พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาหลอกลวงในคดีฉ้อโกงต้องมีเจตนาตั้งแต่แรก หากเป็นเพียงคำมั่นสัญญาในอนาคตยังไม่ถือเป็นข้อความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยให้คำรับรองต่อโจทก์ต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่าจะชำระหนี้แทน ส. ภายในวันที่ 30 เมษายน 2534และขอให้โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ โจทก์หลงเชื่อจึงถอนคำร้องทุกข์คำรับรองดังกล่าวจึงเป็นคำมั่นสัญญาที่จำเลยจะปฏิบัติในอนาคตขณะให้คำรับรองยังไม่ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดตามคำรับรองแล้วจำเลยจะไม่ไปปฏิบัติตามคำรับรอง คำรับรองดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อความเท็จนอกจากจำเลยมีความตั้งใจมาแต่แรกขณะให้คำรับรองว่าจะไม่ปฏิบัติตามคำรับรองจึงจะถือได้ว่าจำเลยแสดงข้อความเท็จ แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีความตั้งใจมาแต่แรกขณะให้คำรับรองว่าจะไม่ปฏิบัติตามคำรับรอง ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงคำรับรองว่าจะชำระหนี้แทนแล้วไม่ชำระ ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง หากไม่มีเจตนาทุจริตตั้งแต่แรก
องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341ต้องประกอบด้วยผู้หลอกลวงมีเจตนาทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและผลการหลอกลวงนั้นทำให้ผู้หลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยให้คำรับรองต่อโจทก์ต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่าจะชำระหนี้แทนนาง ส. และขอให้โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เป็นคำมั่นสัญญาที่จำเลยจะปฏิบัติในอนาคต คำรับรองดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อความเท็จ เพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีความตั้งใจมาแต่แรกขณะให้คำรับรองว่าจะไม่ปฏิบัติตามนั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง, เอกสารไม่สมบูรณ์ไม่เป็นเอกสารสิทธิปลอม, เจตนาใช้เอกสารปลอมเป็นรายกรรม, สามีภริยาไม่ได้หมายความว่ารู้เห็นผิดด้วยกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่ก่อนวันที่ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ทั้งบันทึกคำร้องทุกข์ก็ปรากฏว่าโจทก์ร้องทุกข์เมื่อเกิน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ในคำขอกู้เงินกรอกข้อความไว้แต่เพียงชื่อตัว ชื่อสกุล สังกัดอำเภอ และลายมือชื่อเท่านั้น มิได้กรอกข้อความจำนวนเงินที่ขอกู้ ในหนังสือกู้เงินก็มีเพียงลายมือชื่อผู้กู้ มิได้กรอกจำนวนเงินที่ขอกู้ และในใบมอบฉันทะก็มีเพียงลายมือชื่อผู้มอบฉันทะเท่านั้นมิได้กรอกข้อความว่ามอบฉันทะให้ผู้ใด จึงเป็นเอกสารที่ข้อความยังไม่สมบูรณ์ มิใช่เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ผู้ใช้เอกสารดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม การที่จำเลยที่ 2 ใช้เอกสารปลอมแต่ละชุดต่างหากจากกันเพื่อหลอกเอาเงินจากโจทก์ 9 ครั้ง ต่างวันเวลากันนั้น เป็นการมีเจตนาใช้เอกสารปลอมเพื่อหลอกเอาเงินจากโจทก์เป็นรายครั้ง จึงเป็นความผิด 9 กรรมต่างกัน แม้จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากันก็ตาม ก็มิใช่เหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นกับจำเลยที่ 2 ทุกกรณี เมื่อพยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำผิดฐานใช้เอกสารปลอม จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3986/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงต่างกรรม: การหลอกลวงต่อเนื่องสร้างความเสียหายแยกส่วน
จำเลยกับพวกใช้หลักฐานปลอมหลอกลวงโจทก์ร่วม โดยอ้างว่า ว.ขอเอาประกันชีวิตต่อบริษัทโจทก์ร่วม ซึ่งความจริง ว. ตัวจริงได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอันเป็นเอกสารสิทธิให้ การกระทำของจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงเสร็จเด็ดขาดกรรมหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยกับพวกได้สร้างสถานการณ์ว่าว. ผู้เอาประกันได้รับอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย เพื่อหลอกลวงโจทก์ร่วม จนโจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงจ่ายเงินตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้กับพวกของจำเลย แม้การกระทำครั้งหลังนี้จำเลยได้นำเอาผลของการกระทำครั้งก่อนมาเป็นส่วนประกอบ แต่การกระทำของจำเลยมีเจตนาจะทำให้ผลของการหลอกลวงทั้งสองครั้งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมแต่ละส่วนกัน การกระทำของจำเลยครั้งหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงต่างกรรมกับการกระทำครั้งแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357-358/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องชั่งผิดอัตราเพื่อฉ้อโกงทางธุรกิจ ศาลตัดสินลงโทษตามบทอาญาที่หนักที่สุด
จำเลยทั้งสามตกลงทำการชั่งเศษทองแดงที่จำเลยทั้งสามตกลงซื้อจากโจทก์ร่วมรวม 13 ครั้ง ต่างวันเวลากันด้วยเครื่องชั่งที่ผิดอัตราซึ่งถูกแก้ไขโดยเจตนาลดเครื่องชั่งทำให้ได้เศษทองแดงเกินไป เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270และพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31หลายกรรมต่างกัน รวม 13 ครั้ง แต่การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามแต่ละครั้งนั้น จำเลยทั้งสามมีและใช้เครื่องชั่งในวันเวลาเดียวกัน เท่ากับจำเลยทั้งสามมีเจตนาเดียวกันเป็นกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 270 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357-358/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องชั่งผิดอัตราเพื่อฉ้อโกงและบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192
