คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมคบคิดฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา: การกำหนดโทษและบทบาทของผู้กระทำ
ฟ้องว่าฆ่าคนตายโดยเจตนา ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้
จำเลยที่ 2 เอาไม้ตีนายหล่า และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 เข้าจับแขนนายหล่าไว้คนละข้างแล้วจำเลยที่1เอามีดเข้าแทงนายหล่า นายหล่าอยู่ได้ 2 คืนก็ตายเพราะแผลนั้น เหตุเกิดจากการทะเลาะกัน เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สมคบกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา แต่กำหนดโทษควรให้ลดหลั่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกง: กฎหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด, ศาลพิจารณาโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด บัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้น เป็นอันยกเลิกไปเสียแล้ว และที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับ ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้น อันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิด และเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฏหมายอาญาม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ประกอบด้วย ม.82.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกงจากกฎหมายลักษณะอาญาเป็นประมวลกฎหมายอาญาและผลกระทบต่อตัวการ-ผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มี ความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิดบัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้นเป็นอันยกเลิกไปเสียแล้วและที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้นอันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้วซึ่งประมวลกฎหมายอาญา ม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดและเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.341 ประกอบด้วย ม.86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วางเพลิงเผาต้นมะพร้าวผู้อื่น: การเปรียบเทียบโทษตามกฎหมายอาญาเดิมและประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยจุดไฟเผากิ่งไม้แห้งในไร่ของจำเลยและไฟได้ลุกลามไปไหม้ทรัพย์ของผู้เสียหาย ทั้งยังน่ากลัวจะไหม้โรงข้าวของผู้เสียหายอีกด้วย ความผิดของจำเลยขณะทำผิดต้องด้วย ก.ม.ลักษณะอาญา ม.187 วรรค 2 ไฟที่จำเลยจุดเผาขึ้นได้ไหม้เอาต้นมะพร้าว อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายตามข้อ (5) แห่ง ม.186 ด้วย โทษที่ควรลงแก่จำเลยจึง ต้องเอาโทษที่กำหนดไว้ใน ม.186 เป็นเกณฑ์ แต่ขณะนี้ ก.ม.ลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ใช้ประมวล ก.ม.อาญาแทน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตรงตาม ม.220 วรรคแรกแห่งประมวล ก.ม.อาญา แต่วรรค 2 ของมาตรานี้บัญญัติว่า ถ้าเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ใน ม.218 ให้ลงโทษดังที่บัญญัติไว้ใน ม.218 แต่ใน ม.218 ข้อ 1 ถึง 6 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวางเพลิงเผาต้นมะพร้าวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้เลย ฉะนั้นจะลงโทษตามวรรค 2 ของ ม.220 ประมวล ก.ม.อาญาไม่ได้ คงลงโทษจำเลยตาม ม.220 วรรคแรกซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเบากว่า ม.187 วรรคแรกของ ก.ม.ลักษณะอาญา ตาม ม.3 ประมวล ก.ม.อาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดีใหม่ เมื่อเคยต้องโทษปรับก่อนหน้า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเพิ่มโทษได้เฉพาะผู้เคยถูกจำคุก
โทษปรับเป็นโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 12 ทั้งเป็นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.18 ด้วย แต่การจะเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.92 (ก.ม.อาญา ม.72) นั้น จะกระทำได้เฉพาะผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเท่านั้น ผู้ที่เคยต้องโทษปรับจะเพิ่มโทษด้วยหาได้ไม่
