คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกาต้องห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีทรัพย์สินราคาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยโต้แย้งว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายแล้ว และฟ้องแย้งขอให้โจทก์ไปดำเนินการแบ่งแยกโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้จำเลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาเพียง 150,000 บาท และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในทำนองเดียวกันว่าจำเลยอยู่ในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง: ทรัพย์พิพาท, การจดทะเบียน, ข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คดีมีทุนทรัพย์ในชั้นร้องขัดทรัพย์ 180,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง การที่ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์พิพาทยังไม่ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514เป็นฎีกาที่โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าทรัพย์พิพาทได้จดทะเบียนแล้ว และที่ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามฎีกาของผู้ร้องมิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงใดที่อ้างว่าเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวนฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การถอนอุทธรณ์และการโต้แย้งหมายจำคุกหลังคดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จำเลยยื่นอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์แล้วพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีย่อมถึงที่สุด จำเลยจะฎีกาคัดค้านว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดไม่ได้ หมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นหมายอาญา มิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 และ 216 หากจำเลยเห็นว่าการออกหมายไม่ถูกต้องก็ต้องร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายนั้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณามีคำสั่งเสียก่อน ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดไม่ถูกต้องจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากประเด็นเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ว่าจำเลยมีความผิดตามป.อ. มาตรา 157,162(2) และมาตรา 267 รวม 3 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 2 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา218 วรรคแรก ที่จำเลยฎีกาว่าหลักฐานการรับแจ้งการตายซึ่งโจทก์นำมาสืบประกอบคำเบิกความพยานโจทก์เป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ เพราะไม่ปรากฏชื่อ ป. ผู้ตายในเอกสารแต่ในช่องที่ต้องระบุชื่อ ป. ผู้ตาย กลับลงข้อความอื่นจึงฟังไม่ได้เลยว่าเป็นหลักฐานแจ้งการตายของใคร และจำเลยไม่มีหน้าที่รับแจ้งการตายของ ป. การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ส่วนความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 162 และมาตรา 267 พยานโจทก์เบิกความแตกต่างกับเอกสารเกี่ยวกับการที่จำเลยแจ้งย้ายภูมิลำเนาของ ป. ผู้ตาย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 157,162 และ มาตรา 267จึงเป็นการคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมายนั้น เป็นการโต้เถียงการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจลงโทษหลังศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษจำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษ 2 กระทง โดยลงโทษกระทงละ1 ปี รวม 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเบาลงหรือขอให้รอการลงโทษนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 กรณีศาลชั้นต้นรับฎีกาโดยมิชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีโจทก์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ จึงมิชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีประนีประนอมยอมความ การไม่อุทธรณ์คำสั่งทำให้ฎีกาต้องห้าม
โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้าได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยทั้งห้าตกลงโอนที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม และคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว ต่อมาจำเลยทั้ง ห้าได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองมีจำนวนเนื้อที่ที่ดินไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาตามยอม โจทก์ทั้งสองจึงยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้เรียกจำเลยทั้งห้ามาสอบถามก่อนจะออกหมายบังคับคดีศาลชั้นต้นสั่งนัดพร้อมสอบถามและไต่สวนคำร้องแล้วต่อมาจึงสั่งยกคำร้องของ โจทก์ทั้งสองการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไต่สวนคำร้องดังกล่าวเป็นการสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนชี้ขาดตามคำร้องนั้น ถือได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อโจทก์ทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์และจะฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าวไม่ได้เพราะต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.ม.248 เมื่อโต้แย้งกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ไม่ได้รับการแก้ไขโดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ทรัพย์สินที่พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท และจำเลยต่อสู้ว่าอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของมารดาซึ่งมีสิทธิดีกว่าโจทก์มิได้กล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 จำเลยฎีกาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จะเป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายแต่การวินิจฉัยจะต้องอาศัยข้อเท็จจริง เพื่อวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย การเถียงข้อเท็จจริงซึ่งศาลฟังเป็นยุติแล้วว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยอาศัยอยู่และต้องห้ามฎีกา เพื่อสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายนั้น มีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกา ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง และความหมายของคำว่า 'ครอบครอง' ใน พ.ร.บ.ป่าไม้
ฎีกาของจำเลยหาได้บรรยายให้เห็นว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำพยานที่โจทก์นำสืบในข้อไหนอย่างไร และได้สันนิษฐานอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193วรรคสอง, 225 และฎีกาข้อนี้กล่าวโดยสรุปก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีกฎหมายบทจำกัด คิดว่าต้องครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด และในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุโต้เถียงข้อเท็จจริงยุติแล้ว ประเด็นความเสียหายจากการใช้เอกสารปลอม
ที่จำเลยฎีกาว่า การจดทะเบียนจำนองตึกแถวตามฟ้องตามระเบียบของทางราชการไม่จำเป็นจะต้องใช้หนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของที่ดินประกอบในการขอจดทะเบียนการจะใช้หรือไม่ใช้หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าการใช้เอกสารปลอมของจำเลยอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ป.และโจทก์ร่วม เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268หรือไม่ หาใช่เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงไม่ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
of 50