คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุบัติเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การร่วมรับผิดของนายจ้างและผู้ประกอบการขนส่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจาะจงตัวจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ส.จำกัด ไม่ต้องระบุว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์นั่งรถยนต์รับจ้างสามล้อที่ ก.เป็นผู้ขับขี่แล่นมาถึงบริเวณใกล้ที่พักผู้โดยสารประจำทางใกล้สะพานสท้านนภา โฉมหน้าจากสถานีขนส่งสายใต้ไปทางสามแยกท่าพระถูกรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 81 คันหมายเลขทะเบียน กท. จ.3991 พุ่งเข้าชนนั้นย่อมชัดแจ้งเข้าใจได้แล้วว่ารถชนกันที่ใด ส่วนค่าเสียหายโจทก์ก็บรรยายฟ้องแยกชนิดประเภทความเสียหายว่าเป็นเงินส่วนละเท่าใด ความเสียหายที่ทำให้โจทก์เสียฆานประสาทก็บรรยายว่าไม่อาจรับความรู้สึกในการดมกลิ่นอีกฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรถเป็นการฟ้องตามสิทธิที่มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ แต่ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในภายหลัง คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ได้นำรถยนต์โดยสารประจำทางคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 มาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 พนักงานเก็บเงินค่าโดยสารของรถยนต์โดยสารประจำทางดังกล่าวก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่าการนำรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุรถโดยสารประจำทาง: นายจ้างทั้งสองต้องรับผิดร่วมกัน
โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสแต่อย่างใด แม้โจทก์จะมีสามีก็ไม่จำต้องให้สามีให้ความยินยอม
โจทก์ได้ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายเกิน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้ที่จะใช้ค่าเสียหายแล้ว โดยอ้างว่ายังมิได้เรียกค่ายาและค่ารักษาพยาบาลไว้ หาทำให้คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายนั้นขาดอายุความไม่
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถโดยสารประจำทางคันเกิดเหตุและนำมาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 และปรากฏว่าพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารเป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่าการนำรถโดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จะปฏิเสธความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: การกำหนดจำนวนค่าโอเวอร์เฮดชาร์จที่เหมาะสมเมื่อรายละเอียดไม่ชัดเจน
ค่าใช้จ่ายในโรงงานที่เรียกว่า ค่าโอเวอร์เฮดชาร์จในการซ่อมแซมรถจักรดีเซล และรถพ่วง แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนชนิดหนึ่งและเป็นค่าใช้จ่ายโดยตรงคิดจากผลงานที่ได้รับ ซึ่งหากไม่มีค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็ไม่สามารถทำงานสำเร็จไปได้ก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏรายละเอียดว่า โจทก์คิดค่าโอเวอร์เฮดชาร์จในแต่ละรายการอย่างใดเพียงใด และมีความจำเป็นเพียงใดที่โจทก์จำเป็นจะต้องใช้จ่ายในแต่ละรายการ โจทก์คงอ้างแต่เพียงบัญชีรายละเอียดของค่าโอเวอร์เฮดชาร์จโดยคิดเป็นอัตราร้อยละเท่านั้นและแม้จำเลยทั้งสองจะไม่นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นก็ตาม แต่โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามที่โจทก์อ้าง เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นจำนวนแน่นอนได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้ตามควรได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ใช่เงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน แม้จ่ายโดยนายจ้าง
บริษัท ส. นายจ้างเดิมของ พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบริษัทจำเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ.ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่ พ.กรมธรรม์ประกันภัยมิได้มีข้อความกำหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอัน เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแต่เพียงประการเดียวแม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตรายโดยมิได้เกิด ขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างบริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแม้บริษัท ส.จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้สวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ. เท่านั้นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ.ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4 นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนจากประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ใช่เงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน แม้จ่ายโดยนายจ้าง
บริษัท ส.นายจ้างเดิมของพ.ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบริษัทจำเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ.ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่พ.กรมธรรม์ประกันภัยมิได้มีข้อความกำหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแต่เพียงประการเดียว แม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตรายโดยมิได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง บริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา แม้บริษัท ส.จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้สวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ.เท่านั้น ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ.ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4631/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 3 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310-4311/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การรักษาพยาบาลทางเลือก และขอบเขตความรับผิดของผู้กระทำละเมิด
