได้มีเจตนาซื้อขายทรัพย์พิพาทกันก็ตามแต่เมื่อโจทก์รับซื้อมาโดยสุจริตก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118วรรคแรก(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้รับโอนสุจริตและชำระค่าตอบแทนแล้ว กรรมสิทธิ์เป็นของผู้รับโอน
แม้หนังสือมอบอำนาจระบุแต่เพียงว่าโจทก์แต่งตั้งให้ ช.มีอำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายกับขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากบ้านพิพาทโดยมิได้ระบุถึงให้ออกจากที่ดินพิพาทด้วยแต่เมื่อบ้านพิพาทตั้งอยู่บนที่ดินพิพาทย่อมมีความหมายรวมถึงให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทด้วย ช. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยดำเนินการปลอมลายมือชื่อจำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่สมรสลงในเอกสารจัดการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์โดยปราศจากความยินยอมของจำเลยร่วมแต่เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนจำเลยร่วมจึงจะขอให้ศาลเพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ถูกขัดขวางด้วยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต สิทธิขาดตอน
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเวลา 19 ปี แต่มิได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เมื่อ ค. ซื้อที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิมโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ขึ้นยัน ค. ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง เมื่อจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทจาก ค. จำเลยจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้รับโอนต่อมาได้ เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตตอนแรก แม้โจทก์จะยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่ครอบครองในช่วงหลังที่ ค.และจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ 10 ปี จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์ต่อจำเลยครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ถูกขัดขวางด้วยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ทำให้สิทธิขาดตอน
โจทก์อ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทของว.จนได้กรรมสิทธิ์แล้วแต่โจทก์มิได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อมาค. ซื้อที่ดินพิพาทจากว.เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณต่อค. ผู้ซื้อว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ถือว่าค.ซื้อที่ดินพิพาทจากว.โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันค. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองหลังจากนั้นจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจากค. จำเลยจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้รับโอนต่อมาได้เพราะสิทธิของโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรกแม้โจทก์จะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแต่การครอบครองในช่วงหลังที่ค. และจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ10ปีก็จะถือว่าการครอบครองปรปักษ์ต่อจำเลยครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วไม่ได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากค. โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เหนือกว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศ ญี่ปุ่นมาตั้งแต่พ.ศ.2499ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสองแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า5ปีแล้วดังนั้นโจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าเหนือกว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศ ญี่ปุ่นมาตั้งแต่พ.ศ.2499ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสองแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า5ปีแล้วดังนั้นโจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต และผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 19629,19630,19631 แขวงลาดยาว(บางซื่อฝั่งเหนือ) เขตบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานครพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยประมูลซื้อจากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วจำเลยทั้งสองและบริวารอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่ยอมออก โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างและใช้ค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดถึงการได้มาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความเสียหายที่ไม่อาจหาประโยชน์เดือนละ 30,000 บาท และได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างแล้วเป็นฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง คำว่า โดยสุจริตในมาตรา 1330 หมายความว่าผู้ซื้อไม่รู้ว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ในการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อสุจริตหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและในขณะซื้อประกอบกันว่าผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อจากการขายทอดตลาด มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเบิกความรับว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ก่อนโจทก์ซื้อที่พิพาท และก่อนไปประมูลซื้อที่ดินได้ไปตรวจดูที่ดินซึ่งรวมทั้งที่พิพาทก่อน พบว่าที่ดินบางแปลงเป็นที่ว่างเปล่าบางแปลงมีสิ่งปลูกสร้างแต่สิ่งปลูกสร้างไม่มีผู้อยู่อาศัย มีสภาพเป็นบ้านร้าง หลังจากโจทก์ซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลงจากการขายทอดตลาดแล้วจึงได้มีคนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านพิพาท ในขณะที่โจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโจทก์ได้ตรวจสอบทราบแล้วว่า ที่ดินและบ้านพิพาทมีจำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยอยู่ บ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปิดอยู่ที่หน้าประตูบ้านอย่างชัดแจ้ง โจทก์ย่อมทราบว่าที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นของลูกหนี้ในคดีที่มีการขายทอดตลาดกัน โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ซื้อโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330โจทก์จะเอาที่และบ้านพิพาทโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่พิพาททั้ง 3 แปลง ด้วยนั้นเมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นพิพาทสำหรับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้คงมีเพียงว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด คดีนี้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทรวม 3 ประการ คือโจทก์ซื้อที่พิพาทโฉนดเลขที่ 1962919630 และ 19631 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใด โดยมิได้กำหนดประเด็นในเรื่องการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่อย่างใดจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้