คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3733/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: หนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินที่อาจขายได้ แต่ยังต้องรอความยินยอมจากเจ้าของทรัพย์ก่อน
การโอนการขายสิทธิการเช่าตึกแถวจำเลยจะต้องขออนุญาตจากผู้ให้เช่าก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ให้เช่ายินยอมให้โอนขายสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจะสามารถโอนขายสิทธิการเช่าตึกแถวนั้นได้ จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกนอกจากสิทธิการเช่าตึกแถว ถือได้ว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ได้รับความยินยอม เป็นเหตุเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ลูกจ้างทำหน้าที่เลขานุการกรรมการผู้จัดการของนายจ้าง ทำงานวันจันทร์ถึงวันเสาร์ระหว่างเวลา 8.30 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกา เป็นประจำและได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานเป็นพนักงานต้อนรับผู้โดยสารบนรถยนต์โดยสารและมีฐานะเป็นลูกจ้างรายวันค่าจ้างวันละ 73 บาท ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ในวันจันทร์ อังคาร และพุธ ตั้งแต่เวลาประมาณ 9 นาฬิกาถึง 18 นาฬิกาหรือกว่านั้น จึงเป็นคำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย คำสั่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ลูกจ้างทำหน้าที่เลขานุการกรรมการผู้จัดการของนายจ้างทำงานวันจันทร์ถึงวันเสาร์ระหว่างเวลา 8.30 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกาเป็นประจำและได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานเป็นพนักงานต้อนรับผู้โดยสารบนรถยนต์โดยสารและมีฐานะเป็นลูกจ้างรายวันค่าจ้างวันละ 73 บาท ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ในวันจันทร์ อังคาร และพุธ ตั้งแต่เวลาประมาณ 9 นาฬิกาถึง18 นาฬิกาหรือกว่านั้น จึงเป็นคำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย คำสั่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: คดีไม่ขาดอายุความ
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งคู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งย่อมไม่สมบูรณ์ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์และสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่ง อ. ได้กระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นคู่สมรส จึงเป็นการฟ้องขอให้แสดงว่าฐานะของ อ. และจำเลยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงเพราะการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ดังกล่าว หาใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อเพิกถอนฐานะความเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 163 และมาตรา 164และเมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดระยะเวลาที่โจทก์อาจฟ้องคดีเช่นว่านี้ได้แล้ว โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องคดีดังกล่าวได้เสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบเงินโดยเสน่หาและสิทธิในบัญชีเงินฝาก ธนาคารไม่มีอำนาจโอนเงินคืนโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์และ ช.ชาวญี่ปุ่นอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อมาช.ส่งเงินจำนวนสิบล้านเยนจากประเทศญี่ปุ่นมาที่จังหวัดพะเยาโดยโอนเงินผ่านธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยา ระบุชื่อ ช.เป็นผู้รับเงินเพราะ ช. ได้เดินทางตามมาพบโจทก์ด้วย ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยาได้โอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เช่นที่เคยปฏิบัติ รุ่งขึ้นโจทก์กับ ช. ไปที่ธนาคารจำเลยที่ 1 โจทก์ขอถอนเงินจำนวน 1,000,000 บาท จากบัญชีสะสมทรัพย์แล้วฝากเงินดังกล่าวในบัญชีเงินฝากประเภทประจำซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีตามคำชักชวนของพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าการที่ ช. อยู่ด้วยกับโจทก์ขณะโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์แล้วฝากในบัญชีเงินฝากประเภทประจำ เป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ช.ได้รับเงินที่ส่งมาแล้วและได้ส่งมอบให้โจทก์ เป็นผลให้เงินจำนวนสิบล้านเยนตกเป็นของโจทก์โดยการให้โดยเสน่หา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจโอนเงินในบัญชีเงินฝากประเภทประจำดังกล่าวของโจทก์คืนให้แก่ ช. โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบเงินโดยเสน่หาและสิทธิในบัญชีเงินฝาก การโอนเงินคืนโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์และ ช.ชาวญี่ปุ่นอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อมาช.ส่งเงินจำนวนสิบล้านเยนจากประเทศญี่ปุ่นมาที่จังหวัดพะเยาโดยโอนเงินผ่านธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยา ระบุชื่อช.เป็นผู้รับเงินเพราะช. ได้เดินทางตามมาพบโจทก์ด้วยธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยาได้โอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เช่นที่เคยปฏิบัติ รุ่งขึ้นโจทก์กับ ช. ไปที่ธนาคารจำเลยที่ 1 โจทก์ขอถอนเงินจำนวน 1,000,000 บาท จากบัญชีสะสมทรัพย์แล้วฝากเงินดังกล่าวในบัญชีเงินฝากประเภทประจำซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีตามคำชักชวนของพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าการที่ ช. อยู่ด้วยกับโจทก์ขณะโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์แล้วฝากในบัญชีเงินฝากประเภทประจำ เป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ช. ได้รับเงินที่ส่งมาแล้วและได้ส่งมอบให้โจทก์ เป็นผลให้เงินจำนวนสิบล้านเยนตกเป็นของโจทก์โดยการให้โดยเสน่หาจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจโอนเงินในบัญชีเงินฝากประเภทประจำดังกล่าวของโจทก์คืนให้แก่ ช. โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริตและขาดความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินที่ภริยากู้โดยสามีไม่ยินยอม ไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ หากเป็นการกู้ส่วนตัวไม่ใช่การจัดการสินสมรส
จำเลยเป็นหญิงมีสามี สมัครใจทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าสัญญากู้ทำขึ้นเพราะถูกบังคับหรือสำคัญผิดก็ย่อมเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้สามีจำเลยไม่ได้ให้ความยินยอมในการกู้เงินก็ไม่ทำให้สัญญากู้ดังกล่าวเป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการกู้เงินของจำเลยไม่ใช่การจัดการเกี่ยวกับสินสมรสที่จะต้องให้สามีจำเลยยินยอม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรอกเงื่อนไขทดลองงานและซื้อหุ้นในใบสมัครงานโดยความยินยอม ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานโดยกรอกข้อความในใบสมัครเว้นว่าง ไว้แต่ในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ด้านหลังใบสมัคร จำเลยซึ่งเป็น ผู้อำนวยการบริษัทได้กรอกข้อความลงในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ภายหลังจากที่บริษัทได้มีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์เข้า ทำงานแล้ว แต่จำเลยกระทำไปตรงตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ทำไว้กับโจทก์ก่อนยื่นใบสมัครทั้งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการและระเบียบข้อบังคับของบริษัท เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์และเมื่อข้อความที่จำเลยกรอกนั้นตรงตามที่ได้ตกลงกับโจทก์ไว้ จำเลยก็มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราแม้ได้รับความยินยอมพักนอนนอกชานแล้ว การบุกรุกเข้าไปในห้องนอนถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
ผู้เสียหายยอมให้จำเลยพักนอนที่นอกชานเท่านั้น การที่จำเลย เข้าไปในห้องนอนของผู้เสียหายเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานบุกรุก.
of 57