คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4990/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: ตั้งผู้ปกครองใหม่ไม่ได้หากบิดามารดาเดิมยังมีอำนาจอยู่
กรณีที่บิดาและมารดาตกลงกันให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่ง กฎหมายบัญญัติให้ตกลงกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา1566(6) เมื่อเด็กหญิงว.ผู้เยาว์มีมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่แล้ว การที่จะตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์นั้น มาตรา 1585 วรรคหนึ่งให้ตั้งได้เฉพาะในกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว แต่เมื่อเด็กหญิงว. ยังมีจำเลยซึ่งเป็นมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่โดยยังไม่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองกรณีจึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้อีก ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองร่วมกับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1590

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่เสียชีวิต: อำนาจศาลอุทธรณ์และกระบวนการที่ถูกต้อง
จำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปก่อน และทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 4จริงหรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาลและการก่อให้เกิดวิวาท ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองมีเรื่องโกรธเคืองอย่างรุนแรงกันมาก่อนการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ต่อว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ที่ห้องโถงของศาลในวันเกิดเหตุว่าถูกผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 กลั่นแกล้งหลายเรื่อง และจะเอาเรื่องผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เป็นการข่มขู่และยั่วยุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เกิดอารมณ์ไม่พอใจ และการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ไปยืนที่ประตูห้องพิจารณาของศาลในลักษณะยืนขวางประตู เห็นได้ว่าเป็นการท้าทายให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ไม่พอใจยิ่งขึ้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เดินเข้าห้องพิจารณาไม่ว่าจะเดินชนผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ตามที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 แถลงหรือเดินเฉียดชิดเพราะที่แคบตามที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 แถลง ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ก็ไม่ควรผลักผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 พฤติการณ์ที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ต่อว่าข่มขู่จะเอาเรื่องผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ก็ดี ผู้กล่าวหาที่ 1 ไปยืนขวางประตูห้องพิจารณาและผลักผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เมื่อผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เดินเข้าห้องก็ดี ชี้ให้เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 มีส่วนก่อให้เกิดเหตุวิวาทขึ้นในศาล เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม เหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และฐานะทายาท
ตามพินัยกรรมมีข้อความให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่มีข้อความใดจำกัดห้ามมิให้ผู้ร้องจัดการมรดกของผู้ตายที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม เมื่อพินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกโดยมิได้จำกัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมด จึงชอบแล้ว
ตามคำร้องขอได้แสดงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก คำคัดค้านก็มิได้โต้เถียงว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และยังขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก แสดงว่ายอมรับว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ประเด็นเรื่องเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกจึงไม่มี ผู้ร้องไม่ต้องนำสืบถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกอีก
พินัยกรรมระบุให้ตัดญาติพี่น้องออกจากกองมรดกทั้งหมด ซึ่งหมายถึงตัวผู้คัดค้านด้วย ผู้คัดค้านจึงไม่อยู่ในฐานะทายาทที่จะยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมในที่รโหฐานต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการกระทำที่เกินอำนาจ
โรงค้าไม้มีรั้วรอบขอบชิดและนอกจากใช้เป็นสถานประกอบการค้าแล้ว ยังใช้เป็นที่พักอาศัยด้วย ในยามที่โรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการภายในบริเวณโรงค้าไม้ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถาน แต่กลับเป็นที่รโหฐานตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (13) แม้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะมีอำนาจจับกุมจำเลยในกรณีที่มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78 (4) ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตามมาตรา 81 บัญญัติว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ซึ่งพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมซึ่งกระทำไปไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว การที่โจทก์ร่วมกับพวกทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐานจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนค้าข้าวโพดและการมีอำนาจของกรรมการ: ผลผูกพันต่อหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เมื่อโจทก์จดทะเบียนและเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวโพดแล้ว โจทก์จะมาอ้างว่ากรรมการของโจทก์ไปจดทะเบียนนอกเหนือวัตถุประสงค์ ไม่มีผลผูกพันโจทก์ไม่ได้ โจทก์ต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในเงินที่จ่ายซื้อข้าวโพดให้ผู้ขายเพื่อนำส่งจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สู้ราคาที่ไม่วางมัดจำและการไม่มีอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดอายัด
การที่ ส.ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่วางเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ตามสัญญาจนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่งและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น ส.ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 516 และการกระทำของ ส.ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งผู้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้ ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียก่อน ประกอบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ด้วยประการใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัด•ทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้อง ส.เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กรณีทับที่สาธารณประโยชน์ และการฟ้องร้อง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัดให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ โดยอ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดที่กระทำโดยผู้ว่าราชการ-จังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 (75 เดิม) โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายโฆษณาไม่ใช่ 'อาคาร' หากไม่มีกฎกระทรวงกำหนดขนาด/น้ำหนัก ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจสั่งรื้อถอน
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 ข้อ 3(ข) ป้ายที่ติดหรือตั้งไว้นอกที่สาธารณะจะถือว่าเป็นอาคารก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบ 2 ประการคือ เกี่ยวกับระยะห่างจากที่สาธารณะ และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่งจะมีการออกกฎกระทรวงภายหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้ว ซึ่งจะนำมาใช้บังคับคดีนี้มิได้ป้ายที่จำเลยที่ 2 สร้างขึ้นบนอาคารของจำเลยที่ 1จึงไม่เป็นอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจตามมาตรา 40 และมาตรา 42(เดิม)ที่จะสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนรวมทั้งไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนป้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตำแหน่งหัวหน้ากับสมาชิกสหภาพแรงงาน: การเพิกถอนตำแหน่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้กล่าวหาเป็นลูกจ้างตำแหน่งระดับหัวหน้าซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ผู้กล่าวหาจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้งขึ้นหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 95 วรรคสอง การที่ผู้กล่าวหาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น ย่อมทำให้การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้นไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงาน-สัมพันธ์ พ.ศ.2518 ดังกล่าว แต่ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีอำนาจเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างนั้นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์ที่จะกระทำการเช่นว่านั้นได้ โจทก์จึงเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของผู้กล่าวหาไม่ได้
of 98