คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดค้ำประกัน: ข้อความกว้างๆตีความจำกัดเฉพาะกรณีที่ระบุ
สัญญาค้ำประกันโดยจำกัดเวลาผู้ค้ำประกันหลุดพ้น เมื่อกำหนดเวลาได้ล่วงพ้นไปแล้ว ความรับผิดของผู้ค้ำประกันที่กล่าวไว้กว้าง ๆ ควรตีความจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันเพียงเท่าที่คู่กรณีมีความประสงค์เข้าทำนิติกรรมกันเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'ปล่อย' ปศุสัตว์ตาม ม.๓๔๐ ความเสียหายในนา
ล่ามโคไว้แล้วขาดไปกินเข้าในนาเขาไม่เรียกว่า " ปล่อย" จึงไม่มีผิดตาม ม.นี้ ปัญหากฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรมและขอบเขตการแบ่งมรดกที่ดิน โดยพิจารณาจากเนื้อที่จริงและข้อความในพินัยกรรม
การแปลข้อความตามหนังสือพินัยกรรมเปนปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4502/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดฐานขับรถเสพยาเสพติด: การออกข้อกำหนดของอธิบดีและการตีความตามพจนานุกรม
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิใช่ครอบคลุมเฉพาะกรณีวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเท่านั้น เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13947/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง: การออกข้อกำหนดห้ามเสพยาเสพติดให้โทษต้องครอบคลุมเฮโรอีนหรือไม่
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มิใช่ครอบคลุมเฉพาะกรณีวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเท่านั้น เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพเฮโรอีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การตีความบทบัญญัติและขอบเขตการลงโทษปรับต่อความผิด
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ซึ่งแม้มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับ มาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ นั่นเอง ไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตัวคนละสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นการปรับจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่าสี่เท่า ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17215/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร การประเมินอากร และอายุความทางภาษีอากร
แม้แบบแจ้งการประเมินอากรทั้งสองฉบับระบุแต่เพียงเลขแฟ้มคดี แต่ก็เป็นเลขแฟ้มคดีเดียวกันกับแบบแจ้งการประเมินอากรอีก 9 ฉบับ ที่เป็นการนำเข้าสินค้าพิพาทประเภทเดียวกัน ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในชั้นอุทธรณ์การประเมินและในชั้นยื่นคำฟ้องโจทก์ทั้งสามก็บรรยายฟ้องโดยโต้แย้งเหตุผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ถูกต้อง จึงถือว่าโจทก์ทั้งสามทราบเหตุผลในการออกคำสั่งตามแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องระบุเหตุผลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจอีก เนื่องจากเหตุผลนั้นเป็นที่รู้อยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีกตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2)
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบแจ้งการประเมินอากรฉบับเดิมที่ไม่มีการลงลายมือชื่อ แต่ในระหว่างการพิจารณาคำอุทธรณ์ จำเลยได้ออกแบบแจ้งการประเมินอากรทั้งสองฉบับใหม่แทนฉบับเดิม ซึ่งไม่มีการเพิ่มเติมประเด็นหรือภาระภาษี เมื่อจำเลยทำการแก้ไขข้อบกพร่องย่อมถือได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรดังกล่าวได้ระบุชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 แล้ว
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาตรา 15 วรรคท้าย บัญญัติให้การตีความในพิกัดอัตราศุลกากร ให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดนี้ประกอบคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบไฮโมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรฯ นอกจากนี้ ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) เมื่อของใดไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นมีลักษณะเป็นปั้นจั่นที่ติดตั้งอยู่บนยานยนต์หรือโครงยานยนต์หรือรถบรรทุกสมบูรณ์แบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แสดงลักษณะอันเป็นสาระสำคัญทั้ง 2 ประการ สินค้าพิพาทจึงมีลักษณะเป็นของที่ไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ซึ่งหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นดังกล่าวจึงต้องจัดเข้าประเภทพิกัด 87.05
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2557)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6860/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก: การยินยอมให้เด็กเล่นเกมคอมพิวเตอร์ไม่เป็นความผิด
การกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 (3) จะต้องได้ความว่า เด็กที่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมนั้น ประพฤติตนไม่สมควร ซึ่งเด็กประพฤติตนไม่สมควรกฎหมายดังกล่าวมิได้นิยามไว้ ศาลฎีกาเห็นว่า หมายถึง เด็กประพฤติตนไม่สมควรแก่วัยของเด็กในขณะนั้น ๆ การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร้านอินเตอร์เน็ตและเกมยินยอมให้ อ. อายุ 17 ปีเศษ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ในร้านจำเลยโดยได้รับค่าบริการ ในเวลากลางวันแม้ไม่ปรากฏว่าเป็นการเปิดภาคเรียนก็มิใช่เป็นการประพฤติตนไม่สมควรแก่วัยแต่อย่างใด การตีความกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความเคร่งครัดไม่อาจตีความขยายให้เป็นผลร้ายแก่จำเลย ทั้งเป็นการตีความให้กฎหมายขัดกับสิทธิเสรีภาพของเด็กจนเกินไป มิฉะนั้นแล้วหากผู้ใดให้เด็กเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ไม่ว่าอยู่ที่ใดก็จะเป็นความผิดได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 26 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9421/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลความคำพิพากษาให้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายเฉพาะส่วนและการบังคับคดี
แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด และการแปลหรือตีความคำพิพากษาของศาลที่มีใจความว่า ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ให้โจทก์จำเลยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและให้โจทก์ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษานั้น ถูกต้องตรงตามสาระสำคัญของสัญญาอันเป็นการซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนไม่ใช่เป็นการซื้อขายที่ดินทั้งแปลงการแปลหรือตีความคำพิพากษาดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้ถูกต้องโดยไม่มีผลเป็นการแก้เนื้อหาคำวินิจฉัยเดิมของศาลชั้นต้นและไม่ใช่เป็นกรณีที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป แม้คำพิพากษาดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่การแปลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และเป็นการแก้ไขมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8362/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานในหน่วยงานของรัฐ: การตีความคำว่า 'พนักงาน' และหลักการพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยทั้งสองเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 4 บัญญัติว่า "พนักงาน" หมายความว่า พนักงานขององค์การโทรศัพท์และมาตรา 17 บัญญัติว่า ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ และพนักงานเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา แสดงว่าจำเลยทั้งสองย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่พนักงานตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาใช้บังคับลงโทษจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้
ตามฟ้องและคำขอท้ายฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 และ 11 โดยมุ่งประสงค์ให้ลงโทษตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเพียงประการเดียวหาได้ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 157 ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่ จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้เป็นเจ้าพนักงานซึ่งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ศาลก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่ง ป.อ. ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับและไม่ได้กล่าวมาในฟ้องขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์มิได้ขอไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษและโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดหรือเป็นเพียงรายละเอียดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า
of 23