พบผลลัพธ์ทั้งหมด 214 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินเมื่อทางเดินสาธารณะรวมอยู่ในโฉนด และการเปิดทางเดินใหม่ที่ใช้สอยได้สะดวก
ที่ดิน ทางเดิรสาธารณะซึ่งรวมเข้ามาอยู่ในโฉนดโดยอนุมัติของเจ้าพนักงานเปนสิทธิแก่เจ้าของ โฉนดมีทางเดิรใหม่พอสมควรแล้วไม่จำเปนต้องเปิดทางเดิรเก่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินหลังโฉนด: พยานบุคคลหักล้างเอกสารกรรมสิทธิ์ได้หรือไม่
ที่ดิน โอนให้โดยไม่มีข้อจำกัดหลังโฉนดลักษณพยาน พยานบุคคลจะสืบล้างพยานเอกสารได้เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเป็นสำคัญในการถือครองที่ดิน การใส่ชื่อผู้อื่นในโฉนดเพื่อลดค่าธรรมเนียม ไม่ถือเป็นการสละสิทธิ
ใส่ชื่อคนอื่นในโฉนดเพื่อกันให้เสียค่าธรรมเนียมน้อยต้องถือเจตนาเปนเกณฑ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของที่ดินในโฉนดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของเดิมมีสิทธิขอให้เพิกถอนได้
ที่ดิน ปกครองรวมกันเปลี่ยนชื่อในโฉนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดเจ้าพนักงานที่ดิน: ประเมินวันทำละเมิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่วันออกโฉนด
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยของจำเลยที่ 3 กระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การที่จะพิจารณาว่าเจ้าพนักงานที่ดินทำละเมิดอย่างไรจึงต้องพิจารณาฟ้องของโจทก์ทั้งฉบับ มิใช่พิจารณาเฉพาะการออกโฉนดให้แก่ผู้ครอบครองในขณะนั้น หรือการเพิกถอนการออกโฉนดซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำฟ้องโจทก์เท่านั้น เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าสำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน สาขาบ้านโฮ่ง กระทำการโดยประมาทออกโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่บริษัท ส. โดยไม่ชอบเพราะอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรและโจทก์ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาโดยสุจริต ต่อมาโฉนดที่ดินของโจทก์ถูกเพิกถอน โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของเจ้าพนักงานที่ดิน จึงแสดงว่า โจทก์ได้รับความเสียหายหลังจากที่โฉนดพิพาทถูกจำเลยที่ 1 เพิกถอน มิใช่ได้รับความเสียหายนับแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดในที่ดินพิพาท
สำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน สาขาบ้านโฮ่ง ออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยได้อาศัยแผนที่ภูมิประเทศของกรมแผนที่ทหารซึ่งมีมาตราส่วน 1 ต่อ 50,000 แต่ขณะที่จำเลยที่ 3 เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 3 ใช้ระวางแผนที่ภายถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1 ต่อ 4,000 ตรวจสอบ การออกโฉนดที่ดินแล้วเพิกถอนนั้น เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 มีส่วนผิดอยู่ แต่โจทก์ก็ยังไม่ได้รับความเสียหาย เพราะโจทก์ยังไม่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในขณะนั้น เหตุละเมิดจึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและถูกจำเลยที่ 3 เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทเพราะวันดังกล่าวโจทก์เพิ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 3 ครบองค์ประกอบฐานละเมิด เมื่อนับถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่ล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด หรือล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
สำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน สาขาบ้านโฮ่ง ออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยได้อาศัยแผนที่ภูมิประเทศของกรมแผนที่ทหารซึ่งมีมาตราส่วน 1 ต่อ 50,000 แต่ขณะที่จำเลยที่ 3 เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 3 ใช้ระวางแผนที่ภายถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1 ต่อ 4,000 ตรวจสอบ การออกโฉนดที่ดินแล้วเพิกถอนนั้น เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 มีส่วนผิดอยู่ แต่โจทก์ก็ยังไม่ได้รับความเสียหาย เพราะโจทก์ยังไม่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในขณะนั้น เหตุละเมิดจึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและถูกจำเลยที่ 3 เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทเพราะวันดังกล่าวโจทก์เพิ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 3 ครบองค์ประกอบฐานละเมิด เมื่อนับถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่ล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด หรือล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10759/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ และการได้มาซึ่งโฉนด
