พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ล่าช้า: ความบกพร่องในการขนส่งทั่วไปไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยห่อคำฟ้องอุทธรณ์แล้วส่งให้จำเลยทางรถยนต์โดยสารประจำทาง ไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ผิดปกติวิสัยเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง ที่จำเลยไม่ได้รับห่อคำฟ้องอุทธรณ์ภายในกำหนดโดยอ้างว่าเป็นความผิดของพนักงานบริษัทรถยนต์โดยสารที่ค้นหาหรือส่งห่อคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยล่าช้าพฤติการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้เสมอในการขนส่งทั่วไป ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ ป.วิ.พ. โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร: ต้องไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ภาษีอากรครอบคลุม และเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถอ้างได้
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: ความรับผิดของผู้รับจ้างหลังส่งมอบงานงวดแรกก่อนงานแล้วเสร็จสมบูรณ์ และผลของการเกิดเหตุสุดวิสัย
ตามสัญญาจ้างข้อ 6 ระบุว่า เมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้าง... ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 12 เดือนนับแต่วันที่ได้รับมอบงาน... ถ้างานที่จ้างเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ข้อ 7 ระบุว่าเนื่องจากพันธะที่มีต่อกันตามสัญญานี้... บรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้น... ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น แต่ถ้ามีอันตรายหรือความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นแก่สิ่งเหล่านั้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยประการใดก็ตาม ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านั้น และจัดหามาใหม่หรือแก้ไขให้คืนดี ทั้งนี้ภายใต้พันธะที่มีอยู่ในสัญญาอันยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ภายหลังเวลาส่งมอบซึ่งผู้รับจ้างจำต้องรับผิดเพียงความบกพร่องและเพียงความเสียหายที่มีขึ้นภายในระยะเวลาที่กล่าวในสัญญาข้อ 6นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 4 ระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับค่าจ้างเป็นงวด ๆรวม 6 งวด เมื่อผู้ว่าจ้างตรวจรับงานที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแต่ละงวดแล้ว ผู้ว่าจ้างจะออกใบตรวจรับงานให้ผู้รับจ้างไว้เป็นหลักฐาน และได้กำหนดวันเริ่มงานและให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ไว้ในสัญญาข้อ 5 อีกด้วย จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยผู้รับจ้างย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้าง การที่จำเลยทำงานเสร็จแต่ละงวดนั้นถ้างานงวดสุดท้ายยังไม่เสร็จ จะถือว่างานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาไม่ได้ เพราะสัญญาได้กำหนดให้จำเลยทำงานให้แล้วเสร็จทั้งหกงวด สำหรับข้อความในสัญญาข้อ 7 ที่ยกเว้นความรับผิดของจำเลยว่า เว้นแต่ภายหลังการส่งมอบนั้นย่อมหมายถึงการส่งมอบงานงวดสุดท้ายจึงจะเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ดังนี้ เมื่อเกิดน้ำท่วมระหว่างที่จำเลยผู้รับจ้างทำงานที่ค้างอีกสามงวด ทำให้งานส่วนที่ตรวจรับแล้วเสียหาย จำเลยจึงยังต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บรักษาบัญชีนอกสถานที่ประกอบธุรกิจ และการอ้างเหตุสุดวิสัยเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์เก็บเอกสารหลักฐานบัญชีของโจทก์ไว้ที่อื่น ซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจการค้าของโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 13 โจทก์จะยกเอาเหตุบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหาย อันเกิดจากการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อกฎหมายของโจทก์มาอ้างเป็นเหตุสุดวิสัย เพื่อมิให้เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 71(1) หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขนส่งทางทะเล: ผลกระทบต่อความรับผิดชอบทางสัญญา
บริษัท บ.จำกัดจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนสินค้าไม้ซุงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทย ในการขนส่งสินค้าครั้งนี้บริษัท บ.จำกัดได้ประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ วิธีการขนส่งสินค้ากระทำโดยขนสินค้าไม้ซุงบรรทุกเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2 ชื่อ "สปัน" ซึ่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การใช้ทางทะเล เมื่อเรือสปันแล่นมาถึงบริเวณทะเลที่เกิดเหตุเกิดมรสุมคลื่นลมจัด และมีของแข็งภายนอกเรือมากระแทกเรือจนเรือรั่วและอัปปางลง ทั้งนี้ แม้กัปตันเรือของจำเลยที่ 2 จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือดังกล่าวได้ เหตุเรือรั่วและอัปปางจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยหชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยหชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยทำให้เรืออับปาง ผู้รับขนส่งไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