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องโทษจำคุก 1 เดือนปรับ 150 บาท ฐานเล่นการพนันสลากกินรวบ แต่โทษจำคุกศาลให้รอการลงอาญาไว้ คงปรับแต่สถานเดียว เมื่อจำเลยมากระทำผิดในคดีนี้อีกภายในกำหนด ดังนี้จะเพิ่มโทษจำเลยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากสำนวนคดีอาญา ต้องมีคำพิพากษาลงโทษในคดีเดิมก่อน จึงจะนับโทษต่อได้
การขอนับโทษต่อ
หลักในเรื่องการนับโทษต่อจากสำนวนคดีเรื่องใด จะต้องปรากฏว่าคดีเรื่องนั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อนแล้ว เมื่อศาลพิพากษาคดีเรื่องหลังจึงจะนับโทษต่อจากกำหนดโทษในสำนวนเรื่องก่อนได้ เมื่อสำนวนคดีเรื่องก่อนยังไม่ปรากฏว่าได้พิพากษา(ยังเป็นคดีดำอยู่)จึงไม่มีโทษอันใดที่ศาลจะไปนับต่อให้ได้ แม้จะเป็นความจริงตามข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีเรื่องก่อนนั้นในเวลาต่อมา ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว แต่ในสำนวนคดีเรื่องหลังก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนคดีเรื่องก่อนได้พิพากษาลงโทษไปแล้วก่อนคดีเรื่องหลัง จึงนับโทษคดีเรื่องหลังต่อจากโทษในคดีเรื่องก่อนนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษมาตรฐานโดยไม่คำนึงถึงพฤติการณ์อาจไม่เป็นธรรม ศาลสูงกว่ามีอำนาจพิจารณาโทษใหม่ได้
การกำหนดอัตราโทษเป็นมาตรฐาน โดยไม่คำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำผิดตามหลักวิชาธรรมศาสตร์ อาจก่อให้เกิดความอยุติธรรมได้ง่าย เมื่อศาลที่สูงกว่าไม่เห็นด้วยในดุลพินิจเช่นนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับเป็นข้อควรคำนึงในการอำนวยความยุติธรรมต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักการใช้กฎหมายอาญาที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา และการเลือกใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
การใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 นั้น ต้องพิจารณาทั้งโทษสูงและโทษต่ำ เช่น ถ้าจะลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสถ้าจะลงโทษจำคุกเกิน 7 ปี ซึ่งจะลงได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 เช่นนี้ ต้องใช้ มาตรา 256 เพราะลงโทษจำคุกได้ไม่เกิน 7 ปี แต่ถ้าจะลงโทษต่ำกว่า 2 ปีลงมา (ถึง 6 เดือน) ต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297เพราะบัญญัติให้ทำได้
แต่ถ้าการวางโทษอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายลักษณะอาญาก็ได้หรือใช้ประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ เช่นนี้ควรใช้กฎหมายลักษณะอาญา อันเป็นกฎหมายในขณะทำผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและแก้ไขโทษรวมกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ก.ม.อาญา ม.250 ข้อ 3 ม.184 และ ม.120 รวม 3 กะทงเมื่อลดโทษตาม ม.59 แล้วคงรวมกะทงลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต ตาม ม.36
โจทก์จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.ม.245 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดตาม ม.250 ข้อ 2 ไม่ใช่ข้อ 3 และที่ว่ารวมกะทงลงโทษตาม ม.36 ก็ไม่ถูกต้องเป็น ม.71 จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นตามบทมาตราดังกล่าวนอกจากที่แก้คงยืนดังนี้ จำเลยฎีกาขอให้ลดหย่อนผ่อนโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ: การตีความ 'ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง' ตาม พ.ร.บ.กักกันผู้ร้าย
ถ้าผู้ใดเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ตามความใน พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 8 นั้นหมายความว่าถ้าผู้ใดได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษามาแล้วตั้งแต่ 2 ครั้งหรือกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ก็เรียกว่าไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
จำเลยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาฐานลักทรัพย์มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อมาต้องคำพิพากษาจำคุกฐานลักทรัพย์อันเป็นเหตุร้ายในคดีนี้ขึ้นอีก กรณีจึงเข้าเกณฑ์ความผิดตาม พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 8 ด้วย (ฎีกาที่ 714/2498)
of 36