พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลความไม่ไว้วางใจจากพฤติการณ์ส่งเงินที่ไม่ถี่ถ้วน ถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร
นับแต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้า โจทก์ส่งเงินค่าขายแถบรหัสบอกราคาสินค้าเพียง 3 ครั้ง ทั้งที่มีการขายแถบรหัสบอกราคาสินค้าทุกเดือนและมีการตรวจนับเงินพร้อมใบเสร็จรับเงินชั่วคราวให้โจทก์แล้ว นอกจากนี้โจทก์ส่งเงินให้ฝ่ายการเงินและบัญชีน้อย และมีระยะเวลาการส่งมอบเงินไม่ถี่เท่ากับผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้าคนก่อน แม้ไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ แต่พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีเหตุที่ไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความไม่ไว้วางใจ แม้ไม่พบการทุจริตชัดเจน ถือเป็นเหตุอันสมควรได้
ตั้งแต่โจทก์อยู่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้า โจทก์ส่งเงินค่าขายสินค้าเพียง 3 ครั้ง ทั้งที่มีการขายสินค้าทุกเดือน และมีการตรวจนับเงินพร้อมใบเสร็จรับเงินชั่วคราวให้โจทก์แล้ว นอกจากนี้โจทก์ยังส่งเงินให้ฝ่ายการเงินและบัญชีน้อย และไม่ถี่เท่ากับผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้าคนก่อนโจทก์ แม้ไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ แต่ย่อมทำให้จำเลยมีเหตุที่ไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้ได้ตามคู่มือพนักงาน ข้อ 32.2 ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรแล้ว ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการถูกปรักปรำจนถูกเลิกจ้าง จำเลยไม่ต้องรับผิดหากการเลิกจ้างเป็นผลจากการสอบสวนภายใน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ให้การเท็จต่อพนักงานสอบสวน เพื่อปรักปรำโจทก์ให้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนร้ายที่ลักเงิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ของธนาคารไป เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้ธนาคารหลงเชื่อว่าโจทก์มีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจและเลิกจ้างโจทก์ โดยเรียกร้องค่าเสียหายเนื่องจากการที่ต้องถูกเลิกจ้าง แต่ทางพิจารณาได้ความว่าหลังเกิดเหตุธนาคารได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน คณะกรรมการมีความเห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจ และคณะกรรมการพิจารณาวินัยและอุทธรณ์ของธนาคารได้พิจารณาอีกชั้นหนึ่งแล้วมีมติเช่นเดียวกับคณะกรรมการสอบสวน โดยเสนอความเห็นให้เลิกจ้างโจทก์ รองประธานกรรมการบริหารของธนาคารจึงอนุมัติให้เลิกจ้างโจทก์แสดงว่าการที่ธนาคารเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากธนาคารรับฟังข้อเท็จจริงและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนและคณะกรรมการพิจารณาวินัยและอุทธรณ์ของธนาคารเอง หาได้เกี่ยวข้องกับคำให้การของจำเลยทั้งสี่ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนในสำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้ต้องหาไม่ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะเหตุที่ถูกธนาคารเลิกจ้างจึงมิได้เกิดจากการที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อพนักงานสอบสวน
แม้จำเลยทั้งสี่จะให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนของธนาคารทำนองเดียวกับที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องเลยว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์โดยให้การเท็จต่อคณะกรรมการสอบสวนของธนาคารอันเป็นการให้การคนละกรณีกัน จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาถึงเพราะเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา แต่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องถูกธนาคารเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าค่าเสียหายตามคำฟ้องมิได้เป็นผลของการที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อพนักงานสอบสวนกรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นความเท็จหรือไม่และไม่อาจถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามคำฟ้องเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
แม้จำเลยทั้งสี่จะให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนของธนาคารทำนองเดียวกับที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องเลยว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์โดยให้การเท็จต่อคณะกรรมการสอบสวนของธนาคารอันเป็นการให้การคนละกรณีกัน จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาถึงเพราะเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา แต่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องถูกธนาคารเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าค่าเสียหายตามคำฟ้องมิได้เป็นผลของการที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อพนักงานสอบสวนกรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นความเท็จหรือไม่และไม่อาจถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามคำฟ้องเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากเหตุผลความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่จำเป็นต้องมีการสอบสวนก่อน
