พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อเกิน 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้า เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการค้าโดยเจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้า ของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตนั้นไปซื้อสินค้าและบริการ จากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสด แต่ร้านค้าและสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่าย ไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้ว จะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองไป ส่วนการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยตรง หาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้าของเจ้าหนี้ไปก่อน ดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชี จึงมีลักษณะแตกต่างกัน แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชี ต่างมีวงเงินกำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัด มิให้ลูกค้าเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่า วงเงินที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่ เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงินค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการแทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจาก วงเงินที่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้ เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองไปสิ้นสุดลง และตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงิน ที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองแทน ลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตเจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตของเจ้าหนี้ และการที่เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ภายหลังจึงเป็นการเรียกเอาเงิน ที่เจ้าหนี้ได้ออกเงินทดรองไป คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าว ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจ บังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้เถียง ในชั้นฎีกา เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: แม้ผู้สั่งซื้อไม่ใช่จำเลย แต่จำเลยออกเช็คชำระหนี้แทนได้ ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้อง
แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์แล้วออกเช็คพิพาทชำระราคา แต่ทางพิจารณาได้ความว่า อ.เป็นผู้สั่งซื้อ จำเลยไม่มีหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ที่ อ.มีอยู่กับโจทก์อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้สั่งซื้อเสาเข็มของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า อ.เป็นผู้สั่งซื้อนั้น จำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่อยู่ที่ว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาเสาเข็มแก่โจทก์หรือไม่ มิได้อยู่ที่ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งซื้อเสาเข็มหรือไม่ ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยให้การปฏิเสธลอยและมิได้นำสืบต่อสู้เฉพาะในข้อเท็จจริงนี้เท่านั้น จึงไม่ถือว่าจำเลยหลงต่อสู้ แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ศาลก็ยังคงลงโทษจำเลยได้ มิได้เป็นเหตุถึงกับจะต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้สั่งซื้อเสาเข็มของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า อ.เป็นผู้สั่งซื้อนั้น จำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่อยู่ที่ว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาเสาเข็มแก่โจทก์หรือไม่ มิได้อยู่ที่ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งซื้อเสาเข็มหรือไม่ ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยให้การปฏิเสธลอยและมิได้นำสืบต่อสู้เฉพาะในข้อเท็จจริงนี้เท่านั้น จึงไม่ถือว่าจำเลยหลงต่อสู้ แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ศาลก็ยังคงลงโทษจำเลยได้ มิได้เป็นเหตุถึงกับจะต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 48,000 บาทแต่ตกลงผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 800 บาท นับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม2529 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 25 ของทุกเดือนถัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ซึ่งจะชำระเสร็จสิ้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2534 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นมา ฉะนั้นหนี้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน2530 เป็นต้นไป โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ และโจทก์ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 48,000 บาท แต่ตกลงผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 800 บาท นับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2529 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 25 ของทุกเดือนถัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งจะชำระเสร็จสิ้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2534 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นมา ฉะนั้น หนี้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นไป โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ติดอากรแสตมป์ ทำให้หนี้ไม่บังคับได้ การออกเช็คจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สัญญาเช่าซื้ออันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 และรับฟังไม่ได้ว่ามีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อย่อมไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย แม้โจทก์จะสามารถนำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวไปปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องในภายหลังและใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการทำให้หนี้นั้นมีหลักฐานและสามารถบังคับได้ในภายหลัง วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงิน อันเป็นวันที่จำเลยออกเช็ค ดังนี้ หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้รายนี้จึงยังบังคับตามกฎหมายไม่ได้ การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย และการกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 คดีโจทก์จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นและการระงับสิ้นหนี้
การนำสืบว่า จำเลยโอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนื้เงินกู้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วกรณีมิใช่เป็นการนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง
จำเลยได้โอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และโจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้รับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมทำให้หนี้กู้ยืมรายพิพาทระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
จำเลยได้โอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และโจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้รับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมทำให้หนี้กู้ยืมรายพิพาทระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดจากล้มละลายตามมาตรา 73(1) พ.ร.บ.ล้มละลายฯ: ทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้ไม่ถึง 50% ของหนี้
คำสั่งคำขอปลดจากล้มละลายอาจแยกได้เป็น 2 กรณีคือ กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 71 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งปลดจาก ล้มละลาย ถ้าได้ความว่าเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต นอกจากจะมี เหตุผลพิเศษและลูกหนี้ได้ล้มละลายแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และตามมาตรา 72 ที่กำหนดว่าถ้าพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความ อย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวไว้ในมาตรา 73 แล้ว ให้ศาลมีคำสั่ง อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตาม (1) ถึง (4) ถ้าไม่ใช่กรณี ดังกล่าวแล้วก็เป็นกรณีทั่วไปซึ่งศาลมีอำนาจมีคำสั่ง อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดตามมาตรา 73(1) จึงเป็น กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างตามมาตรา 72(1) ถึง (4) ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไขไม่ได้ ต้องมีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 72(4) เท่านั้น กรณีพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73(1) ระบุว่า สินทรัพย์ของบุคคลล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้มีเหลือ ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันนั้นหมายความว่า ในขณะที่บุคคลล้มละลายร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งปลดจาก ล้มละลายบุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันการที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้หลังจาก ศาลมีคำสั่งปิดคดี ย่อมอยู่ในความหมายของมาตรา 73(1) ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เต็มจำนวนหนี้ซึ่งยังไม่ได้ชำระให้เสร็จ ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งตามมาตรา 72(4) จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการวางทรัพย์ก่อนฟ้อง
การที่จำเลยได้นำเงินไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์ โจทก์ได้ปฏิเสธการรับเงินดังกล่าวตลอดมา เพราะโจทก์เห็นว่าเป็นการชำระหนี้ไม่ถูกต้องจนกระทั่งต่อมาโจทก์ได้ฟ้องจำเลย และต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีของเงิน 60,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 23ตุลาคม 2529 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 3 ไม่ยอมชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาด ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 3ออกขายทอดตลาดนำเงินที่ขายได้มาชำระหนี้แก่โจทก์ โดยมิได้กล่าวอ้างถึงการวางเงินของจำเลยต่อสำนักงานวางทรัพย์เลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและยึดทรัพย์ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุดนั้นได้
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวได้อ่านให้คู่ความฟังเมื่อวันที่5 มกราคม 2532 และถึงที่สุดไปแล้วโดยจำเลยมิได้ฎีกา ย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อจำเลย ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยได้
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวได้อ่านให้คู่ความฟังเมื่อวันที่5 มกราคม 2532 และถึงที่สุดไปแล้วโดยจำเลยมิได้ฎีกา ย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อจำเลย ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแจ้งให้โอนคืน แต่ไม่สร้างหนี้ได้
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเป็นเพียงหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการรับโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนขายที่ดินภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1ภายใน 30 วัน อยู่ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นเด็ดขาดไม่เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่ 1 ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีการบังคับคดีแต่ไม่ทันอายุความ
เจ้าหนี้จึงยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อปรากฏว่าหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/32 แม้โจทก์จะได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดจนครบกำหนดสิบปีและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ก็ตาม แต่กำหนดเวลาให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดเจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้อีก ดังนั้นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)