พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4267/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างแรงงาน เงินยืมทดรองจ่าย และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยเบิกเงินยืมทดรองจ่ายเพื่อดำเนินคดีในฐานะทนายความให้แก่โจทก์ เมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จต้องนำใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญการจ่ายเงินมาหักล้างบัญชีเงินทดรองจ่าย หากไม่ได้ดำเนินคดีหรือมีเงินเหลือต้องส่งคืนแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินที่จำเลยยืมไปคืนตามความผูกพันที่เกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ไม่ใช่กรณีนายจ้างเรียกเอาคืนเงินที่ได้จ่ายทดรองที่นายจ้างจ่ายล่วงหน้าไปคืนตามมาตรา 193/34 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการส่งเอกสารตรวจพิสูจน์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณาคำร้อง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 และคำร้องขอส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ก่อนแถลงหมดพยาน จำเลยดังกล่าวย่อมมีสิทธิทำได้เพราะในส่วนของการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นได้ก่อนฝ่ายจำเลยจะสืบพยานเสร็จ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยดังกล่าวยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 จึงชอบแล้ว แต่การขอส่งพยานเอกสารดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์เป็นคนละส่วนที่สามารถแยกพิจารณาจากกันได้ ทั้งผลการตรวจพิสูจน์เป็นเพียงความเห็นของผู้ตรวจพิสูจน์ที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าสมควรเชื่อหรือไม่เพียงใด หาใช่บังคับให้ศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามผลการตรวจพิสูจน์ จึงเป็นดุลพินิจศาลในการจะอนุญาตให้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ตามคำร้องขอของคู่ความโดยพิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์แก่คดีหรือไม่เพียงใด และต้องพิจารณาความเหมาะสมโดยคำนึงถึงคู่ความทุกฝ่ายด้วย หาใช่พิจารณาความต้องการของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและการใช้ดุลพินิจของศาลในการสืบพยานคดีควบคุมตัวโดยมิชอบ
การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนอันเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะใช้อำนาจสืบพยานเองโดยพลการ ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 228 ให้อำนาจไว้ ทั้งศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ และพิพากษาคดีไปตามนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องลงวันที่ 4 ธันวาคม 2551 ของผู้ร้องที่ขอให้หมายเรียกพยานอันดับที่ 3 และอันดับที่ 6 ตามบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ของผู้ร้องเพราะเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21554/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับตาม ป.อ.มาตรา 20 ไม่ถือเป็นข้อผิดพลาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 186(7)
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีบรรดาความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่บทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดหรือบทกำหนดโทษ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปรับบทดังกล่าวแล้วลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20388/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานทำร้ายร่างกายเมื่อมีข้อสงสัยเรื่องตัวผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน และการใช้ดุลพินิจศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย แต่ความผิดดังกล่าวรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อจำเลยใช้กำลังทำร้ายดาบตำรวจ ว. แต่ไม่เป็นเหตุให้ดาบตำรวจ ว. ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นแต่ไม่เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้หากไม่ทำให้คู่ความเสียหาย
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า จำเลยที่ 5 ยังมิได้รับสำเนาคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้อง โดยผู้ร้องมิได้ส่งสำเนาคำร้องดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 5 แต่เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ให้ผู้ร้องต้องนำส่งสำเนาคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่คู่ความ ทั้งศาลก็มิได้มีคำสั่งให้ผู้ร้องมีหน้าที่นำส่งสำเนาคำร้องดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งหก การที่ผู้ร้องมิได้ส่งสำเนาคำร้องดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 5 จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
