พบผลลัพธ์ทั้งหมด 616 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้
กรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วสั่งให้คู่ความมาศาลในวันนัดตามมาตรา 37 เพื่อศาลจะได้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 หากตกลงกันไม่ได้จึงจะจดประเด็นข้อพิพาทตามมาตรา 39 และนัดสืบพยานโจทก์แต่กรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานภายหลังจากนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะต้องนำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: การใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
บทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40,41 นั้น เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องแล้วได้สั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตามมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงาน vs. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วได้สั่งให้โจทก์ มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตาม มาตรา 38 เท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณา และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้มาศาลตามวันเวลานัด ดังกล่าวและศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกัน ไม่ได้ จึงได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 และได้นัดวัน สืบพยานโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ตามมาตรา 37,38 และ 39 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2674/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การหลังพ้นกำหนด แม้มีเหตุผลเรื่องวันรับหมายเรียกที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 ซึ่งข้อความในมาตราดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า ศาลจะออกคำสั่งตามคำขอได้ต้องทำการไต่สวนก่อน ดังนั้นจึงเป็นอำนาจของศาลที่จะไต่สวนก่อนออกคำสั่งหรือไม่ตามที่ศาลเห็นสมควรและตามคำร้องของจำเลยได้บรรยายความไว้ว่าภริยาจำเลยเป็นผู้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ในวันที่ 19พฤษภาคม 2531 แต่ได้แจ้งแก่จำเลยว่าได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่ 20 พฤษภาคม 2531 จำเลยจึงรับทราบวันที่รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคลาดเคลื่อน โดยตามคำร้องของจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านหรือให้เหตุผลว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายแก่จำเลยขัดต่อความเป็นจริงหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากคำร้องของจำเลยชัดแจ้งพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อนออกคำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัย-การไต่สวน-สิทธิในการให้การ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้อ้างถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุและความจำเป็นที่มิได้ยื่นคำให้การและมาศาลในวันนัดพิจารณาว่า เนื่องจากไม่ทราบว่าถูกฟ้องและไม่ทราบวันนัดเนื่องจากจำเลยไปรักษาพยาบาลมารดาอยู่ต่างจังหวัด ในระหว่างวันที่ถูกฟ้องถึงวันที่ศาลชี้ขาดตัดสินคดีและมีการส่งคำบังคับ เพิ่งมาทราบเรื่องที่ถูกฟ้องและบังคับคดีหลังจากจำเลยออกโรงพยาบาลและกลับมาพักฟื้นอยู่ที่บ้าน ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างแล้วจำเลยก็ย่อมไม่สามารถมาแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 ได้กรณีเช่นนี้ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีโดย อนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลแรงงานกลางต้องไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยและมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ: คดีจำหน่ายเนื่องจากขาดนัด ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด
คดีก่อนโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ เป็นการขาดนัดพิจารณาและจำเลยไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไปศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นออกจากสารบบความ ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาแห่งประเด็นที่พิพาท ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้อีกโดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนก็ตาม ก็ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเจตนาขาดนัดยื่นคำให้การ ต้องพิจารณาพฤติการณ์ก่อนศาลมีคำสั่ง
การวินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุที่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดว่า จำเลยทราบหรือไม่ว่าตนถูกฟ้อง จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การเมื่อใดและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยประกอบกัน ซึ่งต้องเป็นพฤติการณ์ก่อนที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายที่ถูกต้องและการขาดนัดยื่นคำให้การ/ขาดนัดพิจารณาคดี ทำให้จำเลยจงใจขาดนัด
การปิดหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ ณ สำนักงานบริษัทอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งศาลเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้วเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การและไม่ไปศาลในวันสืบพยานโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุที่จะขอให้พิจารณาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและเหตุสมควรขยายเวลา รวมถึงการประเมินค่าเสียหายจากเหตุละเมิด
เอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 2 อ้างอิงมีจำนวนไม่มากมายไม่จำเป็นต้องใช้เวลาค้นหาและแปลเอกสารนานถึง 10 วัน ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 หลังจากได้รับสำเนาคำฟ้องแล้วจำเลยที่ 2 ก็ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง 5 วันจึงไปพบกับทนายความ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความบกพร่องของจำเลยที่ 2 เอง ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดีฟ้องขับไล่: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้อง ไม่ทราบวันนัดคำพิพากษาและคำบังคับของศาลมาก่อนเพราะได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่นแล้ว จำเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณานั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และแม้ฎีกาของจำเลยจะเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในเรื่องการขอให้พิจารณาใหม่ ไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้องและคำให้การ ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเป็นหลักในการพิจารณาว่าเป็นคดีที่ฎีกาได้หรือไม่ เมื่อเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248