พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684-5685/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่า VS คำวินิจฉัยการจดทะเบียน
คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิตามที่โจทก์ได้รับความคุ้มครองดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29วรรคสองเป็นคนละกรณีกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา22ที่วินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้ที่โอนเครื่องหมายการค้านั้นให้โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5663/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถจากการขายทอดตลาด: ข้อจำกัดในการจดทะเบียนกรณีทะเบียนซ้ำ และความเกี่ยวข้องกับคดีล้มละลาย
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า ป.เป็นผู้ซื้อรถยนต์กึ่งพ่วงได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ แล้ว ป.ขายต่อให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนขนส่งจังหวัดเพื่อจดทะเบียนการโอนย้ายและเปลี่ยนทะเบียนใหม่ แต่นายทะเบียนขนส่งจังหวัดไม่สามารถจดทะเบียนการโอนได้เพราะรถพ่วงเลขทะเบียนซ้ำกับทะเบียนรถคันอื่นขอให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนขนส่งจังหวัดจดทะเบียนรถพ่วงให้แก่ผู้ร้อง ตามคำร้องของผู้ร้อง มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146ในอันที่จะยื่นคำร้องเข้ามาในคดีในชั้นรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินได้ หากผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวกับผู้เกี่ยวข้องต่างหากจากคดีในชั้นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5663/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถจากการขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ติดปัญหาเลขทะเบียนซ้ำ ศาลไม่อำนาจสั่งจดทะเบียน
ป. ซื้อรถยนต์บรรทุกจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ป. ขายต่อให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนขนส่งจังหวัด เพื่อจดทะเบียนการโอนย้ายและเปลี่ยนทะเบียนใหม่ แต่นายทะเบียนไม่สามารถจดทะเบียนการโอนได้เพราะหมายเลขทะเบียนซ้ำกับทะเบียนรถคันอื่น ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนขนส่งจังหวัดจดทะเบียนรถให้แก่ผู้ร้อง กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ในอันที่จะยื่นคำร้องเข้ามาในคดีในชั้นรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินได้ หากผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวกับผู้เกี่ยวข้องต่างหากจากคดีในชั้นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนมีสิทธิที่ดีกว่า แม้จะจดทะเบียนภายหลัง
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่า ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตาม ทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า แม้จดทะเบียนในไทยทีหลัง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่าทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้นหาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้วจำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตามทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากเป็นการลวงสาธารณชนและมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบินเมื่อวันที่18มีนาคม2534นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมีคำสั่งให้โฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านลงวันที่4ตุลาคม2534ถือได้ว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนวันที่14กุมภาพันธ์2535ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา119(2)ซึ่งบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎเป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริตเมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้านนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โจทก์มีอำนาจฟ้อง เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดมีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวาและมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า"ตรามงกุฎบิน"อยู่ข้างล่างทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก1รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD.วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก17ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอดประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎแม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้านก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนักส่วนอักษรไทยคำว่าตรามงกุฎบินก็มีขนาดเล็กไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลยแม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก1ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก17แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานานจำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว20ปีจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีรูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีกและสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ๆโดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนกับสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าเดิม และการใช้สิทธิไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกในลักษณะประดิษฐ์คล้ายรูปนกอินทรี ซึ่งเป็นนกประเภทเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยรูปนกดังกล่าวเป็นรูปนกในลักษณะกางปีกหลายลำตัวด้านท้องออก หันหัวไปทางด้านซ้ายมือ มีหงอนที่หัวและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีอักษรไทยกำกับภายใต้รูปนกว่า "ตรานกถือเกรียง" ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะสำคัญเป็นรูปนกอินทรีกางปีกหันข้างและขาทั้งสองข้างมิได้ถือเกรียงโบกปูนและอยู่ภายใต้กรอบวงกลมโดยมีอักษรไทยคำว่าบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงจำกัด และอักษรโรมันคำว่า SIAM CITY CEMENT CO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นใน และในอีกลักษณะหนึ่งวางอยู่ในกรอบวงกลมชั้นเดียว เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปนกอินทรี มีลักษณะเด่นคือรูปนกอินทรีที่กางปีกอยู่ในกรอบคล้ายคลึงกันประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรานกอินทรี แม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่รูปเเครื่องหมายกาค้าของจำเลยเป็นรูปนกอินทรีหันหน้าไปทางด้านซ้าย หงายลำตัวด้านท้องออกและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนและมีอักษรไทยคำว่า ตรานกถือเกรียงอยู่ใต้ปูนก็ตาม ก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น ทั้งรูปเกรียงและอักษรไทยดังกล่าวก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่น ไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกต ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมซีเมนต์ แม้จะเป็นสินค้าในจำพวกที่ 1ต่างจำพวกกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวกที่ 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการกสอร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีมานาน และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะบเยนเครื่องหมายการค้าภายหลังโจทก์ 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีหันข้างและกางปีกเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้ จำเลยเคยถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปของมงกุฎ รูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับปูนซีเมนต์ ก็ปากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในรูปของเพชรมีปีก มงกุฎมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลก ใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกในลักษณะประดิษฐ์คล้ายรูปนกอินทรีซึ่งเป็นนกประเภทเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยรูปนกดังกล่าวเป็นรูปนกในลักษณะกางปีกหงายลำตัวด้านท้องออกหันหัวไปทางด้านซ้ายมือมีหงอนที่หัวและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีอักษรไทยกำกับภายใต้รูปนกว่า"ตรานกถือเกรียง"ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะสำคัญเป็นรูปนกอินทรีกางปีกหันข้างและขาทั้งสองข้างมิได้ถือเกรียงโบกปูนและอยู่ภายในกรอบวงกลมโดยมีอักษรไทยคำว่าบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัดและอักษรโรมันคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในและในอีกลักษณะหนึ่งวางอยู่ในกรอบวงกลมชั้นเดียวเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปนกอินทรีมีลักษณะเด่นคือรูปนกอินทรีที่กางปีกอยู่ในกรอบคล้ายคลึงกันประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรานกอินทรีแม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกอินทรีหันหน้าไปทางด้านซ้ายหงายลำตัวด้านท้องออกและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนและมีอักษรไทยคำว่าตรานกถือเกรียงอยู่ใต้รูปนกก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้นทั้งรูปเกรียงและอักษรไทยดังกล่าวก็มีขนาดเล็กไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของจำเลยจำเลยขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมซีเมนต์แม้จะเป็นสินค้าในจำพวกที่1ต่างจำพวกกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวกที่17แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีมานานและได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปจำเลยเพิ่งจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทภายหลังโจทก์20ปีจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีหันข้างและกางปีกเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้จำเลยเคยถูกฟ้องในข้อหาเสียลนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปของมงกุฎรูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในรูปเพชรมีปีกมงกุฏมีปีกและสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับโจทก์เป็นคู่ๆโดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้มูลนิธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน: นิติกรรมเป็นโมฆะ, เจ้าพนักงานเพิกถอนได้
มูลนิธิที่จะเป็นนิติบุคคลได้ต้องเป็นมูลนิธิที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว เมื่อขณะรับการให้มูลนิธิผู้รับโอนยังไม่เป็นนิติบุคคล ย่อมถือว่าเป็นการให้ที่ผู้โอนให้สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมทำให้นิติกรรมการให้เป็นโมฆะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ได้รับเรื่องราวตาม ป.ที่ดิน มาตรา61 ย่อมเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการให้ได้ หาจำต้องให้ผู้โอนให้ไปฟ้องร้องเพื่อเพิกถอนการให้ตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการเพิกถอนการให้ก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินแก่มูลนิธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นโมฆะ เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนการจดทะเบียนได้
มูลนิธิที่จะเป็นนิติบุคคลได้ต้องเป็นมูลนิธิที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วเมื่อขณะรับการให้มูลนิธิผู้รับโอนยังไม่เป็นนิติบุคคลย่อมถือว่าเป็นการให้ที่ผู้โอนให้สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมทำให้นิติกรรมการให้เป็นโมฆะจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ได้รับเรื่องราวตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61ย่อมเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการให้ได้หาจำต้องให้ผู้โอนให้ไปฟ้องร้องเพื่อเพิกถอนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเพิกถอนการให้ก่อนไม่