พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6878/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ และประเด็นนอกฟ้อง-ให้การ
คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้วนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินแปลงนี้เป็นของจำเลยโดยจำเลยเป็นผู้ก่นสร้างและครอบครองมานานกว่า 30 ปีแล้วตามคำให้การดังกล่าวจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ จึงเป็นการกำหนดประเด็นนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6854/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีราคาพิพาทต่ำกว่าเกณฑ์ และสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่พิพาทมีราคา 30,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา ฎีกาจำเลยทุกข้อล้วนแล้วเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างทั้งสิ้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยได้ชำระเงินตามเช็คที่จำเลยได้สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้งวดแรกตามข้อตกลงในหนังสือรับสภาพหนี้จนครบถ้วน โดยมิได้ยกเหตุแห่งการถูกหลอกลวงให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ขึ้นมาต่อสู้ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่ 1 มิได้หลอกลวงให้จำเลยทำเอกสารดังกล่าวแต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้างและการนำสืบของจำเลยที่ว่าถูกหลอกลวงให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ จึงเป็นการกล่าวอ้างและนำสืบลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยทำหนังสือมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่าได้เป็นหนี้โจทก์ที่ 1 จริงและตกลงชำระหนี้ดังกล่าวเป็นงวด ๆ จนครบ หากผิดนัดให้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ทันทีข้อตกลงดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 แล้ว จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ที่ 1 นำดอกเบี้ยจำนวนใดที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดมารวมไว้ในจำนวนหนี้ในหนังสือรับสภาพหนี้ ศาลจะฟังว่าดอกเบี้ยที่มีรวมอยู่เป็นโมฆะซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยต่อโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ที่ 1ตามหนังสือรับสภาพหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และข้อยกเว้นความรับผิดของนายจ้าง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์100,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ลูกจ้างของจำเลยมิได้ประมาทก็ดี ค่าเสียหายของโจทก์ไม่ควรเกินกว่า 30,000 บาท ก็ดี เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่ดิน: มูลค่าทรัพย์สินต่ำกว่าสองแสนบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินของโจทก์ด้านทิศใต้ไปขอออกน.ส.3 ก.แปลงหนึ่ง จำเลยที่ 2 นำที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือไปขอออก น.ส.3 ก. อีกแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างให้การว่า ที่พิพาทแต่ละแปลงเป็นของตน ทรัพย์ที่พิพาทจึงแยกต่างหากจากกัน เมื่อที่ดินแต่ละแปลงมีราคาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ในปัญหาว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ด. และโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยทั้งสองหรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนปัญหาว่า จำเลยทั้งสองไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาท การออก น.ส.3 ก. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นโมฆะนั้น เป็นการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งเป็นยุติและต้องห้ามฎีกาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ฎีกาของโจทก์ในปัญหาว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ด. และโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยทั้งสองหรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนปัญหาว่า จำเลยทั้งสองไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาท การออก น.ส.3 ก. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นโมฆะนั้น เป็นการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งเป็นยุติและต้องห้ามฎีกาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมีข้อห้ามโอน การนับระยะเวลาครอบครองเริ่มเมื่อพ้นระยะห้ามโอนเท่านั้น
แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ผู้คัดค้านได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่วันทำสัญญา แต่ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ผู้คัดค้านได้รับโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนาจะปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ยังไม่ปล่อยให้เป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอนผู้คัดค้านจึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องได้ ผู้ร้องจะเอาระยะเวลาการครอบครองซึ่งอยู่ภายในข้อบังคับห้ามโอนกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแย่งการครอบครอง: ข้อจำกัด 1 ปี และการมิอาจใช้หลักอายุความสะดุดหยุด
โจทก์ฟ้องเรื่องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 ซึ่งไม่ใช่อายุความฟ้องร้อง จึงนำเอา ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสองในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นโจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทิน, เพิ่มโทษ, และการริบของกลาง: ข้อจำกัดการใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทิน และอำนาจศาลในการริบ
ผู้ที่จะได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษาพ.ศ.2530 มาตรา 4 คือ ผู้ได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับ แต่จำเลยยังไม่พ้นโทษในวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่ได้รับผลจากพ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อจำเลยพ้นโทษฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองมายังไม่เกินห้าปี กลับมากระทำผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมิได้ฟ้องว่าจำเลยจำหน่ายเฮโรอีน เงินสดของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดในคดีนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินสดของกลางด้วยจึงไม่ชอบ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมิได้ฟ้องว่าจำเลยจำหน่ายเฮโรอีน เงินสดของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดในคดีนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินสดของกลางด้วยจึงไม่ชอบ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในชั้นศาลฎีกาเมื่อทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องจดทะเบียนโอนขายแก่โจทก์มีราคา160,000 บาท และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญาให้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งจำนวน 25,000 บาท ดังนั้นฎีกาจำเลยที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ยกฟ้องโจทก์ จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับราคาที่ดินพิพาทรวมกับค่าเสียหายดังกล่าว คิดเป็นเงินรวม 185,000 บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 248วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ. ฎีกาจำเลยที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตหรือโกงโจทก์จึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์ไม่เสียหาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญา จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการฎีกาคดีแพ่ง: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องจดทะเบียนโอนขายแก่โจทก์มีราคา160,000 บาท และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญาให้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งจำนวน 25,000 บาท ดังนั้นฎีกาจำเลยที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ยกฟ้องโจทก์ จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับราคาที่ดินพิพาทรวมกับค่าเสียหายดังกล่าว คิดเป็นเงินรวม 185,000 บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 248วรรคหนึ่ง แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฎีกาจำเลยที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตหรือโกงโจทก์จึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์ไม่เสียหาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญา จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5667/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีขับไล่ผู้เช่าที่มีค่าเช่าไม่เกิน 2,000 บาท และอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาทตามสัญญาเช่าซึ่งกำหนดไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ค่าเช่าเดือนละ 350 บาทแม้โจทก์จะเรียกค่าเสียหายเดือนละ 10,000 บาท ภายหลังบอกเลิกสัญญามาด้วยทั้งก่อนฟ้องและหลังฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะส่งมอบและออกไปจากตึกพิพาท ค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่ค่าเช่า จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ2,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224(เดิม)ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยยื่นอุทธรณ์