การที่ ซ. และครอบครัวเข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นเพราะกรมประชาสงเคราะห์ จัดสรรที่ดินของรัฐให้ราษฎรเข้ามาทำกิน แต่ ซ. จะได้สิทธิเป็นเจ้าของที่ดินนั้น จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11, 22 และ 26 กำหนดไว้อีกหลายประการ ทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองไม่ปรากฏว่า ซ. ได้สมัครเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองโพนพิสัยและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้วหรือไม่ อีกทั้ง ซ. กับ จ. ไม่ได้ยื่นคำร้องขอออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) ไว้ก่อน เจ้าหน้าที่ของนิคมสร้างตนเองโพนพิสัยจึงไม่ได้มาตรวจสอบว่าเข้าทำประโยชน์อยู่จริงหรือไม่ แม้โจทก์ทั้งสองจะอ้างใบเสร็จการเสียภาษีบำรุงท้องที่ของ ซ. กับ จ. เป็นพยานก็ไม่ใช่หลักฐานที่ยืนยันว่าผู้ชำระเงินได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอย่างแท้จริง เมื่อกรมประชาสงเคราะห์ยังไม่ได้ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) ให้ ซ. หรือ จ. ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นที่ดินของรัฐซึ่งรัฐสามารถนำมาจัดสรรใหม่ได้ แต่นิคมสร้างตนเองโพนพิสัยให้โอกาสจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทและครอบครองทำประโยชน์อยู่ในเวลานั้นเพียงรายเดียว อีกทั้งมีคุณสมบัติครบถ้วนสมัครเข้าเป็นสมาชิกก่อนรายอื่น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 สมัครเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองโพนพิสัยและยังครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ก็เพื่อให้รัฐออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) ให้ตนเองในฐานะหัวหน้าครอบครัว ไม่ใช่สวมสิทธิการทำกินของบิดามารดาแต่อย่างใด เมื่อกรมประชาสงเคราะห์ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 836 ให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำหนังสือดังกล่าวไปขอออกโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 3493 ตำบลปากคาด อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย (บึงกาฬ) เป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกตกทอดของ ซ. และ จ. จำเลยที่ 1 เจ้าของที่ดินจึงขอแบ่งแยกและโอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินแม้ไม่มีชื่อในโฉนด: ศาลฎีกายืนยันการยึดทรัพย์ได้หากได้สิทธิครอบครองมาโดยชอบ
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ที่ดินพิพาทยังเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ส. มารดาโจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมีเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นผู้ครอบครองตั้งแต่ก่อนที่ดินพิพาทจะเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินแล้ว แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันจะทำให้ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมโอนการครอบครองและส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขับไล่ไม่ได้ จากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเมื่อ ส. ได้สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่จำเลย และจำเลยได้เข้าครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อขายแล้ว จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 การครอบครองที่ดินพิพาทของ ส. หรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมสิ้นสุดลง ส. หรือโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่มีการไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วใส่ชื่อ ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นการออกโฉนดที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง และอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตาม ป. ที่ดิน มาตรา 61 และไม่เป็นเหตุให้สิทธิของจำเลยเหนือที่ดินพิพาทที่มีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์เสียไป การที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลย เพราะจำเลยไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่น่าจะถูกต้องเพราะเหตุที่ไม่มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทนั้น เนื่องจากเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองมาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจะทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย และเมื่อโฉนดที่ดินพิพาทออกโดยมิชอบ จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้หากจะไม่ดำเนินการยึดที่ดินพิพาทด้วยเหตุว่าไม่มีชื่อจำเลยในโฉนดที่ดินพิพาทแต่เพียงประการเดียวนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12639/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแนวเขตที่ดิน: โจทก์ซื้อโฉนดถูกต้อง จำเลยอ้าง น.ส.3 ทับที่ดินเดิม ศาลยืนตามโฉนด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่าโจทก์รับโอนที่ดินมาจาก ห. โดยไม่สุจริต โดยไม่ปรากฏว่าไม่สุจริตอย่างไร และทางนำสืบของจำเลยก็ไม่ปรากฏเรื่องนี้ ถือว่าคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทนี้
จำเลยให้การว่าจำเลยคัดค้านการขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ เนื่องจากเป็นที่ดินของจำเลย เป็นคำให้การที่ยืนยันว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตาม น.ส.3 ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ แม้จำเลยจะให้การด้วยว่า จำเลยกับมารดาร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้วก็ตาม เพราะจะขัดกับคำให้การที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่แรกแล้ว เพราะการครอบครองปรปักษ์จะต้องกระทำต่ออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาท จำเลยยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดที่ดินพิพาทของโจทก์ เท่ากับขอให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์นั่นเอง ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย เมื่อคดีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
