พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารบางส่วนเป็นภาษาต่างประเทศใช้เป็นหลักฐานได้หากอ่านใจความสำคัญได้
เอกสารตอนบนมีข้อความเป็นภาษาไทย ตอนล่างมีข้อความเป็นภาษาจีน โจทก์มิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทย แต่ข้อความที่เป็นภาษาไทยอยู่บางส่วนนั้น อ่านได้ใจความว่า จำเลยยืมเงินโจทก์ ดังนี้ ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการกู้ยืมเงินกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินแก่ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องหนี้
คดีได้ความว่า เมื่อลูกหนี้กู้ครั้งแรก จำนวนเงิน 21,000 บาทนั้น ลูกหนี้ได้ออกเช็คฉบับหนึ่งให้ไว้อีกด้วย ต่อมาเช็คฉบับนั้นขึ้นเงินไม่ได้เจ้าหน้าที่จึงคืนเช็คนั้นให้แก่ลูกหนี้ไปโดยมิได้รับชำระหนี้เลย ต่อมาอีกประมาณ 1 ปีเศษ ลูกหนี้ที่ 2 ได้ขอกู้เงินเพิ่มอีก 19,000 บาท เจ้าหนี้ก็ให้กู้ไป ต่อมากู้อีก 15,000 บาท เจ้าหนี้ให้กู้ไปอีกซึ่งลูกหนี้ก็ออกเช็คให้ไว้ทั้งสองคราวโดยไม่ลงวันที่ จะออกเช็คเมื่อไรและกู้กันเมื่อไร เจ้าหนี้ก็จำวันไม่ได้ทั้ง ๆ ที่เงินกู้ครั้งแรกยังไม่ได้รับชำระ นอกจากนี้ยังมีเจ้าหนี้อื่นอีกมากมายซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้จนถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย พฤติการณ์แสดงว่าเจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงิน 2 คราวหลังนี้เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนเงิน 34,000 บาทนี้ได้ ตามมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ปราศจากหลักฐานเป็นหนังสือที่ชัดเจน การฟ้องเรียกเงินกู้จึงไม่สำเร็จ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยโดยอาศัยจดหมายที่จำเลยเขียนไปถึงโจทก์และเช็คที่โจทกสั่งจ่ายเงินที่ขอกู้นั้นให้ จำเลยเป็นหลักฐาน จดหมายนั้นมีข้อความเพียงว่า "เฮียสุพจน์ (โจทก์) กรุณามอบเช็คหรือเงินสดจำนวนหนึ่งหมื่นบาทถ้วนตามที่พูดกันไว้กับสังวรณ์ไปด้วยให้เซ็นรับไป" แล้วจำเลยลงชื่อลงวันที่ที่เขียนจดหมาย ดังนี้ จดหมายดังกล่าวไม่มีข้อข่วมตอนใดเลยพอที่จะแสดงว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์และจะใช้เงินคืนให้โจทก์จึงไม่เป็น หลักฐานแห่งการกู้ยืมส่วนเช็คนั้นก็เป็นหลักฐานแต่เพียงว่าโจทก์ได้จ่ายเช็คของโจทก์ให้จำเลยจริง และจำเลยรับเงินตามเช็คนั้นแล้วจึงไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเช่นกันเมื่อการกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือโจทก์จึงฟ้องบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: สัญญาไม่สมบูรณ์ แม้มีจดหมายหรือเช็คก็ใช้บังคับคดีไม่ได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยโดยอาศัยจดหมายที่จำเลยเขียนไปถึงโจทก์ และเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายเงินที่ขอกู้นั้นให้จำเลยเป็นหลักฐานจดหมายนั้นมีข้อความเพียงว่า'เฮียสุพจน์ (โจทก์) กรุณามอบเช็คหรือเงินสดจำนวนหนึ่งหมื่นบาทถ้วนตามที่พูดกันไว้กับสังวรณ์ไปด้วย ให้เซ็นรับไป' แล้วจำเลยลงชื่อลงวันที่ที่เขียนจดหมาย ดังนี้ จดหมายดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดเลยพอที่จะแสดงว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ และจะใช้เงินคืนให้โจทก์ จึงไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม ส่วนเช็คนั้นก็เป็นหลักฐานแต่เพียงว่าโจทก์ได้จ่ายเช็คของโจทก์ให้จำเลยจริง และจำเลยรับเงินตามเช็คนั้นแล้ว จึงไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเช่นกันเมื่อการกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือโจทก์จึงฟ้องบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261-1262/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนที่นาจากการกู้ยืมเงินและมอบให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ฟ้องเรียกที่นาพิพาทของโจทก์ที่มอบให้ฝ่ายจำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้คืน โดยขอชำระเงินที่กู้ยืมจากฝ่ายจำเลยไป มิใช่การฟ้องร้องบังคับคดีในเรื่องการกู้เงินตามความหมายในมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น แม้มิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง และโจทก์มีสิทธินำสืบพยานบุคคลในเรื่องการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบข้ออ้างของโจทก์ว่าเหตุใดโจทก์จึงมอบที่นาพิพาทให้ฝ่ายจำเลยทำกินได้ เพราะกรณีมอบที่นาให้ทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงิน - ความน่าเชื่อถือและขอบเขตของสัญญา