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุเพียงพอให้เลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ เมื่อฟังได้ว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ละเลยไม่ตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จำเลยที่ 1 จึงเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุผลเพียงพอ ลำพังแต่ไม่มีการสอบสวนก่อนไม่ทำให้การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำล่วงเกินทางเพศและฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท
โจทก์อาศัยอำนาจหน้าที่ของโจทก์ชักชวนพนักงานหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา ออกไปเที่ยวเตร่กับโจทก์ ในเวลาค่ำคืนนอกเวลางาน หากพนักงานหญิงไม่ไป โจทก์จะกลั่นแกล้งเสนอความเห็นไม่ยอมให้พนักงานผู้นั้นผ่านการทดลองงาน หรือการที่โจทก์ชักชวนให้ผู้สมัครงานหญิงไปรับประทานอาหารและฟังเพลงในช่วงเวลาที่จะรับบุคคลดังกล่าวเข้าทำงาน ถือว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะกระทำการล่วงเกินทางเพศต่อพนักงานหญิงผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้สมัครงานหญิง หาใช่ว่าโจทก์กระทำไปตามวิสัยของชายเจ้าชู้เท่านั้น การกระทำของโจทก์นอกจากจะเป็นการประพฤติผิดศีลธรรมหรือจารีตประเพณีอันดีงามของสังคมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลของจำเลย ทำให้พนักงานขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน การฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานของโจทก์จึงเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) และโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง ย่อมเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำการล่วงเกินทางเพศและฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท ถือเป็นกรณีร้ายแรงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นว่าพนักงานทดลองงานจะผ่านการทดลองงานหรือไม่ การที่โจทก์อาศัยอำนาจหน้าที่ชักชวนพนักงานหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาออกไปเที่ยวเตร่กับโจทก์ในเวลาค่ำคืนนอกเวลางาน หากไม่ไป โจทก์จะเสนอความเห็นไม่ยอมให้ผ่านการทดลองงาน หรือโจทก์ชักชวนให้ผู้สมัครงานหญิงไปรับประทานอาหารและฟังเพลงในช่วงเวลาที่จะรับบุคคลดังกล่าวเข้าทำงาน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ที่จะกระทำการล่วงเกินทางเพศนั่นเอง นอกจากจะเป็นการประพฤติผิดศีลธรรมหรือจารีตประเพณีอันดีงามของสังคมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลของจำเลยและความเจริญของกิจการ โดยทำให้พนักงานที่ไม่ยอมกระทำตามความประสงค์โจทก์และถูกโจทก์กลั่นแกล้งขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน การฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานของโจทก์จึงเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสตามผลประกอบการและผลงานของพนักงาน นับแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจำเลยไม่ได้จ่ายโบนัสเพราะผลประกอบการขาดทุน อุทธรณ์โจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับโบนัสในปี 2542 เพราะในปีดังกล่าวจำเลยมีผลกำไรในการประกอบการเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสตามผลประกอบการและผลงานของพนักงาน นับแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจำเลยไม่ได้จ่ายโบนัสเพราะผลประกอบการขาดทุน อุทธรณ์โจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับโบนัสในปี 2542 เพราะในปีดังกล่าวจำเลยมีผลกำไรในการประกอบการเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9778-9835/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้าง การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเรื่องวันจ่ายค่าจ้าง และผลต่อการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างจะกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่การที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจำตลอดมา ย่อมถือได้ว่านายจ้างตกลงกับลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกำหนดการจ่ายค่าจ้างจากวันสิ้นเดือนเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน โดยปริยาย ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
วันที่ครบกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมายของจำเลยในเดือนมิถุนายน 2541 คือวันที่ 29 มิถุนายน 2541 หากจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จำเลยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อย่างช้าที่สุดต้องภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง
คณะกรรมการบริหารโรงงานน้ำตาลของจำเลยซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประชุมแล้วมีมติให้เลิกจ้างพนักงานในโรงงานน้ำตาล รวมทั้งพนักงานในโรงงานน้ำตาลลำปางคือโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 58 การที่จำเลยได้ส่งประกาศเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลของจำเลยกับหนังสือคำสั่งให้ทางโรงงานน้ำตาลลำปางทำหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางเป็นรายบุคคลทางโทรสารไปยังโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางในเวลาบ่ายของวันประชุมดังกล่าวเพื่อแจ้งให้พนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางทราบ การกระทำเช่นนี้มิใช่เป็นการที่จำเลยส่งโทรสารบอกกล่าวเลิกจ้างไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 โดยตรงเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการที่จำเลยมอบหมายให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 การบอกกล่าวเลิกจ้างในลักษณะนี้เป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าอันจะมีผลต่อเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ได้ทราบการแสดงเจตนาบอกเลิกจ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สั่งหรือปิดประกาศหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานเป็นรายบุคคลให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 รับทราบ และมีการปิดประกาศสำเนาประกาศเลิกจ้างไว้ที่หน้าโรงงานก่อนเลิกงานเพียง 5 นาที โดยไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 แต่สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางของจำเลยและหลังจากโจทก์ที่ 1 ได้รับทราบหนังสือประกาศเลิกจ้างตามเอกสารซึ่งจำเลยได้ส่งทางโทรสารถึงโจทก์ที่ 1 โดยตรงแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็ได้สั่งให้นำเอกสารดังกล่าวไปปิดประกาศ ถือได้ว่าการแสดงเจตนาบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ก่อนเลิกงานในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงมีผลให้เป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปในวันที่ 29 กรกฎาคม 2541
วันที่ครบกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมายของจำเลยในเดือนมิถุนายน 2541 คือวันที่ 29 มิถุนายน 2541 หากจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จำเลยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อย่างช้าที่สุดต้องภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง
คณะกรรมการบริหารโรงงานน้ำตาลของจำเลยซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประชุมแล้วมีมติให้เลิกจ้างพนักงานในโรงงานน้ำตาล รวมทั้งพนักงานในโรงงานน้ำตาลลำปางคือโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 58 การที่จำเลยได้ส่งประกาศเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลของจำเลยกับหนังสือคำสั่งให้ทางโรงงานน้ำตาลลำปางทำหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางเป็นรายบุคคลทางโทรสารไปยังโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางในเวลาบ่ายของวันประชุมดังกล่าวเพื่อแจ้งให้พนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางทราบ การกระทำเช่นนี้มิใช่เป็นการที่จำเลยส่งโทรสารบอกกล่าวเลิกจ้างไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 โดยตรงเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการที่จำเลยมอบหมายให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 การบอกกล่าวเลิกจ้างในลักษณะนี้เป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าอันจะมีผลต่อเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ได้ทราบการแสดงเจตนาบอกเลิกจ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สั่งหรือปิดประกาศหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานเป็นรายบุคคลให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 รับทราบ และมีการปิดประกาศสำเนาประกาศเลิกจ้างไว้ที่หน้าโรงงานก่อนเลิกงานเพียง 5 นาที โดยไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 แต่สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางของจำเลยและหลังจากโจทก์ที่ 1 ได้รับทราบหนังสือประกาศเลิกจ้างตามเอกสารซึ่งจำเลยได้ส่งทางโทรสารถึงโจทก์ที่ 1 โดยตรงแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็ได้สั่งให้นำเอกสารดังกล่าวไปปิดประกาศ ถือได้ว่าการแสดงเจตนาบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ก่อนเลิกงานในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงมีผลให้เป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปในวันที่ 29 กรกฎาคม 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9518/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุอันสมควรที่นายจ้างเลิกจ้างได้ แม้เหตุนั้นมิได้เกิดจากการกระทำผิดของลูกจ้าง
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจาก การกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่การกระทำความผิดของลูกจ้างก็ได้
