คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชดใช้ค่าเสียหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นบังคับได้เพียง 3 ปี และการชดใช้ค่าเสียหายที่ลดลงตามส่วน
การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันมีกำหนดเวลา 14 ปีและมีข้อความว่า ผู้ให้เช่าจะร่วมกับผู้เช่ายื่นคำร้องขอจดทะเบียนการเช่าภายใน 7 วันนั้น สัญญาเช่ามีระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่ามีกำหนดเวลา 14 ปีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาถึงที่สุด: ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องที่ดินโจทก์และชดใช้ค่าเสียหาย แม้มีการตกลงนอกศาล
เมื่อศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์และให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามคำบังคับของศาล การที่จำเลยอ้างว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาตกลงยอมให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยนั้นเป็นการตกลงกันนอกศาล จำเลยจะยกมาเป็นเหตุให้งดการบังคับคดีเพื่อจะไม่ต้องปฏิบัติตามคำบังคับของศาลไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยประมาทและชดใช้ค่าเสียหาย ไม่เพียงพอต่อการรอการลงโทษ
การที่จำเลยกระทำโดยมิได้คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของผู้อื่นและต่อสู้คดีด้วยนั้น แม้จำเลยจะได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายผู้ตายซึ่งจำเลยต้องรับผิดทางแพ่งอยู่แล้วและจำเลยไปมอบตัวต่อเจ้าพนักงานก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณาถึงเรื่องที่จำเลยชดใช้ค่าเสียหายประกอบในการกำหนดโทษโดยลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี ในสถานเบาอยู่แล้วศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รอการลงโทษ ศาลฎีกาไม่รอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินข้างเคียงโดยประมาทเลินเล่อต้องรื้อถอนและชดใช้ค่าเสียหาย
ปลูกตึกแถวรุกล้ำที่ข้างเคียงโดยไม่ได้ให้เจ้าของชี้เขตและรังวัดสอบเขตก่อน เป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่สุจริต ต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำ ทำให้เป็นไปตามสภาพเดิม และใช้ค่าเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา การบอกเลิกสัญญาและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยได้รับการจัดสรรส่วนแบ่งสลากที่จะนำไปจำหน่ายจากสำนักงานสลากกินแบ่ง เรียกว่าผู้ได้รับโควต้า ซึ่งจะค้าสลากโดยตรงหรือจะมอบสลากให้ผู้อื่นไปจำหน่ายอีกต่อก็ได้ ถ้าจำเลยไปซื้อสลากจากกองสลากด้วยตนเองจำเลยจะต้องลงทุนใช้เงินส่วนตัวของจำเลยซื้อสลาก จำเลยจึงทำหนังสือมอบฉันทะซื้อสลากให้โจทก์เป็นผู้ซื้อมีระยะเวลา 1 ปีโดยตกลงกันว่าจำเลยจะได้ส่วนลดเล่มละ 8 บาท โจทก์ได้ส่วนลดเล่มละ 6 บาท โจทก์เป็นผู้ลงทุนซื้อสลากและต้องจำหน่ายสลากเอง มิได้นำมามอบให้จำเลย หากจำหน่ายไม่หมดโจทก์จะต้องขาดทุน แต่จำเลยยังได้รับส่วนลดเล่มละ 8 บาท เท่าเดิมโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงและเสี่ยงต่อการขาดทุนแต่อย่างใด ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญานอกจากโจทก์ยินยอมด้วยหรือโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่จำเลยถอนหนังสือมอบฉันทะขณะที่หนังสือนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ขาดรายได้ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฎีกาต้องมีปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด การชดใช้ค่าเสียหายไม่เป็นเหตุให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่จะรับเป็นฎีกาได้จะต้องปรากฏว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงลายมือชื่อรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากจำเลยได้ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว 5,000บาท กรณีมีเหตุที่ศาลสูงจะพึงใช้ดุลพินิจในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยดังนี้ หาได้ยกเหตุว่าคดีมีปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่ประการใดไม่ ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการตรวจสภาพรถและการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากเหตุฝากระโปรงหลุด
