คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทายาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกไม่ชอบด้วยก.ม. ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งให้ทายาท แม้มีการโอนทรัพย์สินแล้ว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าโดยไม่แบ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาท โจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วน ในคดีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วน โดยผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า แม้จะมีการโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและการจัดการทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบนั้นย่อมทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลง ที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ก.ยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดก ก.ผู้ตาย และยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอแบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ โดยไม่จำต้องฟ้องเพิกถอนการโอนดังกล่าว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม2524 โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งทรัพย์มรดก กรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งห้าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่า ในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดก และผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 เป็นจำเลย ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4376/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมและการผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
การที่โจทก์ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 วรรคสอง ให้ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบความได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีข้อเท็จจริงเข้ามาสู่ศาลว่าคู่ความได้มรณะลงระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาล คดีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ถึงแก่กรรมมาสู่สำนวนศาลระหว่างคดีค้างพิจารณาของศาลฎีกาแต่อย่างใด ฉะนั้น เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและจำหน่ายคดีจากสารบบความมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องช่วง เมื่อทายาทชำระหนี้จำนองเพื่อรักษาสิทธิในทรัพย์มรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ม.ระหว่างโจทก์เป็นทายาทของ ม. โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจำต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแทนจำเลยทั้งสอง จึงขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินคืนโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของการรับช่วงสิทธิ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายว่าเงินที่นำไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเป็นเงินของใคร เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคาร ก.ไม่มีการเพิกถอน คงเพิกถอนเฉพาะการยกให้และการซื้อขายที่ดินพิพาทเท่านั้นและตามสัญญาจำนองมีความว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหรือหนี้สินอื่น ๆทุกประเภทของจำเลยที่ 2 และหรือของผู้จำนองทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าอันจะพึงมีต่อธนาคาร ก.เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท จากข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นลักษณะที่จำเลยที่ 1 จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 709
เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทไม่มีการเพิกถอนก็ต้องถือว่าเป็นสัญญาจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ม.จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ม.เพราะอาจถูกธนาคาร ก.ผู้รับจำนองบังคับยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยทั้งสองจนเป็นที่พอใจของธนาคาร ก.เจ้าหนี้โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าที่โจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารดังกล่าวไปนั้นเป็นการขืนใจลูกหนี้ก็ตาม ในเมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่ยอมไถ่ถอนจำนอง และหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินพิพาทไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสอง ซึ่งโจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเองเมื่อหนี้เดิมธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 189 เดิม(193/27 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากสัญญาจำนอง: ทายาทผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยได้
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มีส่วนได้เสียในที่ดิน กับเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ม. เจ้ามรดกจำต้องชดใช้หนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินแทนจำเลยซึ่งเป็นผู้จำนอง เพื่อปัดป้องมิให้สิทธิของโจทก์ในที่ดินต้องถูกกระทบกระเทือน จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินเพราะอาจถูกผู้รับจำนองบังคับยึดออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยจนเป็นที่พอใจของผู้รับจำนอง โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้เป็นการขืนใจลูกหนี้ แต่เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยไม่ยอมไถ่ถอนจำนองและหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้จำนอง ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเอง เมื่อหนี้เดิมผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 เดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิของทายาท จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทเพียงอย่างเดียว แต่มีคำขอให้โอนที่ดินพิพาทและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถโอนได้ให้ใช้เงิน 520,000 บาท แก่โจทก์ด้วยดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทจาก ส.มาโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ยังไม่โอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทต่อไป ที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทก็ต้องกลับมาเป็นของ ส.ซึ่งเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ส.ก็ย่อมสามารถโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้โอนต่อไปยังจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอันไม่สามารถเพิกถอนการโอนได้เสียแล้ว การโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมใช้เงิน520,000 บาท แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทระหว่าง ส.และจำเลยที่ 2 เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนจึงเป็นการไม่ชอบ
หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส.จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และไม่มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน และเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน การเพิกถอนนิติกรรม และความรับผิดของทายาท
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทเพียงอย่างเดียว แต่มีคำขอให้โอนที่ดินพิพาทและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถโอนได้ให้ใช้เงิน 520,001 บาท แก่โจทก์ด้วยดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทจาก ส. มาโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2ยังไม่โอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทต่อไปที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทก็ต้องกลับมาเป็นของ ส.ซึ่งเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ส. ก็ย่อมสามารถโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2ได้โอนต่อไปยังจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอันไม่สามารถเพิกถอนการโอนได้เสียแล้วการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมใช้เงิน 520,000 บาท แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทระหว่าง ส. และจำเลยที่ 2 เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนจึงเป็นการไม่ชอบ หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส. จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และไม่มีคำส่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกันและเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีจัดการมรดก ต้องเป็นข้อสำคัญในคดีจึงมีผิด