ช.กับพวกเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ช.กล่าวหาโจทก์ว่าปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขานุการสหภาพแรงงาน โจทก์ไม่พอใจ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างเคยเรียกโจทก์และ ช.กับพวกไปตักเตือนให้เลิกแล้วต่อกันเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แต่ตกลงกันไม่ได้ ทำให้พนักงานภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย เมื่อโจทก์ได้ฟ้อง ช.กับพวกต่อศาลในข้อหาหมิ่นประมาทแล้ว พนักงานในบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ก็จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมทำงาน ก่อให้เกิดความไม่สงบ รวมทั้งเป็นปัญหาและอุปสรรคใน การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ชักชวนให้พนักงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย หรือ จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ทำงานอันเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ความไม่สงบรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งของโจทก์และ ช.กับพวก และไม่ทราบว่าจะยุติลงเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์รวมทั้ง ช. กับพวกเพราะความจำเป็นอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าวเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ดำรงคงอยู่ต่อไป นับได้ว่ามีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ช.กับพวกเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ช.กล่าวหาโจทก์ว่าปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขานุการสหภาพแรงงาน โจทก์ไม่พอใจ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างเคยเรียกโจทก์และ ช.กับพวกไปตักเตือนให้เลิกแล้วต่อกันเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แต่ตกลงกันไม่ได้ ทำให้พนักงานภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย เมื่อโจทก์ได้ฟ้อง ช.กับพวกต่อศาลในข้อหาหมิ่นประมาทแล้ว พนักงานในบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ก็จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมทำงาน ก่อให้เกิดความไม่สงบ รวมทั้งเป็นปัญหาและอุปสรรคใน การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ชักชวนให้พนักงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย หรือ จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ทำงานอันเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ความไม่สงบรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งของโจทก์และ ช.กับพวก และไม่ทราบว่าจะยุติลงเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์รวมทั้ง ช. กับพวกเพราะความจำเป็นอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าวเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ดำรงคงอยู่ต่อไป นับได้ว่ามีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9450/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกโดยสมัครใจของลูกจ้าง แม้ถูกตำหนิและสอบถามเรื่องพฤติกรรมส่วนตัว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่ อ. และ ล. ซึ่งมีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ทราบเรื่องที่โจทก์ออกไปเที่ยวเตร่กับลูกค้าชาวต่างประเทศและยืมเงินจากลูกค้า แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือทำให้จำเลยเสียหาย แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ชอบที่บุคคลทั้งสองจะตำหนิโจทก์ที่มีพฤติการณ์ดังกล่าวในฐานะผู้บังคับบัญชาซึ่งจะต้องปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความประพฤติที่เหมาะสมได้ แม้บุคคลทั้งสองจะตำหนิโจทก์รุนแรงไปบ้างและกล่าวให้โจทก์พิจารณาตัวเองก็หาเป็นการข่มขู่โจทก์แต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่ อ. และ ล. หลอกโจทก์ว่าลูกค้าแจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์ยืมเงินจากลูกค้าก็เป็นวิธีการแสวงหาข้อเท็จจริงจากโจทก์ว่า โจทก์ได้ยืมเงินจากลูกค้าจริงตามที่บุคคลทั้งสองรับทราบเรื่องหรือไม่ จึงหาเป็นการหลอกลวงให้โจทก์ลาออกไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์เลือกที่จะลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นการลาออกโดยความสมัครใจของโจทก์เอง หาใช่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9380/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: การนำเอกสารข้อมูลธุรกิจออกนอกบริษัท ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง แต่ศาลแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ย
โจทก์มีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางธุรกิจของจำเลยนำเอกสารซึ่งข้อความในเอกสารเป็นศัพท์เฉพาะที่โจทก์แปลจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยเพื่อความสะดวกในการลงบัญชีและเพื่อชี้แจงหรือตอบคำถามของผู้สอบบัญชีเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารสำคัญตามกฎหมายที่มีไว้สำหรับแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้เอกสารจะมีราคาทุนและราคาสินค้าอันเป็นข้อมูลทางธุรกิจการค้าของจำเลยที่ปกปิดมิให้บุคคลภายนอกล่วงรู้ แต่โจทก์ก็มิได้นำเอกสารดังกล่าวนี้ไปเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอก การที่โจทก์นำเอกสารดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นออกไปนอกบริษัทจำเลยเพื่อประกอบการศึกษางานโดยมิได้นำไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)
ศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้มีคำขอมาในคำฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา52 ซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้มีคำขอมาในคำฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา52 ซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31