คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าชดเชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,092 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5880/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างในระหว่างการชำระบัญชีองค์กร, สิทธิลูกจ้างชั่วคราว, และการคำนวณค่าชดเชย
จำเลยที่ 10 และที่ 11 มิได้เป็นนายจ้างของโจทก์มิได้เกี่ยวกับการเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 10 และที่ 11 ให้รับผิดในส่วนนี้เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
ตาม พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520 พ.ศ.2528 มาตรา 4 องค์การเหมืองแร่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้ถูกยกเลิกตามมาตรา 3 ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีและมาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งบุคคลขึ้นคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 11 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีอำนาจแต่งตั้งคณะผู้ช่วยผู้ชำระบัญชีเพื่อดำเนินการชำระบัญชีได้ และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีคำสั่งจ้างโจทก์เป็นผู้ช่วยผู้ชำระบัญชีก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เสร็จสิ้นไป หากพนักงาน ลูกจ้าง และคนงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะปฏิบัติงานต่อไป จำเลยก็ย่อมมีสิทธิเลิกจ้างเป็นรายบุคคลได้ดังนี้ เมื่องานเกี่ยวกับการชำระบัญชีหมดลง กรณีไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างโจทก์เพื่อปฏิบัติงานต่อไป การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามพ.ร.ฎ.ดังกล่าวที่ให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่เป็นหนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดรับผิดชำระดอกเบี้ยต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ค่าจ้าง
สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์มิได้หยุดและค่าชดเชยเป็นหนี้เงินที่กฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถามดังนั้น จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าวนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ดังกล่าว
คำฟ้องโจทก์ระบุอัตราค่าจ้างของโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8ไว้แล้ว และจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธอัตราค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนดังกล่าวไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชยแก่โจทก์ผิดพลาดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 คำนวณค่าชดเชยตามคำขอท้ายฟ้องมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ดังกล่าวได้รับค่าชดเชยในจำนวนที่ถูกต้อง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว การที่โจทก์มาทำงานภายหลังวันที่จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว
ศาลฎีกาเคยย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นเรื่องค่าบำเหน็จแล้ว แต่ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนอีกได้
จำเลยจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างเพียงฉบับละ 1 เดือน เป็นการจ้างชั่วคราวเพื่อให้การชำระบัญชีของจำเลยที่ 1เสร็จสิ้นไป หากพนักงานลูกจ้างและคนงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะพึงปฏิบัติงานต่อไป จำเลยก็จะเลิกจ้างเป็นรายบุคคลไป แต่ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 5กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี เมื่อออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ นอกจากถูกลงโทษ ปลดออก หรืออื่น ๆ มีสิทธิได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินเดือนหรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งคูณด้วยระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานคิดเป็นปีและโจทก์จะทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก็ตาม แต่เมื่อการนับเวลาทำงานตามข้อ 6 ให้ถือหลักเกณฑ์โดยนับแต่วันที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการบรรจุในอัตราประจำ ดังนี้การที่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานในระหว่างการชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการชั่วคราวมีระยะเวลาจ้างครั้งละ 1 เดือน หาได้บรรจุในอัตราประจำไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หนังสือเรื่องโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจใหม่ ประกอบบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจและโครงสร้างเงินเดือนกับโครงสร้างเงินเดือนที่ปรับใหม่มีระบุอัตราเงินเดือน ขั้นเงินเดือนถึง 53 ขั้น และมีขั้นวิ่ง ซึ่งการปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจนั้นใช้กับพนักงานลูกจ้างที่ทำงานประจำโดยมีการบรรจุในอัตราประจำ แต่เมื่อจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานในระหว่างการชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการชั่วคราว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชย โดยไม่ระบุให้จำเลยคนใดต้องรับผิดนั้น ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและค่าหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ถูกเลิกจ้าง
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาระหว่างรัฐวิสาหกิจกับพนักงานอาจมีได้และไม่อยู่ในบังคับแห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ที่กำหนดเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ถูกเลิกจ้างไว้ในข้อ 45 วรรคหนึ่งโดยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานในกรณีที่เลิกจ้าง ตามความในวรรคสามที่กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การจ้างพนักงานเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการซึ่งรัฐวิสาหกิจและพนักงานตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดยมีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ และให้หมายความรวมถึงกรณีที่สัญญาจ้างดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วแต่งานยังไม่แล้วเสร็จ หากรัฐวิสาหกิจและพนักงานจะตกลงต่อสัญญาจ้างกันอีก ระยะเวลาการจ้างทั้งสิ้นรวมแล้วจะต้องไม่เกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกด้วย
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่ารัฐวิสาหกิจจำเลยประกอบธุรกิจและมีวัตถุประสงค์ในการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ให้แก่บุคคลทั่วไป จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำหน้าที่ขับรถยนต์ งานที่จำเลยให้โจทก์ทำไม่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 กำหนดไว้ในข้อ 8 วรรคหนึ่งว่า พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละหกวันทำงาน โดยให้รัฐวิสาหกิจเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ และข้อ 20 กำหนดว่า ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดต่อไปนี้...(3)วันหยุดพักผ่อนประจำปี และข้อ 21 กำหนดว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจเลิกจ้างพนักงานโดยพนักงานมิได้มีความผิดตามข้อ 46 ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่พนักงานมีสิทธิได้รับตามข้อ 8และข้อ 20 ด้วย ดังนี้ รัฐวิสาหกิจจึงมีหน้าที่ต้องกำหนดวันที่ที่จะให้พนักงานหยุดพักผ่อนประจำปีแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าหรือจัดให้พนักงานได้หยุดพักผ่อนประจำปี ตามจำนวนวันที่กฎหมายกำหนด เมื่อรัฐวิสาหกิจมิได้กำหนดหรือจัดให้พนักงานหยุดพักผ่อนประจำปีต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่พนักงานที่ต้องไปทำงานโดยไม่ได้หยุดดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่พนักงานผู้นั้นถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดตามข้อ 46 รัฐวิสาหกิจไม่อาจอ้างได้ว่าพนักงานไม่ใช้สิทธิหยุดงานเองจึงไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อการที่จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปหรือไม่ต่อสัญญาจ้างมิใช่ผลของการสิ้นสุดแห่งสัญญา แต่เป็นการเลิกจ้าง และไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดตามข้อ 46 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เหตุทะเลาะวิวาทนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลา
คำให้การของจำเลยอ้างแต่เพียงว่าเหตุที่เลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทะเลาะวิวาททำร้ายผู้อื่นในสถานที่ทำงานของจำเลย อันเป็นเหตุเลิกจ้างตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 3.9.1 เท่านั้น หาได้อ้างเหตุเลิกจ้างอื่นตามข้อ 3.9.8 และข้อ 3.9.9 ด้วยไม่ การที่จำเลยอุทธรณ์อ้างเหตุเลิกจ้างตามข้อ3.9.8 และข้อ 3.9.9 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงาน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 3.9.1 จะมีข้อความว่า "พนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัทฯ..." แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส.ที่ถนนในบริเวณบริษัท มิใช่ภายในอาคารที่ทำงานหรือที่เก็บสินค้าของจำเลย ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 17 นาฬิกา หลังจากเลิกงานแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่า ส.ได้รับบาดเจ็บพฤติการณ์และการกระทำของโจทก์จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยลูกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศ มท.
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคท้าย ได้กำหนดเงื่อนไขในการที่ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าชดเชยเพราะเหตุที่เป็นลูกจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างไว้แน่นอน จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างได้จ้างลูกจ้างเพื่อทำงานประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้คือ
1. ทำงานตามโครงการเฉพาะซึ่งมิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างโดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
2. ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวซึ่งมีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
3. ทำงานที่เป็นไปตามฤดูกาลโดยได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น
ซึ่งงานทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ลูกจ้างจึงจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย แต่บริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างมีวัตถุประสงค์ทำการก่อสร้าง รับงานโครงการไว้ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 1 แห่งจังหวัดขอนแก่น 1 แห่ง และจังหวัดสมุทรสงคราม 1 แห่ง งานก่อสร้างของจำเลยตามโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวจึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยในการที่จะไปรับจ้างก่อสร้าง ทั้งงานที่จำเลยจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเกี่ยวข้องกับระยะเวลาการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานแต่อย่างใด จำเลยจ้างโจทก์ 1 ปีและจ้างติดต่อไปอีก 6 เดือน การจ้างงานในกรณีดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
จำเลยจ้างโจทก์ติดต่อกันมาตามสัญญาจ้างสองฉบับโดยมิได้มีการเลิกจ้าง การนับระยะเวลาจึงต้องนับต่อเนื่องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554-4555/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การปิดบังข้อมูลการทำงานของเพื่อนร่วมงานไม่ใช่ความผิดร้ายแรงเพียงพอที่จะไม่ออกค่าชดเชย
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เรื่อง วินัยและโทษทางวินัย ระบุว่าการทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก ปลอมแปลงเอกสารหรือกระทำความผิดโดยเจตนาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ที่บริษัทมอบหมาย ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น ปิดบัง อำพราง การกระทำผิดของตนเอง หรือเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม ก็หามีผลว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทุกกรณีไปไม่ การกระทำใดจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่จักต้องพิจารณาพฤติการณ์ความเป็นจริงเป็นกรณีไป
โจทก์ที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้นดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะทราบว่าลูกจ้างจำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะ ประเภท และชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไปทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นการปิดบังอำพรางการกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงทั้งไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่ใช่โครงการเฉพาะ
จำเลยประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เคยทำการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่หลายแห่ง ได้แก่โครงการต่อท่อน้ำมันที่จังหวัดสระบุรีโครงการก่อสร้างท่าเรือและติดตั้งท่อน้ำมันที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และโครงการติดตั้งเครื่องมือผลิตเม็ดพลาสติกของบริษัท ม.ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นงานที่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานอยู่ด้วย การที่จำเลยประกอบธุรกิจในการรับเหมาก่อสร้าง เคยรับเหมาก่อสร้างท่าเรือและโรงงานต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง รวมทั้งรับเหมาติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัท ม.อันเป็นงานพิพาทในคดีนี้ด้วย งานติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกถือได้ว่าเป็นงานก่อสร้างอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติธุระ การที่จำเลยรับจ้างทำงานดังกล่าวให้แก่บริษัท ม.จึงเป็นการรับจ้างทำงานในกิจการอันเป็นปกติธุรกิจของจำเลย และไม่ว่าจำเลยจะรับจ้างทำงานนั้นมากน้อยเพียงใดและเป็นระยะเวลาเท่าใด งานนั้นก็ย่อมไม่เป็นงานโครงการเฉพาะซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานดังกล่าวไม่ว่าจำเลยจะทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาเท่าใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานก่อสร้างปกติธุรกิจ ไม่เป็นงานโครงการเฉพาะ ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจในการรับเหมาก่อสร้างเคยรับเหมาก่อสร้างท่าเรือและโรงงานต่างๆมาแล้วหลายแห่งรวมทั้งรับเหมาติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัทม. อันเป็นงานพิพาทในคดีนี้ด้วยงานติดตั้งเครื่องจักรพลาสติกถือได้ว่าเป็นงานก่อสร้างอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติธุระการที่จำเลยรับจ้างทำงานดังกล่าวให้แก่บริษัทม.จึงเป็นการรับจ้างทำงานในกิจการอันเป็นปกติธุระของจำเลยนั่นเองดังนั้นแม้จำเลยจะรับจ้างทำงานนั้นมากน้อยเพียงใดเป็นระยะเวลาเท่าใดงานนั้นก็ย่อมไม่เป็นงานโครงการเฉพาะซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสี่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานดังกล่าวไม่ว่าจะทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาเท่าใดเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานก่อสร้างปกติธุรกิจ ไม่ใช่โครงการเฉพาะ ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเคยทำการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่หลายแห่งได้แก่โครงการต่อท่อน้ำมันที่จังหวัดสระบุรีโครงการก่อสร้างท่อเรือและติดตั้งท่อน้ำมันที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีและโครงการติดตั้งเครื่องมือผลิตเม็ดพลาสติกของบริษัทม. ที่จังหวัดระยองซึ่งเป็นงานที่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานอยู่ด้วยการที่จำเลยประกอบธุรกิจในการรับเหมาก่อสร้างเคยรับเหมาก่อสร้างท่าเรือและโรงงานต่างๆมาแล้วหลายแห่งรวมทั้งรับเหมาติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัทม. อันเป็นงานพิพาทในคดีนี้ด้วยงานติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกถือได้ว่าเป็นงานก่อสร้างอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติธุระการที่จำเลยรับจ้างทำงานดังกล่าวให้แก่บริษัทม. จึงเป็นการรับจ้างทำงานในกิจการอันเป็นปกติธุรกิจของจำเลยและไม่ว่าจำเลยจะรับจ้างทำงานนั้นมากน้อยเพียงใดและเป็นระยะเวลาเท่าใดงานนั้นก็ย่อมไม่เป็นงานโครงการเฉพาะซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสี่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานดังกล่าวไม่ว่าจำเลยจะทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาเท่าใดเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสละสิทธิในโครงการลาออกด้วยความสมัครใจมีผลผูกพัน หากครอบคลุมค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว
การที่โจทก์สมัครใจเข้าร่วมโครงการลาออกด้วยความสมัครใจของจำเลยโดยในเอกสารมีข้อความว่าข้าพเจ้าขอสละสิทธิและขอปลดเปลื้องบริษัทจากข้อเรียกร้องทั้งปวงความรับผิดข้อเรียกร้องและมูลคดีที่ข้าพเจ้าซึ่งเคยมีกำลังมีหรืออาจเรียกร้องให้มีได้ในอนาคตต่อบริษัทฯลฯทั้งยังมีข้อความว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามโครงการดังกล่าวเป็นเงินทุกประเภทที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ย่อมหมายความว่าการที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวน590,894.91บาทตามโครงการลาออกด้วยความสมัครใจได้รวมเงินทุกประเภทที่โจทก์อาจเรียกร้องจากจำเลยได้อยู่แล้วดังนั้นข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ใดๆจากจำเลยอีกเพราะจำเลยได้จ่ายเงินที่โจทก์พึงจะได้รับตามกฎหมายให้แก่โจทก์หมดแล้วซึ่งไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกผลประโยชน์ใดๆจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากคำด่าที่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้ด่า ส.ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่า "ตอแหล" ต่อหน้าพนักงานอื่นในสถานที่ทำงานขณะที่ ส.สั่งห้ามพนักงานพูดเสียงดัง การที่โจทก์ด่า ส.โดยใช้ถ้อยคำว่า "ตอแหล" ซึ่งมีความหมายว่าเป็นคนพูดเท็จ อันเป็นการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาด้วยการใช้วาจาดูหมิ่น เหยียดหยามและก้าวร้าว เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งจำเลยได้จัดไว้ในหัวข้อเรื่องวินัยและความประพฤติทั่วไปของพนักงาน แยกต่างหากจากหัวข้อเรื่องความผิดร้ายแรงซึ่งได้ระบุการกระทำที่เป็นความผิดร้ายแรงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นความผิดกรณีร้ายแรงแต่อย่างใดดังนั้น เมื่อปรับการกระทำของโจทก์กับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าวแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นเพียงฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีทั่วไป หาเป็นความผิดกรณีร้ายแรงไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
of 110