คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12888-12893/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาในการผูกพันตามประกาศนายจ้าง ลูกจ้างต้องแสดงความยินยอมชัดเจน การลงลายมือชื่อรับทราบอย่างเดียวไม่ถือเป็นการผูกพัน
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 7 ลูกจ้างเพียงแต่ลงลายมือชื่อเพื่อรับทราบประกาศของโจทก์นายจ้างซึ่งห้ามมิให้พนักงานทั่วไปลาออกจากงานแล้วไปประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของโจทก์ หรือเข้าทำงานกับบุคคลใดอันมีสภาพการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของโจทก์ภายในระยะเวลา 2 เดือน โดยไม่มีข้อความส่วนใดในประกาศฉบับดังกล่าวที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 7 ยินยอมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว การลงลายมือชื่อลักษณะนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาให้ความยินยอมของลูกจ้าง เมื่อนายจ้างออกประกาศแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง จึงไม่มีผลให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 7 ต้องปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12820/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเปิดบริษัทแข่งและใช้ทรัพยากรนายจ้างเป็นการทุจริต นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เปิดบริษัทนำเข้าและส่งออกเสื้อผ้ากีฬาและใช้อุปกรณ์ เครื่องมือและพนักงานของจำเลยที่ 3 บางส่วนทำงานส่วนตัวของโจทก์ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่ 3 จึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 119 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12224-12238/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการพิพากษาเกินคำขอและผลผูกพันต่อผู้อื่น รวมถึงประเด็นการคิดเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 และ 53 เป็นบทบัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิเศษ คือ การบัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอและให้มีผลผูกพันผู้ที่มีผลประโยชน์ในมูลความแห่งคดีด้วยได้ เพราะคดีแรงงานเป็นคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและผู้มีผลประโยชน์ในมูลความแห่งคดี ซึ่งบางครั้งก็มีจำนวนมาก การต้องฟ้องร้องทุกเรื่องย่อมเกิดความล่าช้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพื่อประโยชน์ในการที่จะเกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมและไม่ให้เกิดข้อพิพาทตามมา แต่จะต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษาให้ชัดเจน การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติกับสมาชิกอื่นของจำเลยที่ 1 ด้วย จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 และ 53

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12194-12198/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบการตอกบัตรเวลาทำงาน ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
การที่โจทก์ได้รับคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลา เมื่อทำงานล่วงเวลาเสร็จแต่มิได้ตอกบัตรเพื่อลงเวลาเลิกงานด้วยตนเอง ซึ่งตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เรื่อง การตอกบัตรแทนกัน หากฝ่าฝืน จำเลยจะลงโทษสูงสุดโดยการปลดจากการเป็นพนักงานทันที ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับการตอกบัตรเวลาทำงานนอกจากจะเป็นหลักฐานแสดงถึงระยะเวลาที่ลูกจ้างของจำเลยแต่ละคนปฏิบัติงานในแต่ละวันแล้ว ยังเป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานล่วงเวลาในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาซึ่งจำเลยได้ประกาศเตือนลูกจ้างแล้ว หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการตอกบัตรเวลาจำเลยจะเลิกจ้างทันที ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและการตอกบัตรเวลาทำงานมีความสำคัญที่จำเลยยึดถือเป็นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การปกครองและระเบียบการทำงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะจำเลยที่มีลูกจ้างจำนวนมาก แม้โจทก์ยังมิได้เบิกค่าล่วงเวลา แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวส่อไปในทางทุจริต และถือได้ว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้และถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลและเป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12037/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาทำงานเพื่อคำนวณค่าชดเชย กรณีลูกจ้างขาดงานโดยไม่ลา
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 19 บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการคำนวณระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นับวันหยุด วันลา วันที่นายจ้างอนุญาตให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง และวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง รวมเป็นระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างด้วย ซึ่งวันหยุดและวันลาดังกล่าวตามมาตรา 5 ให้คำจำกัดความว่า วันหยุด หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี วันลา หมายความว่า วันที่ลูกจ้างลาป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ ความสามารถ หรือลาเพื่อคลอดบุตร จึงเห็นได้ว่า การที่โจทก์ขาดงานไปโดยมิได้ลา ทั้งมิใช่วันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำเวลาที่ขาดงาน ซึ่งนายจ้างไม่ได้ประโยชน์จากการทำงานของลูกจ้างมารวมเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้ เมื่อโจทก์ขาดงานไปโดยมิได้ลาให้ถูกต้องตามระเบียบ โจทก์จึงไม่ได้ทำงานติดต่อครบสามปีที่จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันแต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10392/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงานตามคำสั่ง แม้หลังเลิกงาน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกไม้ยางให้แก่จำเลยที่ 2 หลังเลิกงานจำเลยที่ 2 ยินยอมให้ลูกจ้างนำรถไปเก็บไว้เอง เพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษารถและนำรถกลับมาบรรทุกไม้ยางให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องไปส่งลูกจ้าง การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปในเวลากลางคืนในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลาหลังเลิกงานด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และเพื่อนำไปเก็บไว้ยังที่พักของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 เพื่อประโยชน์ของนายจ้างเองที่จะนำรถกลับมาใช้งานให้จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถชนผู้ตายและบุตรระหว่างขับรถกลับบ้าน ถือว่าเป็นการขับรถไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิค่าชดเชยเกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดมีผลเพียงทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการหรือกระทำการแทนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22, 24 หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ผู้เป็นนายจ้างกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ ทั้งในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้ได้รับอนุญาตให้ลางานเพื่อไปรับราชการทหาร โดยไม่ปรากฏว่ามีการเลิกจ้างเจ้าหนี้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ดังนั้น กรณียังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างเจ้าหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 หนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงมิได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นายจ้างไม่ถือเป็นการเลิกจ้างลูกจ้าง สิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวจึงยังไม่เกิดขึ้น
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ไม่มีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ผู้เป็นนายจ้างกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วย ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไป ดังนั้น แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของลูกหนี้อยู่ กรณียังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างเจ้าหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 สิทธิในการรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงยังไม่เกิดขึ้นในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด หนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงมิได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 108 บังคับให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมาตรา 110 บัญญัติเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยให้นายจ้างประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกระบวนการที่นายจ้างและลูกจ้างต้องปฏิบัติเพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่กระบวนการดังกล่าวได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าในสถานประกอบกิจการมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น หากผู้ร้องประสงค์จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ผู้ร้องต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นผู้ร้องจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกันหรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 มิใช่ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ประกอบการขนส่ง การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 56 ขึ้นวินิจฉัย และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้ประกอบการขนส่งจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
ค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม นั้น เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุประมาณ 58 ปี และ 34 ปี ตามลำดับแล้ว เห็นว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสได้รับการอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 15 ปี ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 2 จำนวน 300,000 บาท และโจทก์ที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ถือว่าเหมาะสมแล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 ขณะเกิดเหตุละเมิดมีอายุประมาณ 78 ปี นับว่ามีอายุมากแล้วเมื่อเทียบกับอายุขัยของคนทั่วไป ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้เป็นเงินถึง 300,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จึงเห็นสมควรลดลงบางส่วนโดยกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท
ฝ่ายโจทก์อ้างว่าในการจัดงานศพและพิธีหลังฝังศพเป็นไปตามประเพณีของศาสนาอิสลาม โดยมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขั้นตอนทางพิธีกรรมและภาพถ่ายมาสนับสนุน เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายพบว่ามีคนมาร่วมงานค่อนข้างมาก ซึ่งย่อมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นให้เป็นจำนวน 100,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
โจทก์ที่ 3 ซื้อรถยนต์ตู้คันที่ผู้ตายขับมาในราคา 410,000 บาท และได้ใช้งานก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 ถึง 3 ปี การที่ขายรถยนต์ตู้คันที่ผู้ตายขับได้เพียง 325,000 บาท จึงน่าจะมีสาเหตุมาจากความเสื่อมเพราะการใช้รถด้วย มิใช่เพราะจากการถูกเฉี่ยวชนเพียงอย่างเดียว จึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เป็นเงิน 40,000 บาท
of 223