บริษัท บ. จำกัดจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนสินค้าไม้ซุงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทย ในการขนส่งสินค้าครั้งนี้บริษัท บ. จำกัดได้ประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ วิธีการขนส่งสินค้ากระทำโดยขนสินค้าไม้ซุงบรรทุกเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2ชื่อ "สปัน" ซึ่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การใช้ทางทะเลเมื่อเรือสปันแล่นมาถึงบริเวณทะเลที่เกิดเหตุเกิดมรสุมคลื่นลมจัดและมีของแข็งภายนอกเรือมา กระแทก เรือจนเรือรั่วและอัปปางลง ทั้งนี้แม้กัปตันเรือของจำเลยที่ 2 จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางหลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือดังกล่าวได้ เหตุเรือรั่วและอัปปางจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ตามป.พ.พ. มาตรา 8 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ กรณีเพลิงไหม้โกดัง: พิจารณาความระมัดระวังและเหตุสุดวิสัย
โกดังเก็บสินค้าของจำเลยที่เก็บรักษาทรัพย์สินที่รับฝาก มีผนังเป็นคอนกรีต หลังคาโครงเหล็กมุงสังกะสี สถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินที่รับฝากในลักษณะอย่างนี้มีสภาพเหมาะสมกับการเก็บรักษาสินค้าที่รับฝากโดยมีบำเหน็จแล้ว ส่วนการดูแลรักษาทรัพย์สินที่รับฝากนั้นจำเลยมีเครื่องดับเพลิงที่ใช้น้ำยาเคมี ขนาดสูง 2 ฟุต ประมาณ10 เครื่อง แม้จำเลยมิได้จัดให้มีสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ก็ตามแต่จำเลยก็มีพนักงานเฝ้าดูแลโกดังทั้งกลางวันกลางคืน เช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดั่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสอง แล้ว ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทำกิจการรับฝากสินค้าจากบริษัทต่าง ๆหลายแห่ง และทำมานานสิบกว่าปีแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้รับฝากที่เป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใดจึงต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรต้องใช้ในกิจการเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม นั้นข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด: เหตุผลความพลั้งเผลอของทนายความไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไม่ทันกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์เพราะความพลั้งเผลอของทนายความ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมหลังทนายจำเลยมาสาย และการฟ้องขับไล่โดยอ้างกรรมสิทธิ์
การที่ทนายจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเพราะจงใจกระทำผิดกฎหมายโดยขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย และการที่ทนายจำเลยไปถึงศาลชั้นต้นช้า กว่าเวลานัดถึง40 นาที แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ศาลชั้นต้นยังอ่านรายงานกระบวนพิจารณาไม่จบก็ตาม ก็ไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิม และเจ้าของเดิม ขายให้โจทก์แล้ว เป็นการฟ้องโดยอาศัยความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท มิใช่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่า อันจะต้องใช้สัญญาเช่าเป็นพยานหลักฐานในคดี ฉะนั้นปัญหาที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ปิดอากรแสตมป์เสียเอง โดยไม่ส่งไปให้เจ้าหน้าที่สรรพากรปรับ จึงไม่ใช่ปัญหาสำคัญ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย-การงดสืบพยาน และผลของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอากรแสตมป์ในคดีขับไล่
เหตุสุดวิสัยหมายถึงเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นหรือให้ผลพิบัติโดยไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้ทั้งผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลนั้นในฐานะเช่นนั้น การที่ทนายจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเพราะทนายจำเลยจงใจกระทำผิดกฎหมายโดยขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย คดีฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิมและเจ้าของเดิมขายให้โจทก์แล้ว เป็นการฟ้องโดยอาศัยความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่า มิใช่กรณีที่จะต้องใช้สัญญาเช่าเป็นพยานหลักฐานในคดี การที่สัญญาเช่าจะปิดอากรแสตมป์โดยไม่ชอบทำให้รับฟังไม่ได้หรือไม่จึงไม่ใช่สาระสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีอย่างใด.