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาททับขาโจทก์ที่ 3 แพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าตรวจแล้วมีความเห็นว่าต้องตัดขาทั้งสองข้างโจทก์ที่ 3 ไม่ยอมให้ตัด ได้ออกจากโรงพยาบาลไปรักษาหมอกระดูกทางไสยศาสตร์อยู่ประมาณ 1 เดือนไม่หาย จึงไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลยาสูบแพทย์ได้ตัดขาโจทก์ที่ 3 ทั้งสองข้างการที่โจทก์ที่ 3 ไม่ยอมตัดขาทั้งสองข้างแล้วไปรักษากับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์นั้น เป็นเรื่องความเชื่อของโจทก์ที่ 3 ที่จะเลือกรักษาเช่นนั้นได้เมื่อรักษากับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์ไม่หายจึงไปรักษาที่โรงพยาบาลยาสูบโดยแพทย์ตัดขาทั้งสองข้าง ย่อมเป็นผลจากการทำละเมิดโดยตรงของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุแทรกซ้อนจำเลยต้องชดใช้ค่ารักษาที่โจทก์ที่ 3 ใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลทั้งสอง และค่าใช้จ่ายที่มารดาโจทก์ที่ 3 ไปดูแลโจทก์ที่ 3 ขณะรักษาตัวอยู่ในที่ต่างๆและพาโจทก์ที่ 3 ไปยังสถานพยาบาลต่างๆและพากลับบ้านด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับเหมาและเจ้าของงานต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุบนถนนก่อสร้าง และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาทำการก่อสร้างทางใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ปิดกั้นขวางถนนที่กำลังก่อสร้าง โดยไม่ติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างเพื่อให้ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะในเวลากลางคืนมีโอกาสเห็นได้ในระยะอันสมควร เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะหยุดรถได้ทัน ทำให้ต้องหักรถหลบพุ่งขึ้นไปบนเกาะกลางถนน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นเสียหายส่วนกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชอบในการซ่อมแซม ก่อสร้างบำรุงรักษาถนนที่เกิดเหตุย่อมมีหน้าที่ควบคุมและจัดให้มีเครื่องหมายหรือป้าย และสัญญาณจราจรในบริเวณก่อสร้าง และปรับปรุงถนนที่เกิดเหตุแม้จะได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงถนนให้ทำและปิดป้ายจราจร เครื่องหมายกั้น เพื่อความปลอดภัยแก่การจราจรแล้วก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องคอยควบคุมดูแลให้เป็นไปโดยถูกต้อง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มิได้ติดตั้งให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ขับรถด้วยความเร็วมิได้ใช้ความระมัดระวัง โจทก์จึงได้ชื่อ ว่ามีส่วนในความประมาทที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประกันภัย, นายจ้าง, และผู้ขับขี่
สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 เจ้าของรถยนต์ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 บริษัทผู้รับประกันภัยมีข้อตกลงว่า"บริษัทจะถือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง..." เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวได้นำรถยนต์ไปใช้โดยให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของตนขับแล้วเกิดเหตุละเมิดขึ้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3และมีฐานะเสมือนเป็นผู้เอาประกันภัยเองตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2ในฐานะนายจ้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. ตามมาตรา 425และจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชอบตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวด้วยส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ความว่าเป็นผู้ครอบครองรถขณะเกิดเหตุจึงไม่ต้องรับผิดชอบ ประเด็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการเชิด จำเลยที่ 3 ให้เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยหรือไม่ โจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างไว้ในคำฟ้องชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738-3739/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่งได้หรือไม่: ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยที่ 1 ถูกอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (อัยการจังหวัดมหาสารคาม) ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (ศาลจังหวัดมหาสารคาม) ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ และไม่หยุดช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ มาตรา 160 วรรคแรก ส่วนข้อหาขับรถโดยประมาทยกฟ้อง คดีถึงที่สุด ดังนั้นปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บาดเจ็บในคดีอาญาหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาของศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (ศาลจังหวัดมหาสารคาม) ซึ่งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(8) โดยอัยการได้ฟ้องแทนโจทก์ที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 และไม่มีความรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 อ้างว่าเป็นนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ด้วยส่วนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถคันเกิดเหตุนั้น ในคดีอาญามิใช่เป็นผู้บาดเจ็บจากการที่รถชนกัน และมิใช่อยู่ในฐานะผู้เสียหายโดยการจัดการแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4), 5(2) และมิใช่เป็นคู่ความเดียวกัน ผลของคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1 ในคดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงใหม่.
of 47