พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าจากสัญญาซื้อขายกิจการ สิทธิในเครื่องหมายการค้าตกเป็นของผู้รับโอน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRALM(ฮอร์วีราลเอ็ม)ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ. เป็นกรรมการ จำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ. ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRALM ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆ ไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงอันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRALM และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้.
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRALM(ฮอร์วีราลเอ็ม)ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ. เป็นกรรมการ จำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ. ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRALM ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆ ไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงอันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRALM และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เทศบาล การโอนสิทธิไม่เข้าข่ายโกงเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ได้รับสิทธิทำการปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินราชพัสดุจากเทศบาล เมื่อสร้างเสร็จแล้วจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเช่าอาคารดังกล่าวอยู่เอง หรือให้บุคคลอื่นเช่าก็ได้โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เลือกกำหนดตัวผู้เช่าและกำหนดจำนวนเงินกินเปล่าในการเช่า เป็นผู้ตกลงให้เช่าและเข้าทำสัญญากับผู้เช่าเองมิได้ทำในฐานะตัวแทนของเทศบาล เพียงแต่ต้องนำผู้เช่าไปทำสัญญาเช่ากับเทศบาลอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น ถือได้ว่าสิทธิการเช่าตึกพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 หาใช่เป็นของเทศบาลไม่ การที่จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 อาจเป็นการทำให้โจทก์เจ้าหนี้มิได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เทศบาล การโอนสิทธิไม่เข้าข่ายโกงเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ได้รับสิทธิทำการปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินราชพัสดุจากเทศบาล เมื่อสร้างเสร็จแล้วจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเช่าอาคารดังกล่าวอยู่เองหรือให้บุคคลอื่นเช่าก็ได้โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เลือกกำหนดตัวผู้เช่าและกำหนดจำนวนเงินกินเปล่าในการเช่า เป็นผู้ตกลงให้เช่าและเข้าทำสัญญากับผู้เช่าเองมิได้ทำในฐานะตัวแทนของเทศบาลเพียงแต่ต้องนำผู้เช่าไปทำสัญญาเช่ากับเทศบาลอีกครั้งหนึ่งเท่านั้นถือได้ว่าสิทธิการเช่าตึกพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 หาใช่เป็นของเทศบาลไม่ การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 อาจเป็นการทำให้โจทก์เจ้าหนี้มิได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คทำให้ผู้รับโอนเป็นผู้ทรงเช็คและผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทให้ ศ. ภริยาโจทก์ความว่า 'ข้าพเจ้า(ระบุชื่อ) ขอโอนเงินในเช็คฉบับนี้ให้แก่ ศ.' โดยลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ดังนี้ย่อมมีผลเป็นการโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นแก่ ศ.แล้วศ. ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค ซึ่งฐานะผู้ทรงเช็คเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจึงจะมีการกระทำแทนซึ่งกันและกันไม่ได้ เมื่อ ศ. เป็นผู้ทรงเช็คในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอันเป็นวันเกิดเหตุตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 ศ.จึงเป็นผู้เสียหายโจทก์หาใช่ผู้เสียหายยไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ผู้เช่ามีสิทธิโอนได้เอง โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
ส.เช่าตึกพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสามีมิได้เกี่ยวข้องด้วยเมื่อสิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ส. ย่อมมีสิทธิจะโอนสิทธิการเช่าไปให้จำเลยที่ 1 ได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามีทั้งสัญญาเช่าที่ ส. ทำไว้กับจำเลยที่ 2 ได้หมดอายุสัญญาไปแล้ว โจทก์ผู้เป็นบุตรของสามี ส. จึงหามีสิทธิที่จะบอกล้างนิติกรรมสัญญาเช่าดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ผู้เช่าย่อมมีสิทธิโอนได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี แม้สัญญาเช่าเดิมหมดอายุแล้ว
ส.เช่าตึกพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสามีมิได้เกี่ยวข้องด้วยเมื่อสิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ส. ย่อมมีสิทธิจะโอนสิทธิการเช่าไปให้จำเลยที่ 1 ได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามี ทั้งสัญญาเช่าที่ ส. ทำไว้กับจำเลยที่ 2 ได้หมดอายุสัญญาไปแล้ว โจทก์ผู้เป็นบุตรของสามี ส. จึงหามีสิทธิที่จะบอกล้างนิติกรรมสัญญาเช่าดังกล่าวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมรดก การโอนสิทธิครอบครอง และผลของการมอบที่ดินให้ผู้ซื้อ
หลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม บุตรทุกคนของเจ้ามรดกได้ตกลงขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมรดกมีหลักฐาน น.ส.3 ก. ให้แก่โจทก์ โดยให้ ห. บุตรคนหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ขาย โจทก์ได้ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันทำสัญญาและบุตรของเจ้ามรดกทุกคนได้มอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองตลอดมา ดังนี้ถือว่าบุตรของเจ้ามรดกทุกคนได้ขายและสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว แม้ภายหลังจากทำสัญญาฉบับแรกโจทก์และบุตรเจ้ามรดกบางคนจะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันอีกฉบับหนึ่ง โดยมีข้อความว่าจะจัดการโอนทะเบียนที่ดินพิพาทให้แก่กันเมื่อทายาทได้รับมรดกที่ดินตามกฎหมายแล้ว ก็เป็นเรื่องประสงค์ให้มีหลักฐานทางทะเบียนภายหลังที่ได้โอนสิทธิครอบครองกันแล้วเท่านั้น จะถือว่าไม่ได้สละเจตนาครอบครองหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมรดกโดยทายาท การโอนสิทธิครอบครอง และผลของการครอบครองปรปักษ์
หลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม บุตรทุกคนของเจ้ามรดกได้ตกลงขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมรดกมีหลักฐาน น.ส.3ก. ให้แก่โจทก์โดยให้ ห.บุตรคนหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ขาย โจทก์ได้ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันทำสัญญาและบุตรของเจ้ามรดกทุกคนได้มอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองตลอดมาดังนี้ถือว่าบุตรของเจ้ามรดกทุกคนได้ขายและสละการครอบครองที่ดิน พิพาทให้แก่โจทก์แล้วแม้ภายหลังจากทำสัญญาฉบับแรกโจทก์และบุตรเจ้ามรดกบางคนจะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันอีกฉบับหนึ่งโดยมีข้อความว่าจะจัดการโอนทะเบียนที่ดินพิพาทให้แก่กันเมื่อทายาทได้รับมรดกที่ดินตามกฎหมายแล้วก็เป็นเรื่องประสงค์ให้มีหลักฐานทางทะเบียนภายหลังที่ได้โอนสิทธิครอบครองกันแล้วเท่านั้น จะถือว่าไม่ได้สละเจตนาครอบครองหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการยึดทรัพย์จากคดีแพ่งสู่คดีล้มละลาย และวิธีการคัดค้านการยึดทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อการบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเรียกทรัพย์ที่ถูกยึดในคดีแพ่งสามัญมารวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย จึงเป็นการโอนการยึดทรัพย์มาโดยชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 112 การคัดค้านการยึดทรัพย์กรณีนี้พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 158 บัญญัติวิธีการไว้โดยให้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคำสั่ง ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ถอนการยึดก็ให้มีสิทธิร้องขอต่อศาลเป็นการเฉพาะแล้ว ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์ที่ยึดดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 บัญญัติไว้อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโอนสิทธิ, การแสดงเจตนาไม่ครอบครอง, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 อยู่ในที่พิพาทโดยขออาศัยจากเจ้าของเดิม ต่อมาเจ้าของเดิมได้โอนสิทธิครอบครองมายังโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งอาศัยอยู่ในที่พิพาทก็จะต้องอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินคนใหม่คือโจทก์อยู่ต่อไปจนกว่าจำเลยผู้อาศัยจะแสดงโดยชัดแจ้งว่าไม่ประสงค์จะครอบครองแทนโจทก์ การที่จำเลยล้อมรั้วในที่พิพาทก็ดีปลูกเรือนสองชั้นในที่พิพาทก็ดี ยังหาเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ ที่จำเลยที่ 1 ขอแบ่งแยกที่ดินจากโจทก์ก็ฟังได้แต่เพียงจะขอสิทธิครอบครองที่พิพาทจากโจทก์เป็นการครอบครองด้วยตนเองเท่านั้น ซึ่งโจทก์ก็ปฏิเสธและยังมิได้แบ่งแยกให้สิทธิครอบครองของโจทก์ในที่พิพาทจึงยังไม่เปลี่ยนแปลง จำเลยทั้งสองเพิ่งกระทำการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์โดยชัดแจ้งหลังจากได้รับหนังสือบอกกล่าวให้รื้อถอนเรือนออกจากที่พิพาทและจำเลยไม่ยอมรื้อตามคำบอกกล่าว ซึ่งโจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้หลังจากนั้นยังไม่ครบปี โจทก์จึงยังไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องเอาสิทธิครอบครองที่พิพาทคืนจากจำเลย