คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 กรณีมีผู้รับมรดกหลายคนและมีการเสียชีวิต
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายในประมวลแพ่งฯ มาตรา 1357 ใช้เมื่อความจริงไม่ปรากฏเมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏฟังได้ก็พึงถือตามข้อเท็จจริงนั้น
การที่จำเลยและโจทก์และทายาทอื่นรวม 14 คนมีชื่อในโฉนดแต่ พ.ศ.2465 เวลาจะแบ่งที่ในโฉนดย่อมต้องแบ่งตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ.121 มาตรา 1 ข้อ 1(2) คือ 'ถ้าบุตรบางคนมรณภาพฯลฯ ให้เอาส่วนของบุตรที่มรณภาพแบ่งให้แก่หลานผู้มรณภาพซึ่งเป็นบุตรของบุตรผู้มรณภาพนั้นเหมือนอย่างว่าเป็นมรดกของบุตรผู้นั้นเองต่อๆ ลงไป ฯลฯ'

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดก: หนังสือถึงนายอำเภอถือเป็นสัญญาที่ผูกพันได้
โจทก์จำเลยร่วมกันทำหนังสือถึงนายอำเภอ ขอให้จัดการทำนิติกรรมแบ่งที่ดินซึ่งเป็นมรดกตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ เป็นสัญญาประณีประนอมยอมความกันโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 850.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดก: การตกลงแบ่งที่ดินโดยชอบตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยร่วมกันทำหนังสือถึงนายอำเภอขอให้จัดการทำนิติกรรมแบ่งที่ดินซึ่งเป็นมรดกตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำเรื่องแบ่งมรดก: ศาลพิพากษาแล้ว แม้ไม่ได้อุทธรณ์ ก็ถือเป็นคำพิพากษาเด็ดขาด
ได้ความว่าเดิมโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดิน 3 โฉนดจากจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งที่ดินสองโฉนดตามขอ ส่วนที่ดินอีกโฉนดหนึ่งที่โจทก์ขอแบ่งนั้น จำเลยให้การว่าหมายเลขโฉนดมิใช่หมายเลขดั่งที่โจทก์ระบุมาในฟ้อง โจทก์ทราบแล้วมิได้ขอแก้ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยอย่างไร ศาลชั้นต้นจึงไม่พิพากษาให้แบ่งเพราะจะเป็นการเกินคำขอ โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขึ้นอีกขอให้แบ่งที่ดินตามหมายเลขโฉนดที่จำเลยให้การระบุไว้ไม่ตรงกับที่โจทก์ระบุในฟ้องคดีแรกโดยอ้างว่าคดีก่อนโจทก์อ้างเลขโฉนดผิดไปและมิได้ขอแก้ฟ้อง เช่นนี้ถือว่าฟ้องของโจทก์ในคดีเป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนและคดีนี้คู่ความเป็นคนคนเดียวกัน พิพาทกันเรื่องขอแบ่งมรดกที่ดินแปลงพิพาทนี้แปลงเดียวกันนั่นเอง หากโจทก์ฟ้องอ้างเลขโฉนดผิดไป ศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเด็ดขาดในเรื่องการแบ่งไม่ได้ เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาไม่แบ่งนั้นเป็นคำพิพากษาแล้วและถ้าไม่เป็นที่พอใจของคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายนั้นย่อมอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปได้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องอีกตาม ป.วิ.แพ่ง ม.148.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำเรื่องแบ่งมรดก: ศาลพิพากษาแล้ว แม้มิได้อุทธรณ์ ก็ถือเป็นคำพิพากษาเด็ดขาด
ได้ความว่าเดิมโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดิน 3 โฉนดจากจำเลยศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งที่ดินสองโฉนดตามขอส่วนที่ดินอีกโฉนดหนึ่งที่โจทก์ขอแบ่งนั้นจำเลยให้การว่าหมายเลขโฉนดมิใช่หมายเลขดั่งที่โจทก์ระบุมาในฟ้องโจทก์ทราบแล้วมิได้ขอแก้ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยอย่างไรศาลชั้นต้นจึงไม่พิพากษาให้แบ่งเพราะจะเป็นการเกินคำขอโจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขึ้นอีกขอให้แบ่งที่ดินตามหมายเลขโฉนดที่จำเลยให้การระบุไว้ไม่ตรงในฟ้องคดีแรกโดยอ้างว่าคดีก่อนโจทก์อ้างเลขโฉนดผิดไปและมิได้ขอแก้ฟ้องเช่นนี้ถือว่าฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนและคดีนี้คู่ความเป็นคนคนเดียวกัน