คดีแพ่งที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 และ 1718 มีประเด็นข้อสำคัญในคดีว่า ผู้ร้องคือจำเลยในคดีนี้เป็นทายาทหรือมีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ มีเหตุจะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายดังนั้น การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับจำนวนทายาท การให้ความยินยอมของทายาทและแสดงพยานหลักฐานบัญชีเครือญาติไม่ตรงต่อความจริง แม้จะเป็นความเท็จก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีอันอาจทำให้ผลของคดีร้องขอจัดการมรดกเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบของความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการออกใบแทนโฉนดที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์ กรณีทายาทผู้มีส่วนได้เสียโต้แย้งการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของ ส.และ น.ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ส. กับ น.โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทจึงมีส่วนได้เสียในที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ฟ้อง ค.ในฐานะผู้จัดการมรดกของส. ให้โอนที่ดินหลายแปลงเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลแพ่งแล้วจำเลยที่ 1 กับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ตกลงโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ตามฟ้องรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีนี้ด้วย และในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว ค.มิได้แยกที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของ น.ออกก่อน น.และโจทก์ทั้งสามจึงได้ยื่นฟ้อง ค.ขอให้แบ่งสินสมรสและขอให้แบ่งมรดกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10864/2534 ของศาลแพ่ง และ น.ได้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1กับ ค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นสินสมรสของ น. เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16824/2534ของศาลแพ่ง ในระหว่างดำเนินคดีดังกล่าว ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้ค.ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ค.ไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ศาล ศาลแพ่งจึงมีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินสังกัดจำเลยที่ 10 ให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์โจทก์ทั้งสามคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าออกใบแทนไม่ได้เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์มิได้สูญหายไป แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ยังฝ่าฝืนออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง ๆ ที่ปิดประกาศไม่ครบกำหนดและไม่ได้ปิดประกาศในที่ดินพิพาททุกแปลงอันเป็นการไม่ชอบแล้วโอนให้จำเลยที่ 1 เสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8รู้ว่าโจทก์ทั้งสามและ น.ได้ฟ้อง ค.ขอแบ่งสินสมรสและแบ่งมรดกและได้ฟ้องคดีขอให้มีคำพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523ของศาลแพ่ง ไม่มีผลผูกพันสินสมรสของ น. ทั้งนี้ จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 สมคบกันกระทำเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสามได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสามถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของนายสดที่โจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ในการออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 ที่สมคบกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันนั้นทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย คำพิพากษาและการบังคับคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามในคดีนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการตั้งประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของทายาทในคดีเพิกถอนการออกใบแทนโฉนดที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์อันมีผลมาจากสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของส.และน.ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของส. กับน.โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทจึงมีส่วนได้เสียในที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งต่อมาจำเลยที่1ได้ฟ้องค. ในฐานะผู้จัดการมรดกของส. ให้โอนที่ดินหลายแปลงเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่9536/2523ของศาลแพ่งแล้วจำเลยที่1กับค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ตกลงโอนที่ดินให้จำเลยที่1ตามฟ้องรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีนี้ด้วยและในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าวค.มิได้แยกที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของน.ออกก่อนน.และโจทก์ทั้งสามจึงได้ยื่นฟ้องค.ขอให้แบ่งสินสมรสและขอให้แบ่งมรดกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่10864/2534ของศาลแพ่งและน.ได้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่1กับค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่9536/2523ไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นสินสมรสของน. เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่16824/2534ของศาลแพ่งในระหว่างดำเนินคดีดังกล่าวศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้ค.ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ค.ไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ศาลศาลแพ่งจึงมีหนังสือถึงจำเลยที่3ที่4และที่9ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินสังกัดจำเลยที่10ให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์โจทก์ทั้งสามคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าออกใบแทนไม่ได้เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์มิได้สูญหายไปแต่จำเลยที่3ที่4ที่9และที่10ยังฝ่าฝืนออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งๆที่ปิดประกาศไม่ครบกำหนดและไม่ได้ปิดประกาศในที่ดินพิพาททุกแปลงอันเป็นการไม่ชอบแล้วโอนให้จำเลยที่1เสร็จแล้วจำเลยที่1ได้จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่2และที่5ถึงที่8โดยจำเลยที่2และที่5ถึงที่8รู้ว่าโจทก์ทั้งสามและน.ได้ฟ้องค.ขอแบ่งสินสมรสและแบ่งมรดกและได้ฟ้องคดีขอให้มีคำพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่1กับค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่9536/2523ของศาลแพ่งไม่มีผลผูกพันสินสมรสของน. ทั้งนี้จำเลยที่1ที่2และที่5ถึงที่8สมคบกันกระทำเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสามได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสามถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของนายสดที่โจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่3ที่4ที่9และที่10ในการออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่1ที่2และที่5ถึงที่8ที่สมคบกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันนั้นทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วยคำพิพากษาและการบังคับคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามในคดีนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการตั้งประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ: กรณีทายาทผู้รับมรดก
โจทก์และผู้ร้องต่างก็เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส.ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างที่ ส.ทำไว้กับโจทก์ และชำระหนี้ที่ ส.กู้ยืมไปจากผู้ร้องให้แก่ผู้ร้อง หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์ที่ ส.จำนองไว้เป็นประกันหนี้ผู้ร้องออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องได้ จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์และผู้ร้อง โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ ส.จำนองไว้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นมรดกของ ส.เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาจ้างที่ส.ทำไว้กับโจทก์บางส่วน แต่ได้ชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่อาจบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญ ตาม ป.พ.พ.มาตรา702 วรรคสอง และ ป.วิ.พ.มาตรา 289 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ แม้ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับ ส.อันเป็นมูลหนี้ในคดีนี้จะมีผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งผู้ร้องทราบดีว่า หาก ส.ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของ ส.ก็ตาม ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้สิทธิในการขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นของผู้ร้องเสียไป
of 132