จำเลยทั้งสามตกลงทำการชั่งเศษทองแดงที่จำเลยทั้งสามตกลงซื้อจากโจทก์ร่วมรวม 13 ครั้ง ต่างวันเวลากันด้วยเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา และถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยเจตนาลดเครื่องชั่งทำให้ได้เศษทองแดงเกินไป เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270และพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 หลายกรรมต่างกัน รวม 13 ครั้ง แต่การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งนั้นจำเลยทั้งสามมีและใช้เครื่องชั่งในวันเวลาเดียวกันเท่ากับจำเลยทั้งสามมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนเศษทองแดงหรือใช้ราคาแก่โจทก์ร่วม โดยโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามกระทงละ 6 เดือนและ 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามกระทงละ 3 เดือน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามไม่เกินกระทงละ 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกคู่ความฎีกาได้แต่ข้อกฎหมาย ที่จำเลยฎีกาว่าจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยทั้งสามกระทำความผิดเพียงสองกระทงนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลยพินิจในการลงโทษ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีฉ้อโกง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ประเด็นข้อเท็จจริง และการพิจารณาความผิดฐานอื่น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคหนึ่ง,83 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 82 เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 82 อันเป็นบทหนัก จำคุก 4 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่ง,83 จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ในข้อหาจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นนี้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่งมีการแก้ไขเฉพาะโทษ และเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคหนึ่ง,86 จำคุก 2 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 2 เข้ามอบตัวต่อสู้คดีเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษหนักเกินไป ควรกำหนดให้ใหม่ให้จำคุกจำเลยที่ 2 มี กำหนด 1 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 2 มอบตัวสู้คดีเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี ดังนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ส่วนข้อหาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่ง,86 นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขเฉพาะโทษ ให้จำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี เป็นเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 เป็นบิดาจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมหลอกลวงโจทก์ร่วมหรือพวกผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น นอกจากช่วยพูดจารับรองกับโจทก์ร่วมและพวกผู้เสียหายในวันสมัครงานว่าจำเลยที่ 1 สามารถส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้จริงและพูดจารับรองว่าจะคืนเงินให้หากไม่ได้ไปหรือไปแล้วไม่ได้ทำงานเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 แล้ว ในสำนวนแรกและสำนวนที่สามโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน และฟ้องสำนวนที่สองว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพวกของจำเลยที่ 1 ได้จัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายบางส่วนในสำนวนที่สองซึ่งเป็นชุดเดียวกับสำนวนแรกและสำนวนที่สามไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนให้ไปรอเข้าประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ประเทศมาเลเซียก่อน แต่ในที่สุดคนสมัครงานทุกคนก็ถูกส่งกลับประเทศไทยโดยไม่ได้เข้าทำงานที่ประเทศไต้หวันตามที่จำเลยที่ 1 กับพวกหลอกลวงไว้แม้แต่คนเดียว การส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปประเทศสิงคโปร์หรือประเทศมาเลเซียนั้นจึงเป็นเพียงวิธีการหรืออุบายอย่างหนึ่งในการกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชนซึ่งเป็นชุดเดียวกันนั่นเอง โดยจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ได้มีเจตนาที่จะจัดหางานหรือส่งคนสมัครงานไปทำงานในประเทศที่หลอกลวงไว้แต่อย่างใด และจากพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1กับพวกเคยส่งคนสมัครงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวันจริงการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 อีกบทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: การแสดงข้อความเท็จและเจตนาทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อโจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุคำว่า "โดยทุจริต" ไว้ก็ตาม แต่คำว่า"บังอาจ" กับข้อความที่ว่า "โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป" ประกอบกันก็บ่งอยู่แล้วว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการฉ้อโกง: การพิจารณาจากคำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อโจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุคำว่า "โดยทุจริต" ไว้ก็ตาม แต่คำว่า "บังอาจ" กับข้อความที่ว่า "โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป" ประกอบกันก็บ่งอยู่แล้วว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนและการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำเลยมีความผิดทั้งสองฐาน
การที่จำเลยกับพวกได้หลอกลวงผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศโดยเรียกเงินค่าดำเนินการหรือค่าใช้จ่ายในการสมัคร และจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานไปทำงานต่างประเทศดังนี้การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนงานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง อันเป็นการจัดหางานตามความหมายของ พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 4 แล้ว เมื่อจำเลยได้กระทำการดังกล่าวโดยรู้สำนึกในการกระทำ และขณะเดียวกันก็ประสงค์ต่อผลของการกระทำนั้นจึงถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดในฐานนี้อีกกระทงหนึ่ง.