พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจกระทำผิดอาญา ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ
การที่ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่ใช่เหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78ศาลลดโทษให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอเพิกถอนการจดทะเบียน
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 ขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1ย่อมเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้เท่านั้นดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมกลับสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับบทตามมาตรา 24 ไม่ใช่ปรับบทตามมาตรา 114,115 เพราะคำว่า"การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างเวลาสามปีหรือสามเดือนแล้วแต่กรณีก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือภายหลังนั้น"ตามมาตรา 114,115 หมายถึงการโอนหรือการกระทำที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่การโอนหรือการกระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อการโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นโมฆะผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ*พิพาทที่จะโอนขายต่อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนอันจะได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 116 หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินไว้แล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินได้ และเจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลโดยศาลไม่ต้องสั่งเจ้าพนักงานที่ดินอีก ไม่เกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารปลอม กรณีลงชื่อแทนเจ้าพนักงานและใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม
นอกจากจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์โดยลงชื่อของจำเลยในช่องลงชื่อของเจ้าของรถแล้ว จำเลยยังลงชื่อบุคคลอื่นในช่องลงชื่อผู้บันทึกและนายทะเบียนด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้บันทึกและนายทะเบียนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นผู้มีอำนาจกระทำเอกสารดังกล่าว หาใช่จำเลยไม่ จำเลยจึงมีเจตนาทำปลอมใบคู่มือการจดทะเบียนอันเป็นเอกสารราชการ เมื่อจำเลยเป็นผู้ทำปลอมใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ย่อมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาทำปลอมแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ 2 แผ่นเพราะจำเลยได้นำไปใช้ติดกับรถยนต์ของกลางเพื่อให้ตรงกับหมายเลขทะเบียนในใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ การที่จำเลยเป็นผู้ทำปลอมใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ และว่าจ้างให้ผู้อื่นทำปลอมแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ 2 แผ่น แล้วนำเอกสารทั้งหมดไปใช้กับรถยนต์ของกลาง ย่อมฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้เอกสารปลอมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตสอบแข่งขัน ครูสนับสนุนความผิด เปิดเผยความลับราชการ
จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นข้าราชการครูได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการครูตามคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ย่อมถือว่าเป็นเจ้าพนักในการสอบครั้งนี้แม้จะเป็นเพียงกรรมการสอบสัมภาษณ์ก็ตาม หน้าที่ในการสอบย่อมคลุมถึงการสอบตั้งแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งจนถึงการสอบเสร็จสิ้น หาใช่เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เฉพาะในช่วงการสอบสัมภาษณ์ เท่านั้นไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3มีเจตนาทุจริตร่วมกันนำเข้าสอบซึ่งเป็นความลับของทางราชการไปเปิดเผยให้ บ. กับพวกรู้ก่อนเข้าสอบ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำโดยมิชอบด้วยหน้าที่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับในราชการ และจำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งเป็นข้าราชการครูซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำผิดแต่มิได้เป็นกรรมการสอบมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตสอบแข่งขัน ครูสนับสนุนความผิด
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นข้าราชการครูได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งหรือสอบสัมภาษณ์ ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการครูตามคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2ที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานในการสอบครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะเป็นเพียงกรรมการสอบสัมภาษณ์แต่การเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ในการสอบของจำเลยที่ 2 ที่ 3ย่อมนับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งจนถึงการสอบเสร็จสิ้นหาใช่เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เฉพาะในช่วงการสอบสัมภาษณ์เท่านั้นไม่ จำเลยที่ 4 ที่ 5 เป็นข้าราชการครูแต่มิได้เป็นกรรมการสอบด้วยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่ปล่อยผู้ต้องหาหลบหนี ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและกรมตำรวจ
ผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ส.เมื่อจำเลยจับตัว ส.ได้แล้วจำเลยมีหน้าที่ต้องรีบนำตัวส.ส่งพนักงานสอบสวนทันทีโดยไม่ชักช้า การที่จำเลยยอมให้ ส.แวะพบญาติแล้วเป็นเหตุให้ ส. หลบหนีไปในระหว่างควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและกรมตำรวจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719-2720/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานการท่าเรือจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควร และราษฎรสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719-2720/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานการท่าเรือจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่าย และราษฎรสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้น ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาด เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2531ครั้นวันที่ 20 มิถุนายน 2533 เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่โจทก์นำยึด เช่นนี้ จำเลยที่ 2 จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตาม มาตรา 22(3) แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะอำนาจในการดำเนินคดีย่อมตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 2 ต้องไปแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ยื่นคำคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาล หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการให้ จำเลยที่ 2 จึงอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา146 ยื่นคำขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจรับสินบนละเว้นการแจ้งข้อหาความผิดน้ำหนักบรรทุกเกินกฎหมาย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายจำเลยพบ อ. ขับรถยนต์บรรทุกเกินน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด จำเลยได้จับกุม อ. ย่อมถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจตามตำแหน่งหน้าที่แล้ว เมื่อจำเลยรับเงินจากผู้เสียหายแล้ว จำเลยกลับละเว้นไม่กระทำการในตำแหน่งหน้าที่ที่จะต้องแจ้งข้อหาแก่ อ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149