จำเลยให้การว่าจำเลยคัดค้านการขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ เนื่องจากเป็นที่ดินของจำเลย เป็นคำให้การที่ยืนยันว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตาม น.ส.3 ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ แม้จำเลยจะให้การด้วยว่า จำเลยกับมารดาร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้วก็ตาม เพราะจะขัดกับคำให้การที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่แรกแล้ว เพราะการครอบครองปรปักษ์จะต้องกระทำต่ออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาท จำเลยยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดที่ดินพิพาทของโจทก์ เท่ากับขอให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์นั่นเอง ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย เมื่อคดีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023-2026/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินธรณีสงฆ์: ศาลเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินสงฆ์ แม้เจ้าของที่ดินเดิมจะได้รับโฉนดโดยชอบ
นอกจากคดีนี้แล้วปรากฏว่าศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกโฉนดในบริเวณรอบๆ องค์พระพุทธบาทไม่ชอบเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของผู้ร้องสอด เจ้าหน้าที่ของรัฐหาได้คำนึงถึงเขตพุทธาวาส สังฆาวาส อันเป็นที่ธรณีสงฆ์แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาพงศาวดารพระพุทธบาทแล้ว ทำให้เห็นศรัทธาของพระเจ้าทรงธรรมที่ทรงมีต่อองค์พระพุทธบาทอย่างแรงกล้า ทรงดั้นด้นเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีสภาพเป็นป่า การเสด็จพระราชดำเนินกระทำด้วยความยากลำบาก พระองค์มิได้ทรงย่อท้อแต่อย่างใด ดังนั้นที่พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการอุทิศถวายที่ดินที่มีสภาพเป็นป่าในขณะนั้นออกไปเป็นบริเวณโดยรอบหนึ่งโยชน์ (400 เส้น) นั้น จึงสมเหตุสมผล ส่วนที่ต่อมาความเจริญเข้ามาสู่ที่ดินดังกล่าว ประกอบกับผู้ร้องสอดไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงเป็นเหตุให้มีการรุกล้ำทั้งจากเอกชนและหน่วยราชการ รวมทั้งมีการออกโฉนดในที่ดินด้วย และเมื่อพิจารณาตำแหน่งที่ดินของโจทก์แล้ว จะเห็นได้ว่าอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดเพียง 20 เส้น จึงฟังได้ว่าเป็นที่ดินของผู้ร้องสอด แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในทำนองว่ามี พ.ร.ฎ. ในภายหลังเปลี่ยนสถานะที่ดินของผู้ร้องสอดไปแล้วเป็นเหตุให้ราษฎรสามารถมีกรรมสิทธิ์ได้นั้นก็ตาม แต่พระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่าพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น แม้จะออก พ.ร.ฎ. จริง ก็ไม่สามารถลบล้างพระบรมราชโองการได้ อีกทั้งที่ดินดังกล่าวอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดไม่มากเชื่อว่าผู้ร้องสอดสามารถดูแลได้ ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสี่เช่าอยู่อาศัยเพียงแต่ขณะที่มีการออกโฉนดทางเจ้าพนักงานมิได้แจ้งให้ผู้ร้องสอดทราบ จึงทำให้ผู้ร้องสอดไม่มีโอกาสคัดค้านการออกโฉนดดังกล่าว เมื่อการออกโฉนดดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ร้องสอดไม่ร้องขอให้เพิกถอน แต่เมื่อฟังได้ว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องสอด ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8637/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินของบุตรที่ได้มาจากการยกให้จากบิดา แม้มีชื่อผู้อื่นในโฉนด ไม่สามารถอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้
บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อและได้เข้าครอบครองตลอดมา แม้บิดาผู้ร้องจะเป็นคนต่างด้าวซึ่งตาม พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 นั้น คนต่างด้าวจะมีที่ดินได้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน แต่ก็ไม่ได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้คนต่างด้าวทำสัญญาซื้อขายที่ดินและมิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดิน เมื่อบิดาผู้ร้องซื้อและครอบครองที่ดินมาเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี บิดาผู้ร้องย่อมได้สิทธิครอบครอง การที่บิดาผู้ร้องมอบหมายให้ พ. ไปดำเนินการขอออกโฉนดที่ดิน พ. ก็เป็นเพียงผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาผู้ร้องเท่านั้น บิดาผู้ร้องยังคงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน เมื่อบิดาผู้ร้องยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องโดยส่งมอบการครอบครองแม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการให้ ผู้ร้องก็เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยสืบสิทธิต่อจากบิดาผู้ร้อง จึงเป็นการครอบครองที่ดินที่ตนมีสิทธิ แต่การครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะต้องเป็นการครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น เมื่อมิใช่เป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่น ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้