ฟ้องเรียกเงินกู้ 28,000 บาท กับดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าได้กู้เงินโจทก์ 800 บาท แต่ไม่ได้ทำหนังสือกู้ในเอกสารที่ฟ้องเป็นลายมือชื่อจำเลยลงไว้ในเรื่องอื่นดังนี้ เอกสารที่ฟ้องไม่ใช่เอกสารการกู้เงินที่จำเลยรับศาลไม่พิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 800 บาทตามที่รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน, สัญญาไม่สมบูรณ์, การฟ้องบังคับสิทธิหลังลูกหนี้เสียชีวิต, การทวงถามหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จ. สามีจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์ไป 2 ครั้งครั้งแรก 110,000 บาท ครั้งที่สอง 90,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจ. ทำหนังสือสัญญากู้ 2 ราย และรับเงินกู้ไป 200,000 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จ. ไม่ได้รับเงินกู้รายแรก แต่ไม่ได้อุทธรณ์ว่าจ. ไม่ได้ทำสัญญากู้รายแรก ดังนี้ ประเด็นว่า จ. ได้ทำสัญญากู้รายแรกหรือไม่ จึงยุติเพียงศาลชั้นต้นว่า จ.ได้ทำสัญญากู้รายแรกจริงจำเลยที่ 2 จึงฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่าจ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไป ต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่าจ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไป ต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินเป็นประกัน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก สัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน: หลักฐานการใช้เงิน และการนำสืบพยานบุคคล
กู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง เท่านั้นผู้กู้เงินจะนำสืบพยานบุคคลไม่ได้ว่าได้ชำระต้นเงินกู้แล้ว แต่โจทก์ไม่คืนสัญญากู้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2373/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธฟ้องและประเด็นข้อต่อสู้คดีกู้ยืมเงิน ศาลต้องพิจารณาว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างโจทก์ชัดแจ้งหรือไม่
จำเลยให้การว่า นอกจากที่จำเลยให้การไว้ ขอให้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ และมีข้อความในคำให้การต่อไปว่า ความจริงจำเลยไม่ได้กู้เงิน ถือว่าจำเลยได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ทั้งสิ้น
จำเลยยกข้อต่อสู้ฟ้องโจทก์โดยกล่าวในตอนแรกว่า โจทก์ จำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายเรือนและไม้กระดานกัน แล้วโจทก์ได้นำกระดาษเปล่ามาให้จำเลยลงชื่อไว้ และในคำให้การจำเลยยังได้กล่าวต่อไปด้วยว่าจำเลยได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้ให้โจทก์อีกฉบับหนึ่ง จำเลยไม่ได้ยืนยันไว้โดยชัดแจ้งว่าหนังสือสัญญากู้ยืมที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องนั้นเป็นหนังสือสัญญาฉบับไหน หรือหากจำเลยจะกล่าวอ้างว่าสัญญากู้ยืมที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุผลประการใด จำเลยก็มิได้กล่าวไว้ให้ชัดแจ้งเหตุแห่งข้ออ้างที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ฟ้องโจทก์นั้นจึงเคลือบคลุมไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบเป็นข้อต่อสู้ได้
เมื่อฟังว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ย่อมจะต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างมาว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องนั้นจำเลยไม่ได้ยอมรับ โจทก์จึงยังมีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืม และได้รับเงินไปจากโจทก์ ให้สมตามข้ออ้างของโจทก์ในฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19, 20/2516)
จำเลยยกข้อต่อสู้ฟ้องโจทก์โดยกล่าวในตอนแรกว่า โจทก์ จำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายเรือนและไม้กระดานกัน แล้วโจทก์ได้นำกระดาษเปล่ามาให้จำเลยลงชื่อไว้ และในคำให้การจำเลยยังได้กล่าวต่อไปด้วยว่าจำเลยได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้ให้โจทก์อีกฉบับหนึ่ง จำเลยไม่ได้ยืนยันไว้โดยชัดแจ้งว่าหนังสือสัญญากู้ยืมที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องนั้นเป็นหนังสือสัญญาฉบับไหน หรือหากจำเลยจะกล่าวอ้างว่าสัญญากู้ยืมที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุผลประการใด จำเลยก็มิได้กล่าวไว้ให้ชัดแจ้งเหตุแห่งข้ออ้างที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ฟ้องโจทก์นั้นจึงเคลือบคลุมไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบเป็นข้อต่อสู้ได้
เมื่อฟังว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ย่อมจะต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างมาว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องนั้นจำเลยไม่ได้ยอมรับ โจทก์จึงยังมีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืม และได้รับเงินไปจากโจทก์ ให้สมตามข้ออ้างของโจทก์ในฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19, 20/2516)