คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทนาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายหลังตัวการตาย: ทนายจำเลยหมดอำนาจเมื่อทายาทไม่เข้ามาดำเนินคดีแทนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 เป็นการตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ทนายจำเลยที่ 1 ยังมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ต่อไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 1 จะอาจเข้ามาปกปักรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 โดยการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2550 ขณะคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะซึ่งอาจร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ในการดำเนินคดีของจำเลยที่ 1 ได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่ไม่มีการร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าว จนศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดี โดยอ่านคำสั่งให้ทนายจำเลยทั้งสองฟังเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายจำเลยที่ 1 จะจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 ทนายจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14980/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ล่าช้า: ความผิดพลาดของทนายไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เช่นนี้จะกระทำได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างเหตุที่ทำให้ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดระยะเวลาว่า เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับประทานยาแก้ไข้หวัดทำให้ง่วงซึมและจำวันที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คลาดเคลื่อนไป โดยสำคัญผิดว่าจะครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 24 ตุลาคม 2550 นั้น เป็นความผิดพลาดบกพร่องของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 เอง ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า หากศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 24 กันยายน 2550 ตามที่ขอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 เมื่อพิจารณาถึงการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำอุทธรณ์เสร็จและนำมายื่นต่อศาลชั้นต้นภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2550 แล้ว กรณีพอฟังได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สองแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขัดต่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2550 และขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเพราะการสำคัญผิดในเรื่องวันเวลานัดศาลของคู่ความย่อมไม่เป็นเหตุสุดวิสัย อันเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วพิพากษายืน และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาล้วนเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10279/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลขยายเวลาอุทธรณ์: ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้เกิดจากความผิดพลาดของทนาย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 อ้างว่าทนายจำเลยหลงผิดว่าได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลก่อนวันที่ 30 กันยายน 2552 อันเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ และเข้าใจผิดว่าวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2552 คำร้องดังกล่าวนั้นมิใช่เป็นการขอขยายระยะเวลาโดยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เป็นการขออนุญาตให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย จึงเป็นดุลพินิจที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นเห็นควรให้โอกาสจำเลยและอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2552 จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายอุทธรณ์แทนจำเลยโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บ. ทนายจำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ว่าความตามใบแต่งทนายความ แต่ไม่ได้รับอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ทนายจำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นการอุทธรณ์โดยไม่ได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ทนายจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นการลงลายมือชื่อโดยไม่มีอำนาจ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 แต่การที่จะให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำฟ้องอุทธณณ์ หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณาคดีเสร็จแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาคดีในส่วนอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 2 และยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์และแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 1 ยังคงมีผลชอบด้วยกฎหมายต่อไป กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป ให้ยกฎีกาของโจทก์เสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11712/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาขาดอายุ การตรวจสอบวันยื่นฎีกาเป็นหน้าที่ทนาย การอนุญาตฎีกาเกินกำหนดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในคำขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 มีตรายางประทับข้อความว่าถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุกๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยทนายผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ยื่นฎีกาและคำร้องขออนุญาตฎีกาเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกา และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ยื่นฎีกาภายหลังสิ้นระยะเวลายื่นฎีกาโดยไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย เป็นการไม่ชอบฎีกาของผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว และผลของการยอมความ
คดีความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเมื่อใดก็ได้ โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ทนายโจทก์ร่วมมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง ถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและเจรจาทำความตกลงประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ร่วมได้ แม้โจทก์ร่วมมิได้มอบอำนาจให้ทนายโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล ทนายโจทก์ร่วมก็มีอำนาจยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง และมีผลผูกพันโจทก์ร่วม การที่ทนายโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์เนื่องจากจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน จึงมีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการยื่นอุทธรณ์จากความบกพร่องของทนาย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์มาแล้ว 3 ครั้ง เป็นเวลาเกือบ 4 เดือน แต่ทนายโจทก์กลับเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าว มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในฐานที่เป็นทนายความ ข้ออ้างของทนายโจทก์ที่ว่ารถยนต์ของทนายโจทก์เสียในระหว่างทางและการจราจรติดขัด ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้ และขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งจึงเกิดจากความบกพร่องของทนายโจทก์เอง มิใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทำให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งซึ่งโจทก์อยู่ในขณะนั้นตามมาตรา 10 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายประนีประนอมยอมความ: ทนายมีอำนาจใช้ดุลยพินิจเต็มที่ ไม่ต้องแจ้งความประสงค์จำเลย คู่ความฝ่ายใดฉ้อฉลไม่ได้
จำเลยแต่งตั้งให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ทนายจำเลยย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเต็มที่ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าข้อความที่ตกลงกับโจทก์นั้นเหมาะสม ไม่ได้เสียเปรียบ ทนายจำเลยไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้นแม้จำเลยไม่ต้องการตกลงกับโจทก์ ก็เป็นเรื่องทนายความของจำเลยกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของจำเลย หากจำเลยเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งมิใช่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายยักยอกเงินค่าเสียหายจากจำเลยไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แม้คืนเงินภายหลังก็ยังมีความผิดฐานยักยอก
จำเลยประกอบอาชีพทนายความ และเป็นลูกจ้างของโจทก์ โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์ จำเลยมีอำนาจรับเงินและออกใบเสร็จรับเงินแทนโจทก์ได้ การที่ ส. ชำระเงินค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลย จำเลยในฐานะตัวแทนผู้รับเงินของโจทก์มาครอบครองไว้จึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงินนั้นคืนให้แก่โจทก์ ส. โอนเงินค่าเสียหายเข้าบัญชีจำเลย 11 ครั้ง แต่จำเลยไม่ได้คืนเงินที่ ส. โอนมาแต่ละครั้งให้แก่โจทก์ทันที โดยนำมาคืนโจทก์ทีเดียว 500,000 บาท ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ ส. โอนเงินครั้งแรก 5 เดือนเศษ และภายหลังโอนเงินครั้งสุดท้าย 1 เดือนเศษ จำเลยปิดบังไม่แจ้งเรื่องที่ ส. โอนเงินค่าเสียหายที่ชำระให้แก่โจทก์เข้ามาในบัญชีของจำเลย การที่จำเลยเอาเงินที่ ส. ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยโอนเข้าบัญชีของจำเลย 11 ครั้ง ไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยโจทก์ไม่ทราบและยินยอมให้ทำได้นั้น เป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์เป็นของตนโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก แม้จำเลยนำเงิน 500,000 บาท มาคืนโจทก์ก็ไม่ลบล้างการกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดสำเร็จแล้วได้ การที่จำเลยซึ่งมีอาชีพเป็นทนายความอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนยักยอกเงินของโจทก์ไปในระหว่างเวลาที่โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์โดยให้มีอำนาจรับเงินและออกใบเสร็จรับเงินแทนโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 (เดิม) ประกอบมาตรา 352 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างทนาย ความรับผิดชอบร่วมของจำเลยทั้งสอง ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จแห่งการงานที่จ้างเป็นสำคัญ และการจ่ายสินจ้างถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อสัญญาจ้างดังกล่าวกำหนดชำระค่าจ้าง 3 งวด แต่มีเฉพาะงวดที่ 1 เท่านั้น ที่ถึงกำหนดชำระ ต้องถือว่าเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ทั้ง 9 ครั้ง เป็นการชำระหนี้ในงวดที่ 1 ซึ่งถึงกำหนดชำระแล้ว ตามมาตรา 328 วรรคสอง อันมีผลทำให้อายุความในหนี้ค่าจ่างว่าความงวดที่ 1 สะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามมาตรา 193/15 วรรคสอง คำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกเอาค่าการงานมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (16) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมในสัญญาจ้างว่าความ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือว่า จำเลยที่ 1 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) และข้อความจริงใด เมื่อเป็นเรื่องท้าวถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแต่ตัวลูกหนี้คนนั้นเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 การที่จำเลยที่ 2 เพียงคนเดียวชำระหนี้แก่โจทก์ อายุความจึงสะดุดหยุดลงเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ หนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงต้องเริ่มนับแต่วันทำสัญญาจ้างซึ่งเป็นเวลาขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ตามสัญญาจ้างว่าความในงวดที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ
สำหรับค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 กำหนดชำระเมื่อสืบพยานทั้งสองฝ่ายแล้วเสร็จ และงวดที่ 3 กำหนดชำระหนี้ก่อนนัดฟังคำพิพากษา 15 วัน มิใช่หนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อโจทก์ว่าความให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วเสร็จโดยตกลงกับคู่กรณีได้ ถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ถึงกำหนดชำระในวันดังกล่าว ตราบใดที่โจทก์ยังไม่เตือนให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังไม่ได้ชื่อว่าผิดนัด เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยทั้งสองมีกำหนดเวลาให้นำเงินมาชำระหนี้ภายใน 7 วัน และจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามแล้ว แต่เมื่อครบกำหนด 7 วัน จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดสำหรับค่าจ้างว่าความในงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ได้ในวันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ดังกล่าว
of 22