พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำกับการจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไร แม้ได้รับการยกเว้นการคุ้มครองแรงงานทั่วไป แต่ยังคงต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ
การจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจอยู่ในบังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานที่มิให้ ใช้บังคับแก่การจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวง กำไรในทางเศรษฐกิจนั้นหมายถึงเรื่องการคุ้มครองแรงงานทั่ว ๆ ไปตามที่จำแนกไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมวดที่ 1 ถึงหมวดที่ 9 เท่านั้นไม่หมายถึงเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำด้วย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานที่มิให้ ใช้บังคับแก่การจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวง กำไรในทางเศรษฐกิจนั้นหมายถึงเรื่องการคุ้มครองแรงงานทั่ว ๆ ไปตามที่จำแนกไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมวดที่ 1 ถึงหมวดที่ 9 เท่านั้นไม่หมายถึงเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด – เงื่อนไขและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ขาดนัดพิจารณา จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวให้โจทก์แพ้คดีในประเด็นพิพาท โจทก์ขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นมิให้พิจารณาใหม่ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201, 207
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในคดีโจทก์ขาดนัดพิจารณา โจทก์ขอพิจารณาใหม่ ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่ จำเลยอุทธรณ์ฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในคดีโจทก์ขาดนัดพิจารณา โจทก์ขอพิจารณาใหม่ ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่ จำเลยอุทธรณ์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรส: การใช้สิทธิจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย และข้อยกเว้นตามมาตรา 1485
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่นั้นกำหนดไว้เป็นหลักทั่วไปให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน เว้นแต่จะมีสัญญาก่อนสมรสหรือสัญญาระหว่างสมรสระบุไว้เป็นอย่างอื่น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1485 หมายถึงการจัดการสินสมรสแก่ทรัพย์สินเฉพาะอย่างซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากหรือมีความสำคัญเป็นพิเศษซึ่งสามีหรือภรรยาร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการทรัพย์สินดังกล่าวโดยลำพังหรือเข้าร่วมจัดการด้วยได้ไม่ว่าคู่สมรสจะมีสัญญาก่อนสมรสหรือสัญญาระหว่างสมรสตกลงกันไว้อย่างไร สามีหรือภรรยาก็อาจร้องขอต่อศาลไม่ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวหรือถ้าไม่มีทั้งสัญญาก่อนสมรสและระหว่างสมรส สามีหรือภรรยาก็อาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสดังกล่าวแต่ผู้เดียว อันเป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ทั้งสองกรณีนี้ ผู้ร้องขอต่อศาลจะต้องแสดงให้เห็นว่าการที่จะทำเช่นนั้น จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
กรณีของโจทก์ โจทก์ต้องการเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกับสามีตามอำนาจที่มีอยู่แล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอาศัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1485 ร้องขอให้ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1485 หมายถึงการจัดการสินสมรสแก่ทรัพย์สินเฉพาะอย่างซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากหรือมีความสำคัญเป็นพิเศษซึ่งสามีหรือภรรยาร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการทรัพย์สินดังกล่าวโดยลำพังหรือเข้าร่วมจัดการด้วยได้ไม่ว่าคู่สมรสจะมีสัญญาก่อนสมรสหรือสัญญาระหว่างสมรสตกลงกันไว้อย่างไร สามีหรือภรรยาก็อาจร้องขอต่อศาลไม่ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวหรือถ้าไม่มีทั้งสัญญาก่อนสมรสและระหว่างสมรส สามีหรือภรรยาก็อาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสดังกล่าวแต่ผู้เดียว อันเป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ทั้งสองกรณีนี้ ผู้ร้องขอต่อศาลจะต้องแสดงให้เห็นว่าการที่จะทำเช่นนั้น จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
กรณีของโจทก์ โจทก์ต้องการเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกับสามีตามอำนาจที่มีอยู่แล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอาศัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1485 ร้องขอให้ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการชำระหนี้จำนองและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
เอกสารบันทึกข้อตกลงระบุว่า "ที่ดินโฉนดที่ ฯลฯ ยังคงจำนองอยู่ตามสัญญาเดิม และยังคงเหลือเงิน 210,000 บาท"เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าที่ดินโฉนดใดยังติดจำนองอยู่ และหนี้จำนองเหลืออยู่เท่าใดเท่านั้น การนำสืบถึงการชำระหนี้จำนองหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเอกสารฉบับดังกล่าวไม่ จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 แต่การนำสืบถึงการชำระหนี้จำนองซึ่งเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง
การชำระหนี้เงินกู้ด้วยเช็ค เป็นการชำระหนี้ด้วยการออกตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสามจึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่การชำระหนี้ด้วยเงินจึงไม่ต้องด้วย มาตรา 653 วรรคสองศาลย่อมรับฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบในเรื่องการชำระหนี้ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 767/2505)
การชำระหนี้เงินกู้ด้วยเช็ค เป็นการชำระหนี้ด้วยการออกตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสามจึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่การชำระหนี้ด้วยเงินจึงไม่ต้องด้วย มาตรา 653 วรรคสองศาลย่อมรับฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบในเรื่องการชำระหนี้ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 767/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุเป็น 'การเลิกจ้าง' ต้องจ่ายค่าชดเชย โรงงานยาสูบไม่อยู่ในข้อยกเว้น
การที่ระเบียบของจำเลยกำหนดให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิใช่เป็นการกำหนดว่าให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์ จึงหาทำให้การจ้างนั้นเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไม่
แม้ระเบียบของจำเลยและพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ จะกำหนดไว้ว่า พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งก็ตาม ก็หมายความถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเพราะเหตุดังกล่าวออกจากงานนั่นเอง ฉะนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุจึงเป็นการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46มีหลักการให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และในวรรคสามยกเว้นไว้ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน กับกรณีเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานแสดงว่ามิได้ประสงค์ให้ยกเว้นถึงการเลิกจ้างที่ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าทั่วไปทุกกรณี จึงจะถือว่าการที่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าเหมือนกับกรณีดังกล่าวและไม่อยู่ในขอบเขตแห่งเจตนารมณ์ที่จะให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเช่นเดียวกันหาได้ไม่
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มิได้เป็นส่วนราชการของกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งสังกัดกระทรวงการคลังจึงมิใช่ราชการส่วนกลาง หาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ บังคับไม่ ฉะนั้น กระทรวงการคลังในฐานะเป็นนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานยาสูบฯ ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์ จึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ประกาศฯ ดังกล่าวบังคับแก่กระทรวงการคลังในฐานะเป็นราชการส่วนกลาง
แม้ระเบียบของจำเลยและพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ จะกำหนดไว้ว่า พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งก็ตาม ก็หมายความถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเพราะเหตุดังกล่าวออกจากงานนั่นเอง ฉะนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุจึงเป็นการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46มีหลักการให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และในวรรคสามยกเว้นไว้ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน กับกรณีเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานแสดงว่ามิได้ประสงค์ให้ยกเว้นถึงการเลิกจ้างที่ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าทั่วไปทุกกรณี จึงจะถือว่าการที่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าเหมือนกับกรณีดังกล่าวและไม่อยู่ในขอบเขตแห่งเจตนารมณ์ที่จะให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเช่นเดียวกันหาได้ไม่
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มิได้เป็นส่วนราชการของกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งสังกัดกระทรวงการคลังจึงมิใช่ราชการส่วนกลาง หาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ บังคับไม่ ฉะนั้น กระทรวงการคลังในฐานะเป็นนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานยาสูบฯ ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์ จึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ประกาศฯ ดังกล่าวบังคับแก่กระทรวงการคลังในฐานะเป็นราชการส่วนกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล: หลักเกณฑ์และข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ
ปัญหาเรื่องการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ไม่ใช่เหตุที่ ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (3) บัญญัติห้ามมิให้ตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ในกรณีที่กิจการขาดทุนหรือไม่มีกำไร
เมื่อโจทก์ตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ จึงจำเป็นต้องนำราคาทรัพย์สินส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นนั้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
เมื่อโจทก์ตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ จึงจำเป็นต้องนำราคาทรัพย์สินส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นนั้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเหนือกว่า พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา แม้จะเข้าข่ายการเช่า
โจทก์ไปแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีอาญากับจำเลยฐานบุกรุกแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์ยอมให้จำเลยทำประโยชน์ในที่พิพาทต่อไปอีกหนึ่งปี โดยจำเลยยอมจ่ายค่าเช่าให้โจทก์ 4,000 บาท ดังนี้ จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น จะอ้างพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 5 มาเพื่อขยายเวลาเช่าออกไปเป็น 6 ปีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายจับ: ข้อยกเว้นตามกฎหมายเช็ค
สิบตำรวจจับจำเลยในที่รโหฐานเวลากลางคืนในข้อหาตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ซึ่งมีผู้ร้องทุกข์ไว้แล้ว ได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหมายค้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายแร่โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และข้อยกเว้นการมีแร่ไว้ในครอบครองเกินกำหนด
กรณีจะปรับเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พ.ศ. 2514 มาตรา 19,30 ข้อเท็จจริงจะต้องปรากฏชัดว่าผู้ขายแร่เป็นผู้ทำเหมือง
การที่จำเลยซื้อแร่โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีแร่ไว้ในครอบครองตามใบอนุญาตซื้อแร่ จึงไม่ต้องฟ้องด้วยข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 105 (6) พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 มาตรา 31
แร่ของกลางจำเลยได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 147,148 จึงต้องริบตามมาตรา 154 พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 มาตรา 39
การที่จำเลยซื้อแร่โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีแร่ไว้ในครอบครองตามใบอนุญาตซื้อแร่ จึงไม่ต้องฟ้องด้วยข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 105 (6) พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 มาตรา 31
แร่ของกลางจำเลยได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 147,148 จึงต้องริบตามมาตรา 154 พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายแร่โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การครอบครองแร่เกินปริมาณที่กำหนด และข้อยกเว้นการครอบครองแร่ในสถานที่ซื้อขาย
กรณีจะปรับเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุกพ.ศ.2514 มาตรา 19,30 ข้อเท็จจริงจะต้องปรากฏชัดว่าผู้ขายแร่ เป็นผู้ทำเหมือง
การที่จำเลยซื้อแร่โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีแร่ไว้ในครอบครองตามใบอนุญาตซื้อแร่จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510มาตรา 105(6) พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2516มาตรา 31
แร่ของกลางจำเลยได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 147,148 จึงต้องริบตามมาตรา154 พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2516 มาตรา39
การที่จำเลยซื้อแร่โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีแร่ไว้ในครอบครองตามใบอนุญาตซื้อแร่จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510มาตรา 105(6) พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2516มาตรา 31
แร่ของกลางจำเลยได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 147,148 จึงต้องริบตามมาตรา154 พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2516 มาตรา39