พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีการคืนทรัพย์และผลกระทบต่อการชำระหนี้
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา238ประกอบด้วยมาตรา247 โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้วผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวคู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใดๆให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคสามและกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทนเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมแม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยความสมัครใจและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อ
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 8 ระบุว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดยอมให้ถือว่าสัญญานี้เลิกกันโดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวก่อนและข้อ 10 ระบุว่า ถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งใดอย่างใด ไม่ให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันการผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งอื่นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาเกือบถึง 1 ปี และครั้งสุดท้ายชำระไม่ครบจำนวนดังกล่าว โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อรวมทั้งจำนวนเงินค่าเช่าซื้อแต่ละงวดตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน
หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์และราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดภายใน 7 วัน ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายดังกล่าวเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใด เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้ว นับแต่วันที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้
กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันด้วยความสมัครใจของคู่สัญญา จึงมิใช่เป็นการเลิกสัญญากันโดยผลของสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือผิดสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่สัญญาเลิกกันด้วยเหตุอื่นคู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดค่าเช่าซื้ออยู่ โดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ซึ่งระงับไปแล้ว
หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์และราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดภายใน 7 วัน ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายดังกล่าวเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใด เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้ว นับแต่วันที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้
กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันด้วยความสมัครใจของคู่สัญญา จึงมิใช่เป็นการเลิกสัญญากันโดยผลของสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือผิดสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่สัญญาเลิกกันด้วยเหตุอื่นคู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดค่าเช่าซื้ออยู่ โดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ซึ่งระงับไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผลของการยึดรถ และการเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ8ระบุว่าถ้าจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดยอมให้ถือว่าสัญญานี้เลิกกันโดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวก่อนและข้อ10ระบุว่าถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันกรณีที่จำเลยที่1ผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งใดอย่างใดไม่ให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันการผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งอื่นก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาเกือบถึง1ปีและครั้งสุดท้ายชำระไม่ครบจำนวนดังกล่าวโจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิทักท้วงพฤติการณ์แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อรวมทั้งจำนวนเงินค่าเช่าซื้อแต่ละงวดตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญอีกต่อไปหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387เสียก่อน หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์และราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดภายใน7วันตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายดังกล่าวเท่านั้นถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาจากจำเลยที่1โดยจำเลยที่1ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใดเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่1ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันด้วยความสมัครใจของคู่สัญญาจึงมิใช่เป็นการเลิกสัญญากันโดยผลของสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุใดจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือผิดสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใดแต่เป็นกรณีที่สัญญาเลิกกันด้วยเหตุอื่นคู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดค่าเช่าซื้ออยู่โดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ9ซึ่งระงับไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประกันสัญญาเช่าเมื่อสัญญาเลิกก่อนกำหนด และสิทธิหักกลบลบหนี้
แม้สัญญาเช่าตึกแถวข้อ 2 จะได้ระบุว่า โจทก์ผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันความเสียหายแก่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วก็ตาม แต่ในกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าหรือจำเลยผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่า 2 ปีตามสิทธิที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมต้องคืนเงินประกันความเสียหายนั้นให้แก่จำเลยผู้เช่าหลังจากหักเงินประกันดังกล่าวชำระหนี้ค่าน้ำประปาไฟฟ้า โทรศัพท์ และความเสียหายของตึกแถวที่แล้วด้วย เพราะเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของจำเลยที่วางไว้แก่โจทก์เพียงเพื่อประกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการเช่าดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าตึกแถวต่อกันแล้ว โจทก์ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินประกันความเสียหายดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่า และเมื่อปรากฏว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะขอให้หักกลบลบหนี้ดังกล่าวกับเงินประกันความเสียหายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัดไม่กำหนดระยะเวลา: เลิกสัญญา-หักบัญชี = เริ่มนับอายุความ
บัญชีเดินสะพัดที่ ส.ทำกับโจทก์เป็นบัญชีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืน ดังนั้นแม้บัญชีจะหยุดเดินสะพัดโดยที่ ส. มิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากโจทก์อีกเลยจนถึงวันฟ้องคดีนับเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้วก็ตามแต่เมื่อโจทก์และ ส. ยังไม่ได้ตกลงเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับ ส. ก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ยกเลิกหรือสิ้นสุดลงไม่ สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันเสียแล้วเท่านั้น
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึง ส. วันที่ 30 เมษายน 2534 และเรียกร้องให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือทวงถาม ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่โจทก์ผ่อนผันให้คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 4 ธันวาคม 2535 ยังไม่เกิน 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึง ส. วันที่ 30 เมษายน 2534 และเรียกร้องให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือทวงถาม ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่โจทก์ผ่อนผันให้คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 4 ธันวาคม 2535 ยังไม่เกิน 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเข้าหุ้นส่วนยังไม่เลิก แม้ฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายต้องบอกเลิกก่อน
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการฝ่ายละครึ่ง ถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1026 แล้ว แม้ฝ่ายหนึ่งจะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลง ก็หาทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเสียไปไม่
แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุน จำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อน เมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์ สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุน จำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อน เมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์ สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเข้าหุ้นส่วนและการเลิกสัญญา: แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ส่งเงินตามสัญญา ก็ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าการร่วมลงทุนและการดำเนินกิจการจะขาดทุนหรือกำไรทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะรับผิดชอบร่วมกันคนละครึ่ง และการชำระเงิน ค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้เป็นไปตาม สัญญาร่วมลงทุนฉบับนี้ ซึ่งหมายถึงให้ฝ่ายโจทก์จำเลยชำระคนละครึ่ง แสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างให้สัญญาซึ่งกันและกันว่าต่างฝ่ายจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝ่ายละครึ่ง ถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกัน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1026 แล้ว แม้ฝ่ายหนึ่ง จะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงกันมาลงหุ้น ก็ไม่ทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนเสียไปสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ขัดต่อมาตรา 1026
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเข้าหุ้นส่วนและการเลิกสัญญา: แม้ฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายต้องบอกเลิกก่อนจึงมีผล
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการฝ่ายละครึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1026แล้วแม้ฝ่ายหนึ่งจะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงก็หาทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเสียไปไม่ แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อนเมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายและการปรับตามสัญญาเมื่อผู้ขายส่งมอบสิ่งของไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน
ตามสัญญาให้ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาเมื่อผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของตามที่ตกลงหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดแต่ไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบซึ่งเป็นสิทธิของผู้ซื้อที่จะเลิกหรือจะให้ปฏิบัติตามสัญญาก็ได้ เมื่อผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาในทันทีแต่ให้โอกาสแก่ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาก็ย่อมได้เพราะผู้ซื้อยังมีความประสงค์จะซื้อสิ่งของตามสัญญานั้นอยู่เป็นหน้าที่ของผู้ขายจะต้องนำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อจนครบถ้วนการที่ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับตามสัญญาในอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาก็เป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย: การผิดนัดชำระหนี้, สิทธิเลิกสัญญา, อายุความการฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำ
ภรรยาฟ้องเรียกเงินมัดจำค่าซื้อที่ดินจากผู้จะขายตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่ใช่การ จัดการสินสมรส ไม่อยู่ในข้อจำกัดที่ต้องได้รับ ความยินยอมจากสามีก่อน สัญญากำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนเมื่อฝ่ายหนึ่ง ผิดนัดอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ เลิกสัญญาได้โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว การ ฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่อง อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในกำหนด อายุความ10ปี