การที่จำเลยที่ 5 ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยอ้างว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตโดยมิได้ไต่สวนก่อนอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น จำเลยที่ 5 ต้องยกขึ้นคัดค้านหรือโต้แย้งภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 5 ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 5 ได้รับสำเนาทราบคำสั่งและสำเนาคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด โดยวิธีปิดหมายและสำเนาคำร้องเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2545 จำเลยที่ 5 เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2552 ล่วงเลยเวลามากว่า 7 ปีแล้ว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 5 ในส่วนนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล
มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามพิพากษาแทนบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด โดยยังไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยที่ 5 และมิได้ไต่สวนคำร้องก่อนเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบที่สมควรเพิกถอนหรือไม่ เห็นว่า ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 41 นั้น เห็นได้ว่า แม้การที่ผู้ร้องจะเข้าสวมสิทธิดังกล่าวได้ จะต้องได้ความว่าผู้ร้องได้รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอันได้แก่สิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีต่อลูกหนี้แล้ว แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาคำร้องซึ่งประกอบด้วยสำเนาเอกสารแสดงการ โอนและรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแนบมาท้ายคำร้อง ก็ถือว่าสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องไต่สวนพยานหลักฐานอื่นอีก เพียงแต่การที่ยังไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องแก่จำเลยที่ 5 เพื่อให้มีโอกาสคัดค้านก่อนเท่านั้นที่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาว่าเรื่องที่ผิดระเบียบนั้นทำให้คู่ความฝ่ายใดต้องเสียหายหรือไม่ประกอบด้วย หากไม่เป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายใดเสียหายหรือเสียความเป็นธรรม และการเพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างใด ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่เพิกถอนได้ตามที่เห็นสมควร คดีนี้ปรากฏว่า ทนายจำเลยที่ 5 ยื่นขอสำเนาคำร้องขอสวมสิทธิของผู้ร้องตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2552 เจ้าหน้าที่ศาลถ่ายสำเนาให้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 ต่อมาวันที่ 21 กันยายน 2552 ทนายจำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อศาลมีคำสั่งยกคำร้องวันที่ 23 กันยายน 2552 แล้ว จำเลยที่ 5 ก็ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2552 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 5 มีโอกาสทราบเนื้อหาคำร้องของผู้ร้องและคำสั่งศาลแล้ว แต่ก็ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ได้รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอันได้แก่สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยคดีนี้แต่อย่างใด ทั้งยังปรากฏว่าศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 5 ร่วมชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ชำระหนี้ดังกล่าว แม้ต่อมา บริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิม และผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกต่อหนึ่งก็ตาม จำเลยที่ 5 ก็ยังมีหน้าที่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาและอาจถูกบังคับคดีได้เช่นเดิม หากมีข้อโต้แย้งในการบังคับคดีต่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอย่างใดก็ยังมีสิทธิอยู่เช่นเดิม ไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้จำเลยที่ 5 ต้องเสียหายในอันที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และไม่มีเหตุอื่นใดอันสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนี้ ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้วยังเป็นเหตุให้เกิดการล่าช้าเป็นประโยชน์ต่อการประวิงคดีสืบต่อไปอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 5 นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล
การที่จำเลยที่ 5 ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยอ้างว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตโดยมิได้ไต่สวนก่อนอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น จำเลยที่ 5 ต้องยกขึ้นคัดค้านหรือโต้แย้งภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 5 ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 5 ได้รับสำเนาทราบคำสั่งและสำเนาคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด โดยวิธีปิดหมายและสำเนาคำร้องเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2545 จำเลยที่ 5 เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2552 ล่วงเลยเวลามากว่า 7 ปีแล้ว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 5 ในส่วนนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล
มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามพิพากษาแทนบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด โดยยังไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยที่ 5 และมิได้ไต่สวนคำร้องก่อนเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบที่สมควรเพิกถอนหรือไม่ เห็นว่า ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 41 นั้น เห็นได้ว่า แม้การที่ผู้ร้องจะเข้าสวมสิทธิดังกล่าวได้ จะต้องได้ความว่าผู้ร้องได้รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอันได้แก่สิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีต่อลูกหนี้แล้ว แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาคำร้องซึ่งประกอบด้วยสำเนาเอกสารแสดงการ โอนและรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแนบมาท้ายคำร้อง ก็ถือว่าสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องไต่สวนพยานหลักฐานอื่นอีก เพียงแต่การที่ยังไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องแก่จำเลยที่ 5 เพื่อให้มีโอกาสคัดค้านก่อนเท่านั้นที่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาว่าเรื่องที่ผิดระเบียบนั้นทำให้คู่ความฝ่ายใดต้องเสียหายหรือไม่ประกอบด้วย หากไม่เป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายใดเสียหายหรือเสียความเป็นธรรม และการเพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างใด ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่เพิกถอนได้ตามที่เห็นสมควร คดีนี้ปรากฏว่า ทนายจำเลยที่ 5 ยื่นขอสำเนาคำร้องขอสวมสิทธิของผู้ร้องตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2552 เจ้าหน้าที่ศาลถ่ายสำเนาให้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 ต่อมาวันที่ 21 กันยายน 2552 ทนายจำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อศาลมีคำสั่งยกคำร้องวันที่ 23 กันยายน 2552 แล้ว จำเลยที่ 5 ก็ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2552 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 5 มีโอกาสทราบเนื้อหาคำร้องของผู้ร้องและคำสั่งศาลแล้ว แต่ก็ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ได้รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอันได้แก่สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยคดีนี้แต่อย่างใด ทั้งยังปรากฏว่าศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 5 ร่วมชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ชำระหนี้ดังกล่าว แม้ต่อมา บริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิม และผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกต่อหนึ่งก็ตาม จำเลยที่ 5 ก็ยังมีหน้าที่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาและอาจถูกบังคับคดีได้เช่นเดิม หากมีข้อโต้แย้งในการบังคับคดีต่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอย่างใดก็ยังมีสิทธิอยู่เช่นเดิม ไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้จำเลยที่ 5 ต้องเสียหายในอันที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และไม่มีเหตุอื่นใดอันสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนี้ ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้วยังเป็นเหตุให้เกิดการล่าช้าเป็นประโยชน์ต่อการประวิงคดีสืบต่อไปอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 5 นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8913/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำซ้อนและการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดโทษคดีทางหลวง
การกระทำความผิดตามฟ้องของจำเลยในแต่ละฐานความผิดนั้นเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกและโทษปรับ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำคุกหรือลงโทษปรับอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะลงโทษทั้งโทษจำคุกและโทษปรับทั้งสองอย่างพร้อมกันก็ได้ ถึงแม้ในคดีนี้จำเลยจะได้ชำระค่าปรับครบถ้วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำคุกจำเลยอีกได้ และการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติ ทำงานบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรครบถ้วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม แต่เงื่อนไขการคุมความประพฤติดังกล่าวนั้นก็มิใช่การลงโทษ เป็นแต่เพียงมาตรการทางกฎหมายที่ศาลให้โอกาสผู้กระทำความผิดในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการลงโทษจำเลยซ้ำซ้อนจากการกระทำความผิดแต่เพียงครั้งเดียวดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกดินมีน้ำหนักยานพาหนะรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 22,410 กิโลกรัม โดยไม่นำพาว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาพทางหลวงแผ่นดินซึ่งเป็นสมบัติของส่วนรวมและมีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของสาธารณชน การกระทำของจำเลยย่อมทำให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาต้องเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดจากสภาพของยานพาหนะที่บรรทุกน้ำหนักเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับจะควบคุมให้แล่นไปได้อย่างปลอดภัยพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าร้ายแรง ที่จำเลยยกขึ้นอ้างฎีกาว่าจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวและจำต้องกระทำความผิดในคดีนี้เพราะไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดคำสั่งของนายจ้าง ก็เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น บุคคลทั่ว ๆ ไปในสถานะเช่นเดียวกับจำเลยก็มีภาระที่ไม่แตกต่างไปจากจำเลย จำเลยไม่อาจอ้างภาระความจำเป็นส่วนตัวเพื่อก่อภาระให้แก่สังคมโดยรวมได้ เหตุดังกล่าวไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำคุก โดยไม่ลงโทษปรับและไม่คุมความประพฤติ และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนตาม ป.