พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,327 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้และการค้ำประกัน แม้หนังสือค้ำประกันไม่สมบูรณ์ แต่การรับสภาพหนี้และยอมรับการค้ำประกันแล้ว ถือเป็นหลักฐานได้
หนังสือค้ำประกันปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่เมื่อจำเลยที่2รับแล้วว่าจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1จริงก็ไม่จำต้องอาศัยหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่2เป็นหลักฐานในคดีศาลพิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2801/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานนอกประเด็นในคดีซื้อขายที่ดินและการพิพากษาค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำ สัญญาจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยจำเลยจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จแล้วโอนขายให้โจทก์จำเลยให้การว่าได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้วแต่โจทก์ไม่พร้อมที่จะรับโอนประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้วหรือไม่การที่จำเลยนำสืบว่าเมื่อมีการฉาบปูนเดินท่อประปาเดินสายไฟทาสีติดบานประตูหน้าต่างแล้วถือว่าจำเลยก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จตามข้อตกลงในสัญญาเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำให้การจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าในคดีขับไล่: ศาลไม่อาจใช้ค่าเช่าที่คาดการณ์ได้ หากมีหลักฐานค่าเช่าจริงในอดีต
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องที่ขอให้ ขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอาคารพิพาทว่าหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ25,000บาทและใช้อัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณเรียกค่าเสียหายและศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ15,000บาทก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องโจทก์จำเลยนำสืบว่าจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิมในอัตราค่าเช่าเดือนละ1,000บาทต้องฟังว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ2,000บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224เดิมซึ่งบังคับใช้ในขณะยื่นอุทธรณ์แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินด้วยการวางมัดจำ: ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ และจำเลยมีสิทธิเปลี่ยนแปลงราคาได้
ป.วิ.พ.มาตรา 94 ห้ามคู่ความนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเฉพาะเมื่อมีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น แต่ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีการวางมัดจำไว้บางส่วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลบังคับคดีกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง โดยไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ข้อตกลงจะซื้อจะขายดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จำเลยมีสิทธินำสืบถึงราคาที่จะซื้อจะขายที่ดินกันตามความเป็นจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานตำรวจในคดีจำหน่ายยาเสพติด: หลักฐานสนับสนุนและข้อโต้แย้ง
พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมจำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทั้งไม่เคยรู้จักจำเลยทั้งสองมาก่อนไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะแกล้งปรักปรำจำเลยทั้งสองน่าเชื่อว่าเบิกความไปตามความจริงฟังว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการยืมเงินต้องมีลายมือชื่อผู้ยืมจึงใช้บังคับคดีได้
เอกสารที่จำเลยเขียนมีข้อความว่า "วันที่ 11 กันยายน 2528วัฒนา สุขสำราญ ได้ยืมเงินพี่ดาหกหมื่นบาทถ้วน" ถือไม่ได้ว่าชื่อจำเลยที่เขียนไว้เป็นการลงลายมือชื่อ เมื่อเอกสารไม่มีลายมือชื่อของจำเลยลงไว้ในฐานะเป็นผู้ยืมจึงไม่เป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตามความมุ่งหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้ยืมเงินที่ไม่มีลายมือชื่อผู้กู้ แม้จะเขียนด้วยมือผู้กู้เอง ก็ใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
จำเลยเขียนเอกสารการกู้ยืมเงินด้วยลายมือตนเองโดยระบุชื่อจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินโจทก์แต่จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อไว้ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยโจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานกู้ยืมต้องมีลายมือชื่อผู้ยืม จึงใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้
แม้จำเลยเบิกความรับว่าจำเลยเป็นผู้เขียนข้อความในเอกสารด้วยตนเองว่าจำเลยได้ยืมเงินโจทก์หกหมื่นบาทถ้วนแต่เมื่อเอกสารไม่มีลายมือชื่อจำเลยลงไว้เป็นผู้ยืมก็ถือไม่ได้ว่าชื่อจำเลยที่เขียนไว้เป็นการลงลายมือชื่อของจำเลยตามความหมายของมาตรา653วรรคหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดปกติทางกายภาพกับหลักฐานการข่มขืน: การพิสูจน์ความผิดทางอาญา
ช่องคลอดของผู้เสียหายมีอาการผิดปกติโดยกำเนิด แพทย์ตรวจพบก้อนอุจจาระในช่องคลอด ซึ่งตามปกติจะมีผนังกั้นระหว่างช่องคลอดกับทวารหนักกรณีของผู้เสียหายแพทย์ผู้ตรวจร่างกายยืนยันไม่ได้ว่าจะมีการผ่านการร่วมประเวณีเพราะเป็นทางผ่านของอุจจาระ โดยอุจจาระจะผ่านทางช่องคลอดมากกว่าจะออกไปทางทวารหนัก ฉะนั้น การที่เยื่อพรหมจารียังอยู่คงเดิม ไม่พบรอยฟกช้ำของอวัยวะเพศตลอดจนไม่พบอสุจิอาจเป็นเพราะความผิดปกติของช่องคลอดของผู้เสียหาย จึงไม่ใช่ว่าจะเป็นเครื่องยืนยันเด็ดขาดว่าจะไม่มีการข่มขืนกระทำชำเรา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานเพิ่มเติมจากสัญญา นอกเหนือจากที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ป.วิ.พ. มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตามหนังสือสัญญาที่ทำกันเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2537อีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินนั้นจึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว