คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิในการฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์ภายหลังการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และได้ยื่นฎีกาหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเะพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ใช้บังคับแล้ว การพิจารณาว่าจำเลยจะฎีกาได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ยื่นฎีกา คดีนี้มีทุนทรัพย์ 48,881 บาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัดสิทธิ โดยมิได้ยกข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ที่ให้จำเลยอาศัย ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่า ในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้เดือนละเท่าใด แต่ปรากฏตามสำนวนคดีแพ่งคดีอื่นที่จำเลยอ้างต่อสู้คดีว่าที่พิพาทรายนี้เป็นของวัดสุบรรณนิมิตร จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับวัดสุบรรณนิมิตรในสำนวนดังกล่าวโดยวัดสุบรรณนิมิตรให้จำเลยเช่ามีกำหนด 10 ปี อัตราค่าเช่าปีละ 30 บาทเทียบได้เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 2.50 บาท ช่วงเวลาที่วัดให้จำเลยเช่าอยู่ระหว่างโจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงพอรับฟังว่า เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องนั้นที่พิพาทที่โจทก์ฟ้องในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าหรืออาศัย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2499 มาตรา 15 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหาข้อนี้ยุติตามคำวินิจฉัยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาว่าฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 หรือไม่ และกรณีไม่ได้เป็นเรื่องจำเลยแย่งการครอบครองจากโจทก์ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาบังคับแก่คดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายหลังสัญญาประนีประนอมฯ สิทธิเรียกร้องจำกัดเฉพาะคู่สัญญา
จำเลยที่ 1 จำนองที่พิพาทต่อจำเลยที่ 2 ภายในวงเงิน 400,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 2 ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้หนึ่งล้านบาทเศษ และต้องเอาที่พิพาทขายทอดตลาดชำระหนี้ด้วย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนการจำนองที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาท ตามสัญญาจำนอง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนการจำนองก็โดยโจทก์ใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ แต่ปรากฏว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จำเลยที่ 1 เองก็ไม่มีสิทธิจะไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 2 ในวงเงิน 400,000 บาทแล้ว ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับไถ่ถอนจำนองที่พิพาทในวงเงิน 400,000 บาทได้
ศาลมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในส่วนของโจทก์ที่ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ถูกละเมิดแม้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้
โจทก์หลายคนฟ้องจำเลยให้รับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกัน โดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเป็นจำนวนเท่าใดมาชัดเจน เป็นส่วนของแต่ละคนมิได้เรียกร้องเป็นจำนวนรวมกันมา เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์คนใดไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์คนนั้นมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
แม้ผู้ถูกทำละเมิดเป็นข้าราชการ มิสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ ก็ไม่ทำให้สิทธิของผู้ถูกทำละเมิดที่จะเรียกร้องจากผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดต้องระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826-830/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยในคดีอาญา ทำให้ไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149,83 ให้ลงโทษจำคุก 3 สำนวน สำนวนละ 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 คงให้ลงโทษจำคุกสำนวนละ 5 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเมื่อมิได้ยกประเด็นในชั้นต้น และการที่จำเลยไม่อุทธรณ์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น
จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อนี้
ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ฉะนั้น การบอกกล่าวบังคับจำนองจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ฎีกาประเด็นข้อนี้ จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น, โจทก์ฎีกาแต่ถูกจำกัดสิทธิเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 กระทงหนึ่งจำคุก 15 วัน และตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกอีกกระทงหนึ่ง จำคุก 2 เดือน กับให้ถอนใบอนุญาตขับรถของจำเลยศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะให้ยกคำขอให้ถอนใบอนุญาตขับรถของจำเลยเสีย โจทก์ฎีกาคัดค้านดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ถอนใบอนุญาตขับรถ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้ามฟ้อง: โจทก์มิอาจยกเหตุใหม่ในฎีกา หากมิได้ยกในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเพราะเห็นว่าจำเลยห้ามธนาคารไม่ให้ใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต ซึ่งมิใช่มูลคดีตามฟ้องของโจทก์ โดยศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งมิได้ยกปัญหาเรื่องจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คขึ้นอ้างอิงในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาที่ว่าจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจริงหรือไม่จึงไม่ใช่ปัญหาที่ว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ โจทก์จะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาถูกจำกัดสิทธิเนื่องจากศาลอุทธรณ์พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม ไม่เกิน 5 ปี และประเด็นข้อเท็จจริงเรื่องเจตนาฆ่า
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนาฆ่าเพราะไม่ปรากฏมูลเหตุจูงใจว่าจำเลยยิงผู้ตายเพราะเหตุใดเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2378/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในศาลแขวง: คดีไม่มีมูลอาญา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง ข้อหายักยอกทรัพย์ ศาลแขวงไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดทางอาญาพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ กรณีเช่นนี้คู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 มาตรา 22 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 10 แม้โจทก์จะได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฎีกาต่อไป
of 33