คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว การค้ำประกันมีผลถึงวงเงินที่จำนองเท่านั้น ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากหนี้เมื่อเจ้าหนี้ไม่รับชำระ
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาทหรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน400,000 บาท เท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคแรก แล้วเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701, 727ประกอบด้วยมาตรา 744 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและจำนองทรัพย์สินจำกัดตามจำนวนเงินกู้เดิม แม้เจ้าหนี้ขยายวงเงินกู้
จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ต่อมาได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ หลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 20 กันยายน2529 ไปจนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2531 ซึ่งโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกเงินจากบัญชีดังกล่าว หรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นสองครั้ง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีพฤติการณ์แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ถือว่าสัญญาเลิกกันนับแต่วันที่ 20กันยายน 2529 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันดังกล่าว หามีสิทธิคิดถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2531 ไม่ จำนวนยอดหนี้ในวันที่ 20 กันยายน 2529 อันเป็นวันสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันไม่มีระบุไว้ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่โจทก์ส่งศาล คงระบุไว้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2529 และวันที่ 30 กันยายน2529 ดังนี้ ศาลย่อมคำนวณดอกเบี้ย ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2529ถึงวันที่ 20 กันยายน 2529 ตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด แล้วนำไปรวมกับยอดหนี้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2529 เป็นยอดหนี้ในวันที่20 กันยายน 2529 ได้เอง ศาลฎีกาคำนวณรวมยอดหนี้ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องร่วมกันชำระแก่โจทก์รวม 479,159.58 บาท แต่ศาลอุทธรณ์คำนวณรวมยอดหนี้ได้ 479,029.59 บาท เป็นการคำนวณผิดพลาดไปเล็กน้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมีข้อความทำนองเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้กับโจทก์เป็นจำนวน 400,000บาทหรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดก็ตาม ก็เป็นการผูกพันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ และแม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความตอนท้ายว่า "ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง" และข้อความว่า"ถ้าแม้ว่าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และหรือไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวมาแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด... ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญานั้นทันที" ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้(จำเลยที่ 1) ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาทันทีและโดยสิ้นเชิงภายในต้นเงิน 400,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับลูกหนี้แต่อย่างใด จำเลยที่ 3 ขอชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อหนี้ถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรกแล้ว โจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 โดยจะให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 3 ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้รายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามวงเงินกู้ที่ระบุในสัญญา แม้เจ้าหนี้ยินยอมให้กู้เกินวงเงิน
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกแม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท หรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้เรื่องเอกสารปลอมและการนำสืบพยานนอกคำให้การในคดีค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ สัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร หากจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็จะต้องรับผิดไม่เกิน 150,000 บาท ดังนี้คำให้การจำเลยที่ 2 ตอนต้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงส่วนตอนหลังเป็นเรื่องปัญหาข้อกฎหมายว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด หาได้ขัดกันไม่จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหรือไม่ และจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด
คำให้การของจำเลยทื่ 2 ดังกล่าว ไม่ได้ให้การในรายละเอียดว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำสืบว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องนอกคำให้การ จึงรับฟังไม่ได้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ให้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2เป็นคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมที่ถูกข่มขู่ แต่ไม่บอกล้างภายในหนึ่งปี ย่อมมีผลผูกพัน และผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามไปด้วย
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์จะทำหนังสือให้ความยินยอมรับสภาพหนี้ที่ ธ. ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะถูกโจทก์ข่มขู่อันจะเป็นเหตุให้หนังสือให้ความยินยอมตกเป็นโมฆียะกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้บอกล้างหนังสือให้ความยินยอมภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หนังสือให้ความยินยอมย่อมมีผลใช้บังคับ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามที่ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมไว้ และเมื่อหนี้ตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระไว้เป็นการแน่นอน ทั้งการที่กำหนดให้โจทก์ไปดำเนินการเรียกร้องจาก ธ.และธนาคาร อ. ก่อน แล้วจำเลยที่ 1 จะชำระส่วนที่เรียกร้องไม่ได้ก็หาเป็นการที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้แต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันยกเลิกโดยปริยายจากการทำสัญญาค้ำประกันใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว.ในตำแหน่งพนักงานของโจทก์ สาขานครราชสีมา ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้ ว.เป็นผู้จัดการของโจทก์ สาขาสีคิ้ว โจทก์ยอมรับจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว.ในตำแหน่งผู้จัดการ สาขาสีคิ้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 2ผูกพันตามสัญญาค้ำประกันต่อไป ถือว่าสัญญาค้ำประกันถูกยกเลิกโดยปริยาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองเพื่อประกันการค้ำประกัน vs. หนี้เบิกเกินบัญชี: สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ใด
จำเลยที่ 3 มอบอำนาจให้ ช. จำนองที่ดินกับโจทก์ โดยระบุในหนังสือมอบอำนาจและสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน117,000 บาท จึงเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้ดังกล่าว หาใช่หนี้อื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ด้วยไม่ ที่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินข้อ 5 ระบุว่า ส่วนข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาต่อท้ายนั้น ย่อมหมายถึงข้อตกลงที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย นอกจากที่กล่าวไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต้องถือเอาข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักในการพิจารณา โดยข้อความในสัญญาต่อท้ายเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นดังนั้นแม้หนังสือสัญญาต่อท้าย จะมีข้อความระบุว่า เพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้สินอื่นใดซึ่งผู้จำนองหรือจำเลยที่ 1เป็นหนี้ธนาคารอยู่ในเวลานี้หรือต่อไปในภายหน้าในวงเงินไม่เกิน117,000 บาท จึงจะตีความว่ารวมถึงหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 มีอยู่กับโจทก์ด้วยหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 3 นำสืบพยานบุคคลว่า การจำนองที่ดินตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง เป็นการจำนองเพื่อประกันการที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร โดยไม่รวมถึงหนี้ตามฟ้องโจทก์ เป็นการนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ไม่มีหนี้ตามฟ้องต่อกัน สัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามฟ้องไม่เกิดขึ้นหรือไม่สมบูรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันการค้ำประกัน vs. หนี้เบิกเกินบัญชี สัญญาจำนองชัดเจน ศาลฎีกาตัดสินตามเจตนา
ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า จำเลยที่ 3 มอบอำนาจให้ ช.ทำการจำนองที่ดิน 2 แปลง ตามโฉนดที่ดินที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจเพื่อเป็นประกันการที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน 117,000 บาท และตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายก็มีข้อความระบุว่าผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนเงิน 117,000 บาทข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือสัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวย่อมเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า เป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้ที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน117,000 บาท เท่านั้น หาได้จำนองเพื่อประกันหนี้อื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ไม่ ส่วนที่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินมีข้อความว่าส่วนข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาต่อท้ายของธนาคารรวมอยู่ด้วยนั้น ย่อมหมายถึงข้อตกลงที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยนอกจากที่กล่าวไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน แต่ก็ต้องถือเอาข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักในการพิจารณาว่า คู่กรณีมีเจตนาในการจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้อะไรและมีจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด ข้อความในสัญญาต่อท้ายเป็นเพียงส่วนประกอบของหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเท่านั้น แม้ตามหนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินจะมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า เพื่อเป็นประกันเงินซึ่งผู้จำนองหรือจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า ลูกหนี้ ได้หรือจะได้กู้ไปจากธนาคาร ได้เบิกหรือจะได้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากธนาคาร และหนี้สินอื่นใดซึ่งลูกหนี้หรือผู้จำนองเป็นหนี้ธนาคารอยู่ในเวลานี้ หรือที่จะเป็นต่อไปในภายหน้าในวงเงินไม่เกิน 117,000 บาท แต่ข้อความดังกล่าวจะตีความว่ารวมถึงหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 มีอยู่กับโจทก์หาได้ไม่ เพราะถ้าโจทก์และจำเลยที่ 3 มีเจตนาที่จะให้จำเลยที่ 3 จำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ด้วย ก็คงจะต้องระบุข้อความดังกล่าวรวมทั้งจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ในวันที่จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายด้วย การที่จำเลยที่ 3 นำพยานบุคคลมาสืบว่า การจำนองที่ดินตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันการที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร โดยไม่รวมถึงหนี้ตามฟ้องโจทก์ด้วยนั้นเท่ากับเป็นการนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3ไม่มีหนี้ตามฟ้องที่จะต้องรับผิดต่อกันสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามฟ้องไม่เกิดขึ้นหรือไม่สมบูรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ที่จำเลยที่ 3 จะนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานความรับผิดของผู้รับอาวัล vs. ผู้ค้ำประกัน และอายุความของตั๋วสัญญาใช้เงิน
ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏความข้อใดเลยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดแล้ว จำเลยที่ 2จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือแม้แต่คำว่า "ค้ำประกัน" ก็ไม่ปรากฏฐานะของจำเลยที่ 2 คงระบุเพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลเท่านั้น แม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 940โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปใน มาตรา 700ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์นอกเหนือไปจากการเป็นผู้รับอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อันจะทำให้คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม หากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเท่านั้น ซึ่งมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม มาตรา 1001 ประกอบ มาตรา 940
แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะได้ผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้นอายุความในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967, 985

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน กรณีไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน
ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏความข้อใดเลยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดแล้ว จำเลยที่ 2จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือแม้แต่คำว่า "ค้ำประกัน" ก็ไม่ปรากฏฐานะของจำเลยที่ 2 คงระบุเพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลเท่านั้น แม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปใน มาตรา 700ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์นอกเหนือไปจากการเป็นผู้รับอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อันจะทำให้คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิมหากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเท่านั้นซึ่งมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม มาตรา 1001 ประกอบมาตรา 940 แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น อายุความในส่วนของจำเลยที่ 2จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967,985
of 61