พิพาทกันเรื่องขอแบ่งมรดกที่ดินแปลงพิพาทนี้แปลงเดียวกันนั่นเอง หากโจทก์ฟ้องอ้างเลขโฉนดผิดไปศาลชั้นต้นไม่แบ่งให้เพราะจะเป็นการเกินคำขอของโจทก์โจทก์พอใจมิได้อุทธรณ์จะว่าศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเด็ดขาดในเรื่องการแบ่งไม่ได้เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาไม่แบ่งนั้นเป็นคำพิพากษาแล้วและถ้าไม่เป็นที่พอใจของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายนั้นย่อมอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปได้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: สิทธิของทายาทแต่ละคน และหลักการแบ่งทรัพย์สินโดยรวม
โจทก์ฟ้องว่าขอแบ่งมรดกจากจำเลยครึ่งหนึ่งของมรดก มีทายาทคนหนึ่งร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยอ้างว่ามีส่วนได้ส่วนเสียตาม ก.ม.ตามทางพิจารณาปรากฏว่าเจ้ามรดกรายนี้มีทายาทรวมทั้งหมด 5 คนคือโจทก์ จำเลย ผู้ร้องสอดและทายาทอื่นอีก 2 คน ที่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ถือว่าการแบ่งทรัพย์มรดกรายนี้ต้องแบ่งให้เพียงเท่าที่คู่ความมีสิทธิควรจะได้จะแบ่งโดยเอาส่วนของทายาทอื่นไปให้ด้วยหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่ส่วนได้ของคู่ความในคดีนี้และการแบ่งเช่นนี้มิใช่เป็นการกันส่วนแห่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นตามความใน ป.พ.พ. ม.1749 ดังนั้นจะแบ่งเป็น 3 ส่วนโดยถือว่าทายาทอีก 2 คนฟ้องหรือร้องขึ้นมาอาจถูกยกอายุความฟ้องแบ่งมรดกหรือสิทธิอ้างอิงเหตุอื่นเป็นข้อต่อสู้อ้างอิงและไม่ให้ได้รับส่วนแบ่งหาได้ไม่ เพราะเหตุต่อสู้ผลของการต่อสู้ยังไม่ปรากฏมีขึ้นทั้งทายาทอาจตกลงแบ่งกันโดยดีหรือไม่ยกเหตุต่อสู้อะไรก็ได้จึงต้องแบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วนให้โจทก์จำเลยและผู้ร้องสอดได้คนละ 1 ส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การกระทำต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องสิทธิไม่ขาดอายุความ
เมื่อโจทก์จำเลยผู้เป็นทายาทได้ครอบครองที่มรดกร่วมกันมาแล้วเพียงเมื่อจำเลยห้ามน้องชายโจทก์มิให้เก็บผลไม้ในที่พิพาทได้สะดวก แต่ต่อนั้นก็ใช่ว่าโจทก์ยอมสงบไม่ยังคงติดตามให้คนเข้าเก็บและร้องต่อผู้ใหญ่บ้านกำนันให้จำเลยจัดการแบ่งให้เรื่อย ๆ มาจนมาฟ้องต่อเนื่องกันเช่นนี้ อายุความฟ้องของโจทก์ไม่ต้องบังคับตามอายุความ 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดกไม่เริ่มนับ หากมีการเรียกร้องสิทธิอย่างต่อเนื่อง แม้มีการครอบครองร่วมกัน
เมื่อโจทก์จำเลยผู้เป็นทายาทได้ครอบครองที่มรดกร่วมกันมาแล้ว เพียงเมื่อจำเลยห้ามน้องชายโจทก์มิให้เก็บผลไม้ในที่พิพาทได้สะดวกแต่ต่อนั้นก็ใช่ว่าโจทก์ยอมสงบไม่ยังคงติดตามให้คนเข้าเก็บและร้องต่อผู้ใหญ่บ้านกำนันให้จำเลยจัดการแบ่งให้เรื่อย ๆ มาจนมาฟ้องต่อเนื่องกันเช่นนี้ อายุความฟ้องของโจทก์ไม่ต้องบังคับตามอายุความ 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกโดยเจ้าหนี้และการแบ่งมรดกโดยทายาท
เมื่อได้ความว่าเจ้าหนี้ครอบครองที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกไว้ทำประโยชน์ต่างดอกเบี้ยตลอดมา โดยทายาทมิได้ครอบครองมรดกนั้นด้วย ดังนี้ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ครอบครองในนามของผู้ตายหรือครอบครองแทนทายาทของผู้+ร่วมกัน และอายุความที่เกี่ยวกับฟ้องขอให้แบ่งที่พิพาทระหว่างทายาทด้วยกันนั้นจึงไม่อยู่ในบังคับบท ม. 1754 (อายุความ 1 ปี)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยผู้ครอบครองทรัพย์แทนทายาท และผลของการไม่เรียกร้องมรดกต่ออายุความ
โจทก์ฟ้องขอส่วนแบ่ง 1 ใน 4 ศาลตัดสินให้ 1 ใน 7 ไม่มีฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ที่ปกครองทรัพย์มฤดกแทนน้องๆ น้องตายก็ยังคงปกครองต่อมา ทายาทของน้องฟ้องได้ไม่ถือว่าขาดอายุความ
of 35