พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนบริษัท การมอบอำนาจหลังยื่นฟ้อง และผลของการไม่มีอำนาจฟ้องตั้งแต่แรก
ในคดีแพ่ง ศาลจะจะต้องพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะแต่ข้อประเด็นที่คู่ความอ้างอิงยกขึ้นเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอันปรากฏตามฟ้องและคำให้การเหล่านั้น
ตามฟ้อง โจทก์กล่าวอ้างว่า นายฟูจิโอ ผู้จัดการสาขาในประเทศไทย ได้รับมอบหมายอำนาจให้ฟ้องคดีในรามบริษัทโจทก์ในญี่ปุ่นได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐาน จะได้อ้างส่งศาลวันพิจารณา นายฟูจิโอมิได้อ้างว่าตนเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปและมีกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสียหายของบริษัทโจทก์แต่อย่างไรเลย ต่อมาภายหลังที่จำเลยให้การตัดฟ้องและร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 แล้ว ทนายโจทก์จะอ้างหนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ซึ่งเพิ่งมอบอำนาจขึ้นภายหลังวันที่นายฟูจิโอแต่งทนายยื่นฟ้องศาลแล้ว 9 วัน มาเพื่อแสดงว่านายฟูจิโอมีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทโจทก์ได้หาไม่ และกรณีเช่นว่านี้หาเป็นกรณีฉุกเฉินประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 802 ไม่ เพราะการรู้ว่าบริษัทจะต้องเสียหายด้วยการเสียภาษีนั้น สาขาบริษัทได้รู้นับแต่วันรับแจ้งการประเมินแล้ว มีเวลาเพียงพอตามประมวลรัษฎากร ที่จะจัดการให้ได้รับมอบอำนาจให้การะทำการยื่นฟ้องต่อศาลได้ถ้าบริษัทโจทก์เห็นว่า การเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้องและติดใจจะยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อการอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร ไม่สำเร็จ
การที่นายฟูจิโอแต่ทนายยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว 9 วัน บริษัทโจทก์จึงได้ทำการมอบอำนาจให้นายฟูจิโอทำการยื่นฟ้องต่อศาลแทนบริษัทได้ ทั้งได้ให้สัตยาบันการกระทำที่แล้วมานั้นด้วย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณา เพราะเมื่อนายฟูจิโอไม่มีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทในเวลาที่ยื่นฟ้องนั้นแล้ว ฟ้องของโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก ไม่มีทางใด ๆ ที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณามาแต่ต้น แม้จะได้มีการรับรองหรือให้สัตยาบันในภายหลังต่อมา ก็หากระทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้แล้วนั้น กลับคืนดีมาเป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณาในภายหลังได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 723-724/2503 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2502)
ตามฟ้อง โจทก์กล่าวอ้างว่า นายฟูจิโอ ผู้จัดการสาขาในประเทศไทย ได้รับมอบหมายอำนาจให้ฟ้องคดีในรามบริษัทโจทก์ในญี่ปุ่นได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐาน จะได้อ้างส่งศาลวันพิจารณา นายฟูจิโอมิได้อ้างว่าตนเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปและมีกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสียหายของบริษัทโจทก์แต่อย่างไรเลย ต่อมาภายหลังที่จำเลยให้การตัดฟ้องและร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 แล้ว ทนายโจทก์จะอ้างหนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ซึ่งเพิ่งมอบอำนาจขึ้นภายหลังวันที่นายฟูจิโอแต่งทนายยื่นฟ้องศาลแล้ว 9 วัน มาเพื่อแสดงว่านายฟูจิโอมีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทโจทก์ได้หาไม่ และกรณีเช่นว่านี้หาเป็นกรณีฉุกเฉินประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 802 ไม่ เพราะการรู้ว่าบริษัทจะต้องเสียหายด้วยการเสียภาษีนั้น สาขาบริษัทได้รู้นับแต่วันรับแจ้งการประเมินแล้ว มีเวลาเพียงพอตามประมวลรัษฎากร ที่จะจัดการให้ได้รับมอบอำนาจให้การะทำการยื่นฟ้องต่อศาลได้ถ้าบริษัทโจทก์เห็นว่า การเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้องและติดใจจะยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อการอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร ไม่สำเร็จ
การที่นายฟูจิโอแต่ทนายยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว 9 วัน บริษัทโจทก์จึงได้ทำการมอบอำนาจให้นายฟูจิโอทำการยื่นฟ้องต่อศาลแทนบริษัทได้ ทั้งได้ให้สัตยาบันการกระทำที่แล้วมานั้นด้วย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณา เพราะเมื่อนายฟูจิโอไม่มีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทในเวลาที่ยื่นฟ้องนั้นแล้ว ฟ้องของโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก ไม่มีทางใด ๆ ที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณามาแต่ต้น แม้จะได้มีการรับรองหรือให้สัตยาบันในภายหลังต่อมา ก็หากระทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้แล้วนั้น กลับคืนดีมาเป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณาในภายหลังได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 723-724/2503 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นและการรับผิดในค่าหุ้นค้างชำระ ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อบริษัท
ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้โอนขายหุ้นทั้งหมดให้ผู้อื่นไปแล้ว และบริษัทก็ได้แก้ทะเบียนให้ผู้รับโอนเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว ถึงแม้เงินค่าหุ้นนั้นจะยังส่งใช้ไม่ครบอยู่ก็ดี โจทก์ผู้ชนะคดีบริษัทจำเลยจะขออายัติสิทธิเรียกร้องบังคับให้ผู้โอนขายหุ้นนั้นชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ ไม่ได้ เพราะบริษัท จำเลยหมดสิทธิจะเรียกร้องจากผู้โอนหุ้นไปแล้ว ผู้รับโอนย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อบริษัท
ในคดีอายัติสิทธิเรียกร้องของจำเลยต่อบุคคลภายนอกให้ชำระเงินนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตาม ตารางข้อ 2 (ก) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2503)
ในคดีอายัติสิทธิเรียกร้องของจำเลยต่อบุคคลภายนอกให้ชำระเงินนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตาม ตารางข้อ 2 (ก) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นและการรับผิดในค่าหุ้นค้างชำระ: ผู้โอนหุ้นหมดความรับผิดเมื่อบริษัทