พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหยุดงานชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นสำคัญกระทบต่อกิจการ มิใช่แค่ความไม่แน่นอนทางการค้า
โจทก์สั่งให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวเป็นบางวันเป็นระยะๆ อ้างว่าโจทก์ประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าลดลงซึ่งไม่มีความแน่นอน แม้โจทก์จะอ้างว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าเป็นรายสัปดาห์โจทก์จะทราบการสั่งซื้อล่วงหน้าเพียง 3 วัน ถึง 5 วัน ก็เป็นเรื่องปกติของการค้าที่อาจจะมีความไม่แน่นอนบ้าง โจทก์ควรจะต้องวางแผนการบริหารกิจการของโจทก์ล่วงหน้า มิใช่นำสาเหตุดังกล่าวมาสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานชั่วคราว จึงยังมิใช่เหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7734-7739/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง/ล่วงเวลา ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
การจ่ายค่าตอบแทนการทำงานหรือสวัสดิการไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินเบี้ยเลี้ยง หรือเงินสวัสดิการต่างๆ แก่ลูกจ้างเป็นหน้าที่ของนายจ้างหรือจำเลยไม่ใช่ของบริษัทนำเที่ยวผู้ว่าจ้างจำเลยขนส่งนักท่องเที่ยว การที่จำเลยยินยอมให้บริษัทนำเที่ยวจ่ายเงินให้ลูกจ้างหรือโจทก์ทั้งหกโดยตรงก็เพื่อความสะดวกที่ลูกจ้างจะได้รับเงินเร็วขึ้น โดยเงินที่ได้รับยังเท่าเดิม และเพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งติดตามมา ทั้งจำเลยมิได้กระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้ง จำเลยย่อมมีอำนาจในการบริหารจัดการงานของตนเองได้ตามเหตุผลที่จำเป็นและสมควร จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของสภาพการจ้างเดิม ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7734-7739/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายค่าตอบแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง หากสิทธิประโยชน์ยังคงเท่าเดิม
การจ่ายค่าตอบแทนการทำงานหรือสวัสดิการไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินเบี้ยเลี้ยงหรือเงินสวัสดิการต่าง ๆ แก่ลูกจ้างนั้น นายจ้างหรือจำเลยจะต้องเป็นผู้จ่ายไม่ใช่บริษัทนำเที่ยวผู้ว่าจ้าง การที่จำเลยยินยอมให้บริษัทนำเที่ยวผู้ว่าจ้างจ่ายให้ลูกจ้างหรือโจทก์ทั้งหกโดยตรงก็เพื่อความสะดวกที่ลูกจ้างจะได้รับเงินเร็วขึ้น เมื่อจำเลยเปลี่ยนหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายใหม่จากเดิมบริษัทนำเที่ยวผู้ว่าจ้างเป็นผู้จ่ายผ่านมัคคุเทศก์ให้แก่พนักงานขับรถแทนจำเลยผู้รับจ้างเปลี่ยนใหม่เป็นจำเลยผู้รับจ้างเป็นผู้จ่ายให้แก่พนักงานขับรถด้วยตนเอง โดยปรากฏว่าเงินเบี้ยเลี้ยงหรือค่าล่วงเวลาที่ลูกจ้างหรือพนักงานขับรถได้รับยังคงมีจำนวนเท่าเดิมไม่ได้ลดจำนวนลงอย่างใดเพียงแต่ลูกจ้างได้รับเงินล่าช้าไปจากที่ได้รับทันทีเป็นได้รับเมื่อลูกจ้างนำเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องส่งในช่วงเช้าจะได้รับเงินในช่วงบ่าย หากส่งในช่วงบ่ายจะได้รับเงินในช่วงเช้าของวันทำงานถัดไป ประกอบทั้งเหตุที่จำเลยประกาศเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยง หรือค่าล่วงเวลาก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ทั้งหกกับพวกซึ่งเป็นพนักงานขับรถฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลา จำเลยจึงต้องประกาศเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงหรือค่าล่วงเวลาใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งติดตามมา เมื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่โจทก์ทั้งหกจะได้รับจากการทำงานยังคงมีอยู่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหกหรือพนักงานขับรถอื่น จำเลยย่อมมีอำนาจในการบริหารจัดการงานของตนเองได้ตามเหตุผลที่จำเป็นและสมควร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของสภาพการจ้างงานเดิม ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7734-7739/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเบี้ยเลี้ยง/ค่าล่วงเวลา ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง หากสิทธิประโยชน์ยังคงเท่าเดิม
เหตุที่จำเลยประกาศเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงหรือค่าล่วงเวลาก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ทั้งหกกับพวก ซึ่งเป็นพนักงานขับรถฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลา จำเลยจึงต้องประกาศเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงหรือค่าล่วงเวลาใหม่เพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งติดตามมา เมื่อสิทธิประโยชน์ที่โจทก์ทั้งหกได้รับยังคงมีอยู่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และจำเลยไม่มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก จำเลยย่อมมีอำนาจในการบริหารจัดการงานของตนเองได้ตามเหตุผลที่จำเป็นและสมควร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของสภาพการจ้างเดิม ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341-6342/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะวิกฤติทางธุรกิจ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
การบอกเลิกสัญญาจ้างเพราะเหตุลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ปกติที่นายจ้างไม่ได้ประสบภาวะวิกฤติร้ายแรงในการประกอบกิจการ แต่หากนายจ้างต้องประสบภาวะวิกฤติร้ายแรงถึงขั้นความอยู่รอดของกิจการ นายจ้างก็มีสิทธิอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
จำเลยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2541 ผลกำไรลดลง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายนำเครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างสำคัญต่อการประกอบธุรกิจการบินของจำเลย จำเลยต้องดำเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงทุกด้าน และมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายสำหรับฐานบินในประเทศไทยด้วยซึ่งเป็นฐานบินขนาดเล็ก โดยลดพนักงานและเลิกจ้างลูกเรือทั้งหมด 38 คน รวมทั้งโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ไม่ปกติ แม้ไม่ใช่สาเหตุมาจากลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิด ขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย หรือไม่ไปรับการรักษาพยาบาลตามที่จำเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกเป็นเหตุเลิกจ้างได้ ทั้งจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ถูกต้องตามกฎข้อบังคับในการว่าจ้าง การบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาแต่อย่างใด
จำเลยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2541 ผลกำไรลดลง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายนำเครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างสำคัญต่อการประกอบธุรกิจการบินของจำเลย จำเลยต้องดำเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงทุกด้าน และมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายสำหรับฐานบินในประเทศไทยด้วยซึ่งเป็นฐานบินขนาดเล็ก โดยลดพนักงานและเลิกจ้างลูกเรือทั้งหมด 38 คน รวมทั้งโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ไม่ปกติ แม้ไม่ใช่สาเหตุมาจากลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิด ขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย หรือไม่ไปรับการรักษาพยาบาลตามที่จำเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกเป็นเหตุเลิกจ้างได้ ทั้งจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ถูกต้องตามกฎข้อบังคับในการว่าจ้าง การบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185-5221/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้างที่ป่วยจากฝุ่นละอองในโรงงาน แม้เป็นภายในโรงงาน
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 17 และที่ 19 ถึงที่ 38 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 โรงงานของจำเลยที่ 1 เป็นสถานที่ประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงานมีสารเคมีฝุ่นฝ้ายดิบฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศของการทำงานเกินกว่าระดับมาตรฐานจึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2520 จำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการแก้ไขเพื่อลดความเข้มข้นของสารเคมีฝุ่นฝ้ายดิบมิให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์แต่ละคนทำงานในโรงงานของจำเลยที่ 1 มานานและได้รับฝุ่นฝ้ายจนเป็นโรคบิสสิโนซิสเสียหายแก่ร่างกายและอนามัย ถือว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่ละคน ตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับคือวันที่ 8 มกราคม 2521 หรือวันที่โจทก์แต่ละคนเข้าทำงานหลังจากวันที่ 8 มกราคม 2521 ซึ่งถือเป็นวันที่การละเมิดได้เกิดขึ้นและได้กระทำละเมิดตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์แต่ละคนออกหมายหรือจนถึงวันฟ้องแล้วแต่กรณี โรงงานของจำเลยที่ 1 จึงเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษอันเป็นเหตุโดยตรงให้โจทก์แต่ละคนเป็นโรคบิสสิโนซิสหรือได้รับอันตรายแก่กายหรือสุขภาพอนามัย เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 17 และที่ 19 ถึงที่ 38 มิได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษจึงต้องถือว่าเป็นผู้อื่นตามความหมายของมาตรา 96 ดังกล่าว และการรั่วไหลหรือการแพร่กระจายของมลพิษนั้นก็ไม่จำต้องรั่วไหลหรือแพร่กระจายออกไปนอกโรงงานของจำเลยที่ 1 แม้ฝุ่นฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุอันตรายและเป็นมลพิษจะรั่วไหลหรือแพร่กระจายภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 ก็ถือว่าเป็นการแพร่กระจายของมลพิษตามความหมายของมาตรา 96 แล้วเช่นกัน จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษจึงมีหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 17 และที่ 19 ถึงที่ 38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะจำเลยเป็นลูกจ้างหรือไม่เป็นผู้ประกอบการ เพื่อความผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ศาลต้องสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
แม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 13 ศาลมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ต้องเป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลย มิใช่รับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อนำมาวินิจฉัยความผิดของจำเลยตามฟ้อง ศาลจึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษเฉพาะผู้ประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติปรากฏว่าจำเลยเป็นเพียงลูกจ้าง ซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ อันเป็นกรณีไม่แน่ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ จึงชอบที่ศาลจะแจ้งรายงานดังกล่าวให้โจทก์และจำเลยทราบแล้วสอบข้อเท็จจริงจากจำเลย รวมทั้งอธิบายฟ้องและสอบคำให้การจำเลยในข้อหานี้ใหม่ หากจำเลยยืนยันว่าเป็นลูกจ้างโจทก์ก็มีสิทธิขอนำพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมหรือศาลจะสั่งให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยในข้อหานี้เพื่อให้ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนหรือไม่ก็ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 176 และมาตรา 228 แต่หากจำเลยขอถอนการให้ถ้อยคำในส่วนของการเป็นลูกจ้างและยืนยันให้การรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงยุติตามฟ้องโจทก์ได้ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้สอบโจทก์และจำเลยถึงข้อเท็จจริงตามรายงานของพนักงานคุมประพฤติดังกล่าว กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าโจทก์จะนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมในความผิดข้อหานี้หรือไม่ จึงยกคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในความผิดนี้ ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสอบข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นลูกจ้างหรือผู้ประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สอบคำให้การจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าว และสอบโจทก์เกี่ยวกับการสืบพยานโจทก์ในข้อหาความผิดนี้แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษเฉพาะผู้ประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติปรากฏว่าจำเลยเป็นเพียงลูกจ้าง ซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ อันเป็นกรณีไม่แน่ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ จึงชอบที่ศาลจะแจ้งรายงานดังกล่าวให้โจทก์และจำเลยทราบแล้วสอบข้อเท็จจริงจากจำเลย รวมทั้งอธิบายฟ้องและสอบคำให้การจำเลยในข้อหานี้ใหม่ หากจำเลยยืนยันว่าเป็นลูกจ้างโจทก์ก็มีสิทธิขอนำพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมหรือศาลจะสั่งให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยในข้อหานี้เพื่อให้ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนหรือไม่ก็ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 176 และมาตรา 228 แต่หากจำเลยขอถอนการให้ถ้อยคำในส่วนของการเป็นลูกจ้างและยืนยันให้การรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงยุติตามฟ้องโจทก์ได้ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้สอบโจทก์และจำเลยถึงข้อเท็จจริงตามรายงานของพนักงานคุมประพฤติดังกล่าว กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าโจทก์จะนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมในความผิดข้อหานี้หรือไม่ จึงยกคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในความผิดนี้ ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสอบข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นลูกจ้างหรือผู้ประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สอบคำให้การจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าว และสอบโจทก์เกี่ยวกับการสืบพยานโจทก์ในข้อหาความผิดนี้แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15918/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การละทิ้งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอัลมอนด์ระหว่างวันที่ 10 ถึงวันที่ 11 เมษายน 2550 จำเลยประกาศให้เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีและระหว่างวันที่ 12 ถึงวันที่ 16 เมษายน 2550 จำเลยประกาศให้เป็นวันหยุดตามประเพณีเฉพาะส่วนลูกจ้างที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ดังนั้น ช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ทั้งสามมีสิทธิหยุดงาน ส่วนวันที่ 9 เมษายน 2550 โจทก์ทั้งสามมาทำงาน แต่ก่อนบันทึกบัตรเข้าทำงาน ผู้จัดการโรงงานถามโจทก์ทั้งสามว่าจะรับข้อเสนอเรื่องเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างของจำเลยหรือไม่ ถ้ายอมรับข้อเสนอต้องไปลงชื่อเข้าทำงานในแบบฟอร์มที่หัวหน้า มิฉะนั้นให้ออกไปนอกโรงงาน โจทก์ทั้งสามไม่ยอมรับข้อเสนอจึงออกไปอยู่นอกโรงงาน การที่โจทก์ทั้งสามไม่ได้ทำงานในวันนี้ย่อมไม่ใช่ความผิดของโจทก์ทั้งสามดังนั้น ช่วงระหว่างวันที่ 9 ถึงวันที่ 16 เมษายน 2550 ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่ สำหรับระหว่างวันที่ 17 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2550 ซึ่งโจทก์ทั้งสามหยุดงานด้วยนั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยเปิดทำงานตามปกติสำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2550 แต่โจทก์ทั้งสามไม่เข้าทำงานกลับไปร่วมชุมนุมกับสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ที่หน้าโรงงาน โดยโจทก์ทั้งสามไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องด้วยเลย ย่อมถือได้ว่า โจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่สหภาพแรงงานฯ ระบุชื่อโจทก์ทั้งสามในบัญชีรายชื่อสมาชิกสหภาพแรงงานฯ กลับเข้าทำงานในวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 ตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่ให้จำเลยรับลูกจ้างที่ปิดงานกลับเข้าทำงาน ซึ่งหมายถึงเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ เท่านั้น อันเป็นคู่กรณีที่เกิดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้กับจำเลย ย่อมไม่ทำให้โจทก์ทั้งสามที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ได้สิทธิตามคำสั่งดังกล่าวไปด้วย และไม่มีผลลบล้างให้โจทก์ทั้งสามไม่มีความผิดละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 17 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2550 โดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5) ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยมีเหตุอันสมควร จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
เมื่อโจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5) ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยมีเหตุอันสมควร จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14919-14978/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: สหภาพแรงงานฟ้องแทนลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างฟ้องซ้ำถือเป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ทั้งหกสิบเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทย สมาชิกมีมติเอกฉันท์ให้สหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทยฟ้องจำเลยคดีนี้ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเรียกค่าเสียหายแทนสมาชิกสหภาพแรงงานด้วย จึงเป็นการดำเนินการโดยถูกต้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 103 (2) และมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งหกสิบรวมทั้งลูกจ้างอื่นที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทยซึ่งผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ทั้งหกสิบในคดีนี้ด้วย ดังนั้นสหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทยจึงเป็นผู้อยู่ในฐานะเดียวกับโจทก์ทั้งหกสิบและเป็นผู้ใช้สิทธิแทนโจทก์ทั้งหกสิบฟ้องคดี เมื่อโจทก์ทั้งหกสิบมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทำให้โจทก์ทั้งหกสิบเสียหาย ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลบังคับจนถึงวันฟ้อง อันเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันกับที่สหภาพแรงงานขนส่งโตโยต้าประเทศไทยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลฎีกา คำฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14399-14401/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ไม่ครอบคลุมการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 4 วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่... นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งจะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้" เมื่อปรากฏว่ากฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) บัญญัติว่า "มิให้ใช้บทบัญญัติมาตรา... หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122... บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ" เมื่อศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยเป็นสมาคมที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ จึงนำค่าชดเชยมาตรา 118 ถึงมาตรา 122 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาบังคับใช้กับการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามไม่ได้ กฎกระทรวงดังกล่าวได้บัญญัติยกเว้นเฉพาะ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เท่านั้น มิได้บัญญัติให้ยกเว้นกรณีจำเลยหรือนายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ทั้งการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมกับการจ่ายค่าชดเชยเป็นคนละกรณีและบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติต่างหากจากกันเช่นนี้ ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยหรือไม่ พิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 และมาตรา 119 ส่วนการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติจำกัดสิทธิของโจทก์ทั้งสามที่มีอยู่ตามกฎหมายและการแปลความกฎหมายให้เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ทั้งสามย่อมไม่ชอบ ดังนั้น กฎกระทรวงดังกล่าวข้อ (3) จึงนำมาใช้บังคับกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ไม่ได้ โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้