พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยชอบธรรม: การกระทำทุจริตต่อหน้าที่และขัดคำสั่งนายจ้าง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีคำสั่งเรื่อง ใช้รถยนต์ในส่วนภูมิภาคห้ามพนักงานซึ่งมิใช่พนักงานขับรถ ขับรถของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา และให้ใช้รถของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการเท่านั้นและข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงานข้อ 43กำหนดว่า "การลงโทษปลดออกนั้น จะกระทำได้เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ 41 และข้อ 42 แต่โทษยังไม่ถึงกับจะต้องถูกไล่ออก หรือถึงกับจะต้องถูกไล่ออก แต่มีเหตุผลอันควรลดหย่อน" การที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานช่างนำรถของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไปปักเสา 2 ต้น และยกหม้อแปลงขึ้นบนคานนั่งร้านหม้อแปลงให้แก่เอกชน การกระทำของโจทก์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการผิดข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงาน หมวด 5 เรื่องวินัย ข้อ 38(3) ที่กำหนดว่า "ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบหรือวิธีปฏิบัติของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ห้ามขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง..."แล้ว ยังต้องด้วยข้อ 41(3) ที่กำหนดว่า "ทุจริตต่อหน้าที่การงาน"ด้วย เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับผู้อื่นซึ่งมีโทษถึงไล่ออก ดังนั้น การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยมีคำสั่งปลดออกจึงเป็นการลงโทษที่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าวแล้วไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกตามกฎหมาย แต่ศาลต้องไต่สวนเมื่อมีข้อกล่าวหาการจัดการที่ไม่ถูกต้อง
ผู้จัดการมรดกอาจกระทำการตามหน้าที่ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท
คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้จัดการมรดกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและจัดการแบ่งปันมรดกไม่ถูกต้อง เมื่อปรากฏจากบัญชีเครือญาติว่าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม 9 คน แต่ผู้จัดการมรดกแถลงรับต่อศาลว่าแบ่งมรดกให้ทายาทเพียง 8 คน โดยไม่แจ้งเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาทอีกคนหนึ่งศาลต้องไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกถูกต้องและเป็นการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้จัดการมรดกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและจัดการแบ่งปันมรดกไม่ถูกต้อง เมื่อปรากฏจากบัญชีเครือญาติว่าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม 9 คน แต่ผู้จัดการมรดกแถลงรับต่อศาลว่าแบ่งมรดกให้ทายาทเพียง 8 คน โดยไม่แจ้งเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาทอีกคนหนึ่งศาลต้องไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกถูกต้องและเป็นการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดตามมาตรา 157, 177, 326: หน้าที่, ความเสียหาย, และเจตนาใส่ความ
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น หมายถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานที่ศาลไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)
ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)
ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ, เบิกความเท็จ, และหมิ่นประมาท: การพิเคราะห์เจตนาและหน้าที่
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 157หมายถึง หน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตาม ที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือได้ รับ มอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้า ไม่ เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ จำเลยได้ เบิกความเป็นพยานโจทก์ ซึ่ง การเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้ รับ มอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม มาตรานี้ ป.อ. มาตรา 177 บัญญัติไว้เพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้ รับโทษหรือได้ รับความเสียหาย อันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ ผู้ที่จะเสียหายคือจำเลยในคดีนั้น การที่โจทก์มิได้ถูก ฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลยในคดีดังกล่าวนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง การใส่ความตาม ป.อ. มาตรา 326 ผู้กระทำต้อง มีเจตนาใส่ความผู้อื่น ข้อที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัว โจทก์ในคดีอาญาอื่นเป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน ไม่ใช่ข้อที่จำเลยประสบมาด้วยตนเอง ส่วนข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ไม่ทราบ การเบิกความของจำเลย จำเลยมีเจตนาจะให้ความจริงต่อ ศาลในการพิจารณาคดีตาม ที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้นจำเลยหาได้ มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูก ดูหมิ่น ถูก เกลียดชังแต่ อย่างใดไม่ จึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรานี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิด ม.157, 177, 326: การเบิกความต่อศาลและการใส่ความผู้อื่น ต้องพิจารณาหน้าที่, ผู้เสียหาย, และเจตนา
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้นหมายถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานที่ศาลไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเป็นการป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลยโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบ ดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีผู้จัดการมรดกต่างกรรมต่างวาระ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ แม้มีประเด็นเกี่ยวกับหน้าที่ผู้จัดการมรดกคล้ายกัน
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก ไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่าละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๔๙ ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.
ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๔๙ ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพื่ออุทธรณ์คำสั่งศาล
ในการตรวจอุทธรณ์ที่จำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นนั้นศาลชั้นต้นอาจตรวจทั้งในข้อที่คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224,230 รวมตลอดทั้งตรวจอุทธรณ์ เพื่อปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นในเหตุอื่นตามมาตรา 230 วรรคสอง และมาตรา 232 ด้วย.
ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232แล้วมีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง สั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นสั่งว่า ผู้อุทธรณ์ไม่วางเงินและหาประกันมาวางเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและหนี้ตามคำพิพากษาให้ส่งอุทธรณ์ไปศาลอุทธรณ์ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติว่าให้ผู้อุทธรณ์นำค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวแต่ไม่ปฏิบัติศาลอุทธรณ์จึงถือว่าคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นชอบแล้วจำเลยจะฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าจำเลยไม่จำต้องนำเงินหรือหาประกันตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่.
ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232แล้วมีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง สั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นสั่งว่า ผู้อุทธรณ์ไม่วางเงินและหาประกันมาวางเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและหนี้ตามคำพิพากษาให้ส่งอุทธรณ์ไปศาลอุทธรณ์ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติว่าให้ผู้อุทธรณ์นำค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวแต่ไม่ปฏิบัติศาลอุทธรณ์จึงถือว่าคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นชอบแล้วจำเลยจะฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าจำเลยไม่จำต้องนำเงินหรือหาประกันตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4428/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และหน้าที่การพิสูจน์ของโจทก์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 เบิกความว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องพิสูจน์เช่นเดิม เมื่อสัญญาค้ำประกันปิดอากรแสตมป์ไม่ครบบริบูรณ์ เป็นเอกสารต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 มีผลเท่ากับไม่มีสัญญาค้ำประกันเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าอาวาสในฐานะผู้แทนวัด: ไม่ต้องรับผิดส่วนตัวต่อสัญญาที่ทำในหน้าที่
จำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ให้ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 และบอกเลิกสัญญากับโจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่เป็นการกระทำในหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโดยตรง แต่ธนาคารจ่ายเงินตามระเบียบ ไม่ใช่ผลจากการหลอกลวง และการหาผู้ฝากไม่ใช่หน้าที่โดยตรง
จำเลยหาผู้ฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ โดยหลอกลวงแจ้งเงื่อนไขในการทำสัญญาอันเป็นเท็จทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินและธนาคารออมสินได้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและเงินรับรองในการหาผู้ฝากและเงินสมนาคุณแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินแก่จำเลย แม้จำเลยจะหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การที่ธนาคารออมสินได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยก็เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือตามสัญญาซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลย มิใช่จ่ายให้จำเลยโดยเหตุที่จำเลยหลอกลวง และมิใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงของจำเลย การหลอกลวงของจำเลยเป็นแต่เพียงทำให้ประชาชนเข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินเท่านั้นจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยเป็นพนักงานธนาคารออมสิน สาขาสระบุรี ตำแหน่งพนักงานบริการรับใช้ มีหน้าที่เก็บกวาดบริการภายในธนาคาร และงานอื่นตามแต่ผู้จัดการจะใช้ ในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงานธนาคารหาเงินฝากประเภทดังกล่าวได้นอกเวลาทำการ และมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนให้เป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองจากธนาคาร เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พนักงานธนาคาร การที่จำเลยหาผู้ฝากเงินไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของจำเลยและผู้บังคับบัญชาจำเลยก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวดังนั้น แม้จำเลยทำหลักฐานเท็จขอเบิกเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองในการหาผู้ฝากเงินประเภทดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11