คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เช็คหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: โมฆะตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วจำเลยจึงกู้ยืมเงินโจทก์ แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน โดยมิได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24 การที่จำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะหนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: หนี้เช็คเป็นโมฆะ แม้จะมีการกู้ยืม
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด แล้วจำเลยจึงกู้ยืมเงินโจทก์ แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน และมิได้กระทำตาม คำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 24 การที่จำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสถานบริการและใบอนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเป็นโมฆะ ผู้เช่าไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายหรือเงินลงทุนคืนได้
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาทมีข้อความระบุว่า ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันเช่าสถานที่บริการและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี โดยผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าสถานที่และใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในปีแรกเดือนละ 45,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 50,000 บาท ตลอดไป ... ในวันทำสัญญานี้ผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าล่วงหน้าแก่ผู้ให้เช่าไว้ และผู้ให้เช่าคิดเงินพิเศษค่าเช่าดำเนินกิจการเป็นเงินจำนวน1,000,000 บาท โดยผู้ให้เช่าตกลงยกอุปกรณ์ในการประกอบกิจการที่มีอยู่ในสถานที่เช่าทั้งหมดแก่ผู้เช่า และตกลงให้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาเช่านี้ และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดำเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตต่อทางราชการให้ใบอนุญาตมีผลใช้ได้ตามกฎหมายอยู่เสมอตลอดระยะเวลาเช่าในสัญญาและคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปีด้วย และผู้ให้เช่าต้องไม่นำใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการนี้ไปดำเนินกิจการเอง หรือยินยอมอนุญาตให้ผู้อื่นดำเนินกิจการนี้ด้วยวิธีการใด ๆ อีกเป็นอันขาด ถ้าสถานบริการถูกรื้อถอนหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด เป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องย้ายสถานที่บริการจากสถานที่ไปอยู่อีกแห่งหนึ่ง ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอย้ายสถานบริการจากสถานที่เช่า ไปอยู่ยังสถานที่แห่งอื่นที่ผู้เช่าประสงค์โดยปราศจากข้อโต้แย้งทั้งสิ้น โดยผู้ให้เช่าตกลงคิดค่าเช่าในการให้ผู้เช่าใช้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในสถานที่แห่งใหม่เพียงอย่างเดียวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาทไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่านี้ และคำมั่นจะให้เช่าจนครบ10 ปี และให้ยกเลิกอัตราค่าเช่าไปโดยปริยาย หากสถานที่เช่าและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าตกทอดไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นในระหว่างอายุสัญญาเช่านี้หรือตามคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี สัญญาเช่านี้คงมีผลผูกพันไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ทายาทหรือบุคคลอื่นทราบถึงสัญญา เห็นได้ว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปดำเนินกิจการแทนในฐานะผู้จัดการเท่านั้นแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้แก่กัน โดยมีการตกลงซื้อขายอุปกรณ์ในการประกอบกิจการให้แก่กัน และคู่กรณีมีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้โจทก์ดำเนินกิจการตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยทำเป็นสัญญาเช่า การที่โจทก์ชำระค่าเช่าล่วงหน้าก็ดี ชำระค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานบริการตลอดจนค่าตกแต่งสถานบริการก็ดี ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการสถานบริการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าตามฎีกาของโจทก์แต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา113 เดิม (มาตรา 150 ที่ตรวจชำระใหม่) โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลย กรณีจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา
ส่วนเงินค่าตอบแทนการได้เข้าดำเนินกิจการและการยกอุปกรณ์และทรัพย์สินในการประกอบกิจการให้แก่กัน และได้มีโอนส่งมอบสถานที่ อุปกรณ์ และทรัพย์สินให้แก่กันไปแล้ว จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระไปเพื่อให้การดำเนินกิจการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายบรรลุผล โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องคืนจากจำเลยได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 411
สำหรับเงินลงทุนของโจทก์ เมื่อไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 416 จำเลยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์จึงไม่ต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสถานบริการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายเป็นโมฆะ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่มีผลผูกพัน
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาทมีข้อความระบุว่า ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันเช่าสถานที่บริการและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี โดยผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าสถานที่และใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในปีแรกเดือนละ 45,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 50,000 บาท ตลอดไป ในวันทำสัญญานี้ผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าล่วงหน้าแก่ผู้ให้เช่าไว้ และผู้ให้เช่าคิดเงินพิเศษค่าเช่าดำเนินกิจการเป็นเงินจำนวน1,000,000 บาท โดยผู้ให้เช่าตกลงยกอุปกรณ์ในการประกอบกิจการที่มีอยู่ในสถานที่เช่าทั้งหมดแก่ผู้เช่า และตกลงให้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาเช่านี้ และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดำเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตต่อทางราชการให้ใบอนุญาตมีผลใช้ได้ตาม กฎหมายอยู่เสมอตลอดระยะเวลาเช่าในสัญญาและคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปีด้วย และผู้ให้เช่าต้องไม่นำใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการนี้ไปดำเนินกิจการเอง หรือยินยอมอนุญาตให้ผู้อื่นดำเนินกิจการนี้ด้วยวิธีการใด ๆ อีกเป็นอันขาดถ้าสถานบริการถูกรื้อถอนหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดเป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องย้ายสถานที่บริการจากสถานที่ไปอยู่อีกแห่งหนึ่ง ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอย้ายสถานบริการจากสถานที่เช่า ไปอยู่ยังสถานที่แห่งอื่นที่ผู้เช่าประสงค์โดยปราศจากข้อโต้แย้งทั้งสิ้น โดยผู้ให้เช่าตกลงคิดค่าเช่าในการให้ผู้เช่าใช้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในสถานที่แห่งใหม่เพียงอย่างเดียวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท ไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่านี้ และคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี และให้ยกเลิกอัตราค่าเช่าไปโดยปริยายหากสถานที่เช่าและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าตกทอดไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นในระหว่างอายุสัญญา เช่านี้หรือตามคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี สัญญาเช่านี้คงมีผลผูกพันไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ทายาทหรือบุคคลอื่นทราบถึงสัญญา เห็นได้ว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปดำเนินกิจการแทนในฐานะผู้จัดการเท่านั้นแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้แก่กัน โดยมีการตกลงซื้อขายอุปกรณ์ในการประกอบกิจการให้แก่กันและคู่กรณีมีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้โจทก์ดำเนินกิจการตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยทำเป็นสัญญาเช่าการที่โจทก์ชำระค่าเช่าล่วงหน้าก็ดี ชำระค่าอุปกรณ์ที่ใช้ ในการประกอบกิจการสถานบริการตลอดจนค่าตกแต่งสถานบริการก็ดี ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบ กิจการสถานบริการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าตามฎีกาของโจทก์แต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติสถานบริการพ.ศ. 2509 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม(มาตรา 150 ที่ตรวจชำระใหม่) โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลย กรณีจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา ส่วนเงินค่าตอบแทนการได้เข้าดำเนินกิจการและการยกอุปกรณ์ และทรัพย์สินในการประกอบกิจการให้แก่กัน และได้มี โอนส่งมอบสถานที่ อุปกรณ์ และทรัพย์สินให้แก่กันไปแล้ว จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระไปเพื่อให้การดำเนินกิจการ ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายบรรลุผล โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้อง คืนจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 สำหรับเงินลงทุนของโจทก์ เมื่อไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 416 จำเลยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์จึงไม่ต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขายฝาก: สัญญาไม่เป็นโมฆะแม้มีการตกลงแบ่งทรัพย์สินให้บุตรหลังหย่า
การที่โจทก์ผู้รับซื้อฝากคิดดอกเบี้ยจาก ส.ผู้ขายฝากและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ ส.เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 บัญญัติให้กำหนดสินไถ่กันไว้ได้ การที่โจทก์ตกลงกับ ส. และจำเลยทั้งสองให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก จึงเป็นการกำหนดให้ ส. และจำเลยทั้งสองชำระสินไถ่ให้โจทก์ทั้งสองบางส่วนนั่นเอง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าศาลฟังว่าสัญญาขายฝากฉบับพิพาทได้ทำกันจริง สัญญาขายฝากดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะเพราะก่อนไปจดทะเบียนขายฝากโจทก์ทั้งสองได้รู้แล้วว่า ส.ได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นผู้เยาว์ ส. ไม่มีอำนาจเอาไปจดทะเบียนขายฝากให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การและฟ้องแย้งด้วยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ส. กับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 และสิทธิของจำเลยที่ 1 กับพวกจะเกิดมีขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท ส. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทจาก ส. ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับ ส. มีเจตนาทำสัญญาขายฝากโดยได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และนิติกรรมการขายฝากถูกต้องตามแบบแล้ว แม้โจทก์จะไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระดอกเบี้ย ก็ไม่มีผลทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งเป็นโมฆะหากผู้ส่งไม่ได้ตกลงด้วยชัดเจน และผู้ขนส่งต้องรับผิดในราคาสินค้าที่แท้จริง
แม้พนักงานของบริษัทส.ผู้ส่ง ได้ลงชื่อไว้ในใบรับเอกสารซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งก็ตาม แต่บริษัทฮ.ผู้ส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ดังนี้ ข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ประกอบ กับสินค้าพิพาทเป็นยาแม้จะมีราคาค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 วรรคหนึ่งบริษัทฮ.ผู้ส่งจึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของบริษัทฮ.ผู้ส่งในราคาทรัพย์สินที่แท้จริงซึ่งได้สูญหายไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายกำหนดระยะเวลาไถ่การขายฝาก: บันทึกข้อตกลงขยายเวลาถือเป็นโมฆะตามมาตรา 496
สัญญาการขายฝากทำเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538มีกำหนด 1 ปีครบกำหนดเวลาไถ่คืนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539เมื่อโจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539ระบุว่าจำเลยยินดีที่จะให้โจทก์ซื้อที่ดินคืนได้ในราคา550,320 บาท ภายในเวลา 1 เดือน คือตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์2539 ถึงวันที่ 21 มีนาคม 2539 หากพ้นกำหนดนี้แล้วไม่มีสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น และโจทก์จำเลยลงชื่อไว้ แสดงว่าขณะทำบันทึกข้อตกลงยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ แม้บันทึกข้อความดังกล่าวจะไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าให้ตกลงขยายเวลาไถ่ถอนการขายฝาก ก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีคำมั่นที่จะขายทรัพย์ที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยเด็ดขาดแล้วให้แก่โจทก์เมื่อราคาที่ซื้อคืน 550,320 บาท ส่วนราคาไถ่ถอนการขายฝาก544,000 บาท ราคาที่ซื้อคืนสูงกว่าราคาไถ่ถอนการขายฝากเพียง 6,320 บาท ซึ่งหากจำเลยขายคืนให้โจทก์ภายใน 1 เดือนแล้ว จำเลยต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอัตราร้อยละ 3 นอกจากนั้นจำเลยยังต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย อันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินสุทธิจากการขายทรัพย์คืนต่ำกว่าราคาไถ่ถอนการขายฝาก จึงไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์ที่ขายฝากซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยคืนให้แก่โจทก์ตามพฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าจำเลยยอมขยายกำหนดระยะเวลา ขายฝากให้แก่โจทก์อีก 1 เดือน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่พิพาทตามข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินปฏิรูปที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ แม้ผู้ซื้อจะสุจริต
แม้บ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลก็ตาม แต่ที่ดินพิพาททางราชการประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและได้ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในนามของ ศ.อันเป็นการออกให้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518ซึ่งจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร ฯลฯ และเมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการฯ ตามบทกฎหมายดังกล่าว การขายทอดตลาดจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แม้โจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330เมื่อจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินและการตกเป็นโมฆะของข้อตกลงราคา
ส.สามีโจทก์กับ ล.สามีจำเลยมีนิติสัมพันธ์กัน โดย ล.ซึ่งมีสิทธิได้โควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยงวดละ 10 เล่มครึ่ง เมื่อ ล.มอบบัตรโควต้าของตนให้ ส.ไปรับแทน โดย ส.ต้องชำระเงินค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในนามของ ล.ไปก่อน ย่อมถือได้ว่า ล.ตัวการให้ ส.เป็นตัวแทนของตนในการทำการรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย อันเป็นสัญญาตัวแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 797
ส.จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล.ตัวการส.จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล.ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส.กับ ล.ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล.ยังเป็นหนี้ส.อยู่อีกจำนวนมาก ล.จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล.ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นการที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล.กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส.โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส.สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าซื้อเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ไม่ชัดเจนราคา และผลของการเป็นโมฆะต่อกรรมสิทธิ์
ส. สามีโจทก์กับ ล. สามีจำเลยมีนิติสัมพันธ์กันโดย ล. ซึ่งมีสิทธิได้โควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยงวดละ 10 เล่มครึ่งเมื่อ ล. มอบบัตรโควต้าของตนให้ ส. ไปรับแทน โดย ส. ต้องชำระเงินค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สภาสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในนามของ ล. ไปก่อน ย่อมถือได้ว่า ล.ตัวการให้ ส. เป็นตัวแทนของตนในการทำการรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย อันเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 ส. จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล. ตัวการ ส. จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล. ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส. กับ ล. ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล. ยังเป็นหนี้ ส. อยู่อีกจำนวนมากล. จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล. ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล. กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส. โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656 วรรคสองตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดิน และบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส. สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท ที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่
of 132