อ. มาตรา 23 นั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกดินมีน้ำหนักยานพาหนะรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 22,410 กิโลกรัม โดยไม่นำพาว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาพทางหลวงแผ่นดินซึ่งเป็นสมบัติของส่วนรวมและมีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของสาธารณชน การกระทำของจำเลยย่อมทำให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาต้องเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดจากสภาพของยานพาหนะที่บรรทุกน้ำหนักเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับจะควบคุมให้แล่นไปได้อย่างปลอดภัยพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าร้ายแรง ที่จำเลยยกขึ้นอ้างฎีกาว่าจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวและจำต้องกระทำความผิดในคดีนี้เพราะไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดคำสั่งของนายจ้าง ก็เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น บุคคลทั่ว ๆ ไปในสถานะเช่นเดียวกับจำเลยก็มีภาระที่ไม่แตกต่างไปจากจำเลย จำเลยไม่อาจอ้างภาระความจำเป็นส่วนตัวเพื่อก่อภาระให้แก่สังคมโดยรวมได้ เหตุดังกล่าวไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำคุก โดยไม่ลงโทษปรับและไม่คุมความประพฤติ และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนตาม ป.อ. มาตรา 23 นั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6787/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องหลังชี้สองสถาน และสิทธิในการฟ้องใหม่ โดยไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนการที่ไม่สุจริต
ป.วิ.พ. มาตรา 175 ไม่ได้ห้ามโจทก์ถอนฟ้องหลังจากชี้สองสถาน โดยบังคับศาลเพียงว่า ห้ามไม่ให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องหลังจากชี้สองสถานและจำเลยทั้งสองคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้และ ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ศาลจึงไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างไปแก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องแล้วยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเข้ามาเป็นคดีใหม่เป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องได้ด้วย ทั้งคดีนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้อีกฝ่ายเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นการสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อเถียงตามคำให้การของฝ่ายตนแต่อย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องของโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6371/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา, การรับสารภาพ, และดุลพินิจศาลในการลงโทษ
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 ความผิดทั้งสองฐานมีอายุความหนึ่งปีตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุในการทำร้ายร่างกายและพยายามฆ่า: พิจารณาเจตนา, เหตุป้องกัน, และการใช้ดุลพินิจของศาล
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงสวนผู้เสียหายไปในทันทีทันใดในท่านอนตะแคง โดยไม่มีโอกาสเลือกยิงจุดสำคัญของร่างกายผู้เสียหาย เมื่ออาวุธปืนโดยสภาพย่อมเป็นอาวุธที่ใช้ทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ในทันทีทันใด ประกอบกับกระสุนปืนก็ถูกที่บริเวณใบหน้าซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปที่ผู้เสียหายในระยะใกล้ประชิดติดตัวก็ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนจะต้องถูกผู้เสียหายให้ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย หาใช่ไม่มีเจตนาฆ่า และเป็นเพียงความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัสไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อจำเลยถูกผู้เสียหายใช้ไม้ตีทำร้ายก่อนซึ่งจำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวได้ แต่เมื่อไม้ดังกล่าวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว และเมื่อตีถูกจำเลยแล้วไม้ดังกล่าว ก็หักทันที อีกทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายจะกระทำการอย่างใดอื่นอีกที่ส่อแสดงให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่ามีเจตนาจะทำร้ายจำเลยเพิ่มเติมให้หนักขึ้นกว่าเดิม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงสวนไปที่ผู้เสียหายในขณะนั้น โดยมีโอกาสที่จะหยุดยั้งการกระทำของผู้เสียหายได้โดยวิธีอื่นอีก พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุอันจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 69 แต่เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69