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นตำรวจ มีหน้าที่ขับรถยนต์ของทางราชการกรมตำรวจจำเลยที่ 3 วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถจิ๊ปของจำเลยที่ 3 ไปราชการตามหน้าที่โดยมิได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูรถก่อนจะขับออกไปว่าฝากระโปรงครอบหน้ารถอยู่ใน สภาพเรียบร้อยหรือไม่ เมื่อรถยนต์คันจำเลยที่ 1 ขับแล่นสวนทางกับรถยนต์คันที่ อ. ขับ ซึ่งมีโจทก์นั่งมาข้างหน้าด้วย ฝากระโปรงครอบเครื่องยนต์หน้ารถคันจำเลยที่ 1 ขับได้หลุดไปปะทะกระจกหน้ารถคันที่โจทก์นั่ง แตกทะลุไปถูกหน้าโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสเหตุฝากระโปรงครอบเครื่องยนต์หน้ารถหลุดออกไป ก็เพราะสปริงขอเกาะฝากระโปรงอ่อนและเบ้าที่รองรับโคนขอรั้งสึก ทำให้เบ้าหลวม เนื่องจากใช้มานานจึงเกิดการเสื่อมสภาพ เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถไปด้วยความเร็ว 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนพื้นถนนราดยางที่ไม่เรียบและมีลมพัดแรง จึงเกิดความสั่นสะเทือนอย่างแรง ทำให้ขอรั้งหลุดออกลมเข้าไปในฝากระโปรงหน้ารถเมื่อถูกลมแรง ๆ จึงหลุดออกไปจากตัวรถ ซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องระมัดระวังตรวจตราทำให้อยู่ในสภาพดีเสียก่อนนำไปใช้ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแต่หาได้จัดการอย่างใดไม่ ดังนี้เหตุนี้เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเพราะไม่ใช่กระโปรงหน้ารถอยู่ในสภาพแข็งแรงเรียบร้อยตามสภาพแล้ว เกิดจากภัยนอกอำนาจซึ่งไม่อาจรู้และป้องกันได้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นที่ฝ่ายชายอายุไม่ครบ 17 ปี ไม่เป็นโมฆะ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยเหตุเพราะจำเลยผิดสัญญาหมั้น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1) ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานะเมิดจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดไปจากคำฟ้องของโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีเสียใหม่ ให้ถูกต้องตามประเด็นแห่งคดีได้
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือการสมรสที่ฝ่าฝืนผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445 ในเรื่องอายุทำนองเดียวกับมาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจต้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2),(3),(4) และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร. และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ร.ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสีย และมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446-2447/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนเรือทำให้รางเหล็กชำรุด ทำให้เรืออื่นไม่สามารถลงจากอู่ได้ ผู้กระทำผิดต้องชดใช้ค่าเสียหาย
อู่ซ่อมเรืออยู่ติดกับท่าเทียบเรือที่ริมทะเลสาบ มีเสาปักอยู่ห่างจากตลิ่งราว 23 เมตร ตรงเขตติดต่ออู่ซ่อมเรือนี้มีรางเหล็ก 3 รางวางเรียบขนานกันบนไม้หมอนจากอู่เรือถึงริมตลิ่งและต่อเรื่อยลงไปตามพื้นดินในทะเลสาบอีกประมาณ 30 เมตรใช้เป็นรางสำหรับวางสาลี่นำเรือขึ้นลงอู่ ปากทางเข้าอู่อีกด้านหนึ่งก็ปักเสาติดเครื่องหมายอู่เรือห่างตลิ่งราว 15 เมตรโจทก์นำเรือยนต์จับปลาขึ้นซ่อมในอู่ซ่อมเรือนี้ ขณะที่เรือของโจทก์ยังอยู่บนคานซ่อมจำเลยเป็นนายเรือผู้ควบคุมเรือยนต์เดินทะเลรู้อยู่แล้วว่ารางเหล็กคานเรือของอู่ซ่อมเรือนั้นทอดลึกลงไปในทะเลสาบด้วย จะนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรือได้ถือท้ายล้ำเข้าไปในเขตอู่ซ่อมเรือ ท้องเรือจึงชนเกยขึ้นไปบนรางเหล็กท่อนกลางทำให้รางคดงอเคลื่อนหลุดจากไม้หมอน ไม้หมอนฉีกแตกใช้สาลี่ลงตามรางไม่ได้ต้องเสียเวลาซ่อมเปลี่ยนราง เป็นเหตุให้เรือของโจทก์ต้องค้างอยู่บนอู่ พฤติการณ์ของจำเลยดังนี้ถือว่าเป็นความประมาทจำเลยจะอ้างเหตุว่าเป็นเพราะรางเหล็กคานเรือรุกล้ำทางสาธารณะทั้งที่จำเลยรู้อยู่แล้วหาได้ไม่ และเมื่อเรือโจทก์ซ่อมเสร็จแล้วนำลงจากอู่ไม่ได้เพราะรางเหล็กที่จะบรรทุกสาลี่ชำรุดจากผลการกระทำโดยประมาทของจำเลย ต้องตกค้างอยู่จนกว่าจะซ่อมเปลี่ยนรางเสร็จทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการออกเรือจับสัตว์น้ำในระยะเวลานั้นความเสียหายของโจทก์จึงเป็นผลและสัมพันธ์กับการละเมิดของจำเลยโดยตรง จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ และหนี้นี้เกิดแต่มูลละเมิด โจทก์หาต้องบอกกล่าวทวงถามล่วงหน้าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องชดใช้ค่าเสียหายต้องเป็นไปตามประเด็นที่ศาลกำหนด หากฟ้องทุจริต แต่พิสูจน์ได้แค่ประมาทเลินเล่อ ศาลไม่สามารถบังคับชดใช้ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1กับ ส. สมคบกันเอาเงินสดของโจทก์ไป และนำเช็คมาเข้าบัญชีไว้แทน ขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินให้โจทก์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยที่ 1 กระทำทุจริตต่อโจทก์หรือไม่ ซึ่งหมายถึงว่าจำเลยได้ทุจริตเอาเงินของโจทก์ไปหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เอาเงินของโจทก์ไปเลย เพียงแต่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเท่านั้น โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ดังนี้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินให้โจทก์ตามฟ้องไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
of 33