คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสัญญาเช่าและขอบเขตความรับผิดชอบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบแทนเจ้าของที่ดิน
จำเลยได้ลงทุนก่อสร้างโรงแรมแล้วยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยมีสิทธิเช่าโรงแรมที่ก่อสร้างเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมเป็นเวลา 16 ปี 6 เดือน และตลอดเวลาการเช่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า หรือภาษีอื่นใด และภาษีส่วนที่ทางราชการประเมินสูงกว่าที่ปรากฏในสัญญาเช่า การที่จำเลยยกกรรมสิทธิ์ในที่ก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินนี้ กรมสรรพากรถือว่าเป็นรายได้พึงประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงที่จะต้องเสียภาษี เมื่อพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาแล้ว ถ้าเจ้าของที่ดินมีเจตนาให้จำเลยชำระภาษีส่วนนี้แทนด้วยก็ควรจะต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งเพราะภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า ยังระบุไว้ได้ หรือมิฉะนั้นระบุว่าภาษีใด ๆ ก็เพียงพอแล้วไม่ต้องระบุรายละเอียดว่าเป็นภาษีในกรณีใดบ้างอย่างเช่นที่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่า ทำให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่ามิได้หมายความรวมถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนนี้แทนเจ้าของที่ดิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของเจ้าของที่ดินย่อมไม่มีสิทธิยกเอาเหตุนี้มาบอกเลิกสัญญาเช่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4061/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความหนังสือมอบอำนาจต้องพิจารณาเอกสารทั้งฉบับและเจตนาของผู้มอบอำนาจ ไม่จำกัดเฉพาะข้อความบางส่วน
การแปลความเอกสารหาอาจพิเคราะห์เพียงข้อความตอนใดตอนหนึ่งของเอกสารเท่านั้นไม่ หากต้องพิจารณาเอกสารทั้งฉบับและความมุ่งหมายของผู้ทำเอกสารเป็นสำคัญอีกด้วย แม้ข้อความตอนแรก ๆ ของหนังสือมอบอำนาจจะกล่าวถึงกิจการที่มอบหมายให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำในประเทศญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ข้อความตอนต่อ ๆ มาก็มิได้จำกัดว่าจะต้องให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำได้เฉพาะแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น การที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจขึ้นในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานสาขาของโจทก์และอ้างถึงการเป็นตัวแทนตามกฎหมายญี่ปุ่น หรือกิจการที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องกระทำในประเทศญี่ปุ่นบางประการ ย่อมไม่ได้หมายความจำกัดเฉพาะกิจการในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
เมื่อหนังสือมอบอำนาจมีข้อความมุ่งหมายจะมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจทำการตามที่ระบุไว้ในกิจการอันเกี่ยวกับการรับประกันภัยทั้งสิ้นโดยไม่ได้จำกัดว่าให้กระทำได้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น และยังได้มอบอำนาจให้ ท.มีอำนาจฟ้องคดีและมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงได้ท.จึงมอบอำนาจให้ พ.ซึ่งอยู่ในประเทศไทยฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถาน: สิทธิครอบครองที่ดินและขอบเขตพื้นที่บ้าน
โจทก์ร่วมอาศัยปลูกบ้านอยู่บนที่ดินของ ป. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้อาศัยย่อมมีสิทธิครอบครองในบ้านของตน แต่หามีสิทธิครอบครองที่ดินของ ป. ด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อฟังไม่ได้ว่าบริเวณที่จำเลยเข้ามายืนอยู่เป็นบริเวณบ้านของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานของโจทก์ร่วม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำให้การจำเลยในคดีภารจำยอม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยขนาดทางภารจำยอมได้หรือไม่
คำให้การของจำเลยที่ว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภารจำยอมเพราะไม่เคยมีใครใช้ทางดังกล่าว ย่อมมีความหมายไปถึงว่าไม่ใช่ทางภารจำยอมแม้แต่วาเดียวหรือศอกเดียวไปด้วย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าความกว้างยาวของทางภารจำยอมมีขนาดไหน จึงอยู่ในขอบเขตของคำให้การของจำเลยแล้ว ไม่ใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์ได้ใช้ที่ดินของจำเลยดังกล่าวส่วนหนึ่งมีขนาดกว้าง 2 วา ยาว 10 วา เป็นทางเดินเข้าออกจากที่ดินโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะเป็นระยะเวลาติดต่อกันประมาณ35 ปี โดยสงบเปิดเผย มีเจตนาให้ได้ทางภารจำยอม ดังนี้เป็นคำบรรยายฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: ดุลพินิจโทษและแก้ไขโทษจำคุก
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและให้รอการลงโทษไว้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 69ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และศาลอุทธรณ์ลงโทษไม่เกินกำหนดนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่แก้ไขแล้วส่วนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน และให้รอการลงโทษไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แต่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก กล่าวคือนอกจากแก้โทษจำคุกให้เบาลงแล้วยังให้รอการลงโทษไว้ด้วย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอดในการต่อสู้คดีมรดก และขอบเขตการพิพากษาตามคำขอ
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีจำนอง: บังคับได้เฉพาะทรัพย์จำนอง แม้ขายทอดตลาดแล้วยังขาดหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำที่ดินมีโฉนดมาจำนองไว้กับโจทก์จำเลยรับเงินไปครบถ้วนในวันทำสัญญาจำนอง ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยกู้เงินอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง และคำขอบังคับท้ายฟ้องโจทก์ขอว่า หากจำเลยไม่ชำระเงินให้ยึดที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น โจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยถือหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์บังคับคดีเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีจำนอง: การบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำที่ดินมีโฉนดมาจำนองไว้กับโจทก์จำเลยรับเงินไปครบถ้วนในวันทำสัญญาจำนอง ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยกู้เงินอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง และคำขอบังคับท้ายฟ้อง โจทก์ขอว่า หากจำเลยไม่ชำระเงินให้ยึดที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น โจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยถือหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์บังคับคดีเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเป็นผู้ร่วมขนส่งทางทะเล: การติดต่อประสานงานไม่ใช่การเข้าร่วมขนส่ง
จำเลยไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ากับบริษัทผู้ขนส่งซึ่ง ได้ ทำการขนส่งสินค้ามาทางเรือ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าจากเรือด้วยการที่จำเลยได้ ดำเนินการติดต่อ กรมเจ้าท่าให้มีการนำร่องเพื่อให้เรือเข้าเทียบท่า และแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองให้ตรวจ ชาว ต่างประเทศที่มากับเรือเป็นผู้ขออนุญาตนำเรือเข้าต่อ กรมศุลกากร รวมทั้งแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบนั้นกิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่เจ้าของเรือและบริษัทผู้ขนส่งจะต้อง กระทำโดย ตนเอง การที่จำเลยได้ กระทำกิจการเหล่านั้นแทนเจ้าของเรือและผู้ขนส่ง ยังไม่พอให้ถือว่าจำเลยเป็นผู้เข้าร่วมขนส่งด้วย แม้เมื่อผู้รับตราส่งนำใบตราส่งมายื่น และจำเลยรับใบตราส่งคืนมาแล้วออกใบปล่อยสินค้าให้เพื่อนำไปรับสินค้าจากนายเรือก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะ ผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม วิธีการขนส่งทางทะเล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการแก้ไขโทษในชั้นอุทธรณ์และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยไว้เป็นเวลา ๕ ปี โดยกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติจำเลยไว้เป็นเวลา ๑ ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยโดยไม่รอการกำหนดโทษซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ก็ลงโทษปรับจำเลยเพียงกระทงละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๙.
of 66