พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการรับเงินอากรแล้วยักยอก – อำนาจสั่งการของผู้ว่าราชการ – การปฏิบัติหน้าที่แม้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมมหาดไทยผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งย้ายจำเลยไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอตรีประจำอำเภอเมือง พร้อมกันนั้นก็ได้สั่งให้จำเลยคงทำงานเป็นผู้ช่วยเสมียนตราจังหวัดอยู่ ณ ที่เก่า มีหน้าที่รับเงินอากรการฆ่าสัตว์ที่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดนั้น นำส่งแผนกมหาดไทยเพื่อนำฝากคลังตามระเบียบผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจสั่งดังกล่าวได้ และเมื่อจำเลยรับเงินประเภทดังกล่าวนั้นแล้ว นำไปหาผลประโยชน์ส่วนตัวไม่นำฝากคลัง ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ตามที่แก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439-440/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการจากการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจากเอกสารปลอม: ไม่ถือว่าประมาทเลินเล่อหากไม่มีหน้าที่ต้องตรวจสอบสัญญา
จำเลยทั้งสองรับราชการกรมไปรษณีย์ฯ คนหนึ่งเป็นหัวหน้าแผนกตรวจจ่าย กองบัญชี อีกคนหนึ่งรักษาราชการแทนหัวหน้าแผนกเดียวกันนี้เสมียนในแผนกนี้ได้เซ็นรับรองในใบสำคัญเอกสารขอเบิกเงินค่าเสาโทรเลขจากกรมไปรษณีย์ฯ ซึ่งเป็นเอกสารปลอม ที่เกิดการทุจริตรายนี้ก็เพราะมีการปลอมลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน ซึ่งยากที่จำเลยจะทราบได้ เมื่อมีลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน ทั้งมีตราประทับมาด้วยจำเลยก็น่าจะเชื่อว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงจำเลยจึงได้เซ็นรับรองในใบสำคัญนั้นในช่องที่มีตัวพิมพ์ไว้ว่า ตรวจถูกต้อง ทั้งนี้ โดยจำเลยเชื่อว่าลายเซ็นปลอมนั้นเป็นลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน จึงมิได้เรียกสัญญามาตรวจสอบและไม่มีระเบียบให้เรียกสัญญามาตรวจสอบ แล้วส่งใบสำคัญเหล่านี้ไปยังกองคลังๆ อนุมัติให้จ่ายเงินได้ เป็นเหตุให้กรมไปรษณีย์ฯ เสียหาย ดังนี้ ยังไม่ถือว่าจำเลยได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยไม่ต้องรับผิด
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของข้าราชการ & ผลคดีอาญาที่มีผลผูกพันคดีแพ่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะที่เป็นบุคคลธรรมดาโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการในขอบเขตแห่งวงหน้าที่ราชการ ย่อมมีอำนาจเป็นคู่ความในศาลได้เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าง ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาการแทนปลัดจังหวัดก็ย่อมเป็นบุคคลที่จะเป็นโจทก์ฟ้องร้องได้ในฐานเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 ที่ว่าคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง นั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จะต้องรับฟังตามคำพิพากษาในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ด้วย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 ที่ว่าคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง นั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จะต้องรับฟังตามคำพิพากษาในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการในการลงนามเช็คที่มีพิรุธ ธนาคารมีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย
จำเลยที่ 3 เป็นเสมียนแผนกการเงินทำหน้าที่เขียนเช็คมาช้านานแล้ว และวิธีเขียนก็มีการเว้นช่องระยะไว้ข้างหน้า ่จำนวนเงินที่เขียนไว้แล้วเช่นนี้ อยู่เสมอและไม่เคยมีเหตุเกิดขึ้น ในคราวที่เกิดเรื่องนี้ จำเลยที่ 3 ก็เขียนเช็คโดยเว้นช่องระยะไว้ข้างหน้า จำนวนเงินที่เขียนไว้แล้วทำนองเดียวกันและผ่านการตรวจตราจากเจ้าหน้าที่ชั้นรอง ๆ ผู้มีหน้าที่โดยเฉพาะมาแล้ว อีกทั้งมีหลักฐานการขอเบิกจ่ายมาถูกต้อง จึงเสนอเช็คให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายช่างผู้เชี่ยวชาญ กรมทางฯ ขณะมีงานอื่นกำลังปฏิบัติอยู่มาก และจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน กองคลัง เช็นสั่งจ่ายและแล้วจำเลยที่ 3 นำเช็คนั้นไปเติมจำนวนเงินลงในช่องที่เว้นระยะไว้นั้ เป็นเหตุให้กรมทางฯ ต้องจ่ายเงินเกินจำนวนที่ควรต้องจ่ายจริงไป 600,000 บาท ดังนี้แม้เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 - 2 จะไม่รอบคอบแต่ถ้าเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ปฏิบัติงานโดยชอบด้วยหน้าที่แล้ว ควรเสียหายของโจทก์ก็จะไม่เกิดขึ้น ความเสียหายของโจทก์โดยตรงเกิดจากการที่ธนาคารยอมจ่ายเงินทั้งๆ ที่เช็ครายนี้มีพิรุธในข้อที่เติมจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวหนังสือ ซึ่งแม้พิจารณาด้วยตาเปล่าของคนธรรมดา ก็เห็นชัดหาได้เกิดโดยตรงจากการไม่รอบคอบของจำเลยที่ 1 - 2 ไม่ ดังนี้ จำเลยที่ 1 - 2 ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์ต้องเสียหายไปดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการในการลงนามเช็คที่มีพิรุธ: ธนาคารมีส่วนรับผิดชอบในการตรวจสอบ
จำเลยที่ 3 เป็นเสมียนแผนกการเงินทำหน้าที่เขียนเช็คมาช้านานแล้ว และวิธีเขียนก็มีการเว้นช่องระยะไว้ข้างหน้าจำนวนเงินที่เขียนไว้แล้วเช่นนี้ อยู่เสมอและไม่เคยมีเหตุเกิดขึ้นในคราวที่เกิดเรื่องนี้ จำเลยที่ 3 ก็เขียนเช็คโดยเว้นช่องระยะไว้ข้างหน้าจำนวนเงินที่เขียนไว้แล้วทำนองเดียวกันและผ่านการตรวจตราจากเจ้าหน้าที่ชั้นรองๆ ผู้มีหน้าที่โดยเฉพาะมาแล้ว อีกทั้งมีหลักฐานการขอเบิกจ่ายมาถูกต้องจึงเสนอเช็คให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายช่างผู้เชี่ยวชาญกรมทางฯ ขณะมีงานอื่นกำลังปฏิบัติอยู่มาก และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน กองคลัง เซ็นสั่งจ่ายและแล้วจำเลยที่ 3 นำเช็คนั้นไปเติมจำนวนเงินลงในช่องที่เว้นระยะไว้นั้น เป็นเหตุให้กรมทางฯ ต้องจ่ายเงินเกินจำนวนที่ควรต้องจ่ายจริงไป 600,000 บาทดังนี้ แม้เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1-2 จะไม่รอบคอบแต่ถ้าเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ปฏิบัติงานโดยชอบด้วยหน้าที่แล้ว ความเสียหายของโจทก์ก็จะไม่เกิดขึ้นความเสียหายของโจทก์โดยตรงเกิดจากการที่ธนาคารยอมจ่ายเงินทั้งๆ ที่เช็ครายนี้มีพิรุธในข้อที่เติมจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวหนังสือ ซึ่งแม้พิจารณาด้วยตาเปล่าของคนธรรมดาก็เห็นชัดหาได้เกิดโดยตรงจากการไม่รอบคอบของจำเลยที่ 1-2 ไม่ดังนี้ จำเลยที่ 1-2 ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์ต้องเสียหายไปดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดฐานะ 'เจ้าพนักงาน' สำหรับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยต้องมีคุณสมบัติเป็นข้าราชการหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานทำการทุจริตต่อหน้าที่ และจดหลักฐานเท็จ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยได้รับแต่งตั้ง จากอธิบดีกรมชลประทานให้เป็นช่างบังคับหมู่เขื่อนระบายน้ำโพธิ์เตี้ย มีหน้าที่ควบคุมงานก่อนสร้าง ซ่อมแซมบำรุงรักษา ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงคนงาน ควบคุมคนงาน โดยได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายวันจากงบประมาณ ซึ่งมิใช่ประเภทเงินเดือน เมื่อจำเลยได้เบิกค่าแรงคนงานเกินความจริงและจดหลักฐานเท็จ ก็จะเอาผิดฐานเท็จความฟ้องไม่ได้ เพราะถือว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานและตามฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายถึงความผิดอย่างอื่นอันเป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยซึ่งไม่ใช่ในฐานเป็นเจ้าพนักงานด้วย เมื่อเป็นดังนี้ คดีก็ไม่มีทางจะลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการครูทุจริตยักยอกเงิน แม้ได้รับมอบหมายงานเพิ่ม ก็ยังมีความผิดฐานเจ้าพนักงานทุจริต
ข้าราชการพลเรือนตำแหน่งครูประชาบาลรับเงินเดือนประจำทางงบประมาณประเภทเงินเดือนของกระทรวงศึกษาธิการ แม้นายอำเภอและศึกษาธิการอำเภอ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาจะได้มีคำสั่งให้ไปทำงานในตำแหน่งเสมียนแผนกศึกษาธิการอำเภออีกตำแหน่งหนึ่งก็ตาย ก็ยังมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อปฏิบัติราชการโดยทุจริตยักยอกเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่จึงย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการครูทุจริตยักยอกเงิน แม้รับมอบหมายงานเพิ่ม ก็ยังคงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน
ข้าราชการพลเรือนตำแหน่งครูประชาบาลรับเงินเดือนประจำทางงบประมาณประเภทเงินเดือนของกระทรวงศึกษาธิการ แม้นายอำเภอและศึกษาธิการอำเภอ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาจะได้มีคำสั่งให้ไปทำงานในตำแหน่งเสมียนแผนกศึกษาธิการอำเภออีกตำแหน่งหนึ่งก็ตามก็ยังมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายฉะนั้น เมื่อปฏิบัติราชการโดยทุจริตยักยอกเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่จึงย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการป้องกันสิทธิโดยชอบธรรม กรณีฆ่าข้าราชการขณะปฏิบัติหน้าที่
พลตำรวจเข้าไปจับหญิงนครโสเภณี เห็นผู้หญิงกับผู้ชายคู่หนึ่งนั่งคุยในห้องซึ่งเปิดประตูอยู่ เช่นนี้ ยังเรียกไม่ได้ว่า หญิงคนนั้นกำลังกระทำผิดหรือพยายามกระทำผิดหรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำผิดโดยมีเครื่องมืออาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้กระทำความผิดมาแล้ว และจะหลบหนีตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 78 พลตำรวจจึงไม่มีอำนาจจับหญิงนั้น โดยไม่มีหมายจับ กรณีเช่นนี้ ต้องให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่จับด้วยตนเองได โดยไม่ต้องมีหมายจับ เมื่อการจับกุมของพลตำรวจเช่นนี้ไม่มีกฎหมายสนับสนุนแล้ว การที่จำเลยฆ่าพลตำรวจผู้จับจึงไม่เรียกว่าฆ่าเจ้าพนักงานเพราะเหตุที่กระทำการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดต้องระบุเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ และข้อจำกัดในการฟ้องให้ศาลบังคับข้าราชการ
ฟ้องเรื่องละเมิด ต้องกล่าวแสดงว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
เมื่อฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์ประการใดเลย เป็นแต่กล่าวลอย ๆ ว่า จำเลยทำเช่นนั้น ทำเช่นนี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นการกระทำในหน้าที่ราชการของจำเลยทั้งสิ้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172
ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาทำลายคำสั่งของรัฐมนตรีสั่งราชการแทนนายรัฐมนตรี แต่มิได้ฟ้องสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกับคำสั่งให้รับผิดด้วย ย่อมบังคับไม่ได้ตามคำขอนี้
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้สั่งโจทก์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นอำนาจของทางการจะสั่งโดยพิเคราะห์ถึงความเหมาะสม ไม่ใช่เรื่องของศาลที่จะสั่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5 และที่ 8/2502)
เมื่อฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์ประการใดเลย เป็นแต่กล่าวลอย ๆ ว่า จำเลยทำเช่นนั้น ทำเช่นนี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นการกระทำในหน้าที่ราชการของจำเลยทั้งสิ้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172
ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาทำลายคำสั่งของรัฐมนตรีสั่งราชการแทนนายรัฐมนตรี แต่มิได้ฟ้องสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกับคำสั่งให้รับผิดด้วย ย่อมบังคับไม่ได้ตามคำขอนี้
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้สั่งโจทก์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นอำนาจของทางการจะสั่งโดยพิเคราะห์ถึงความเหมาะสม ไม่ใช่เรื่องของศาลที่จะสั่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5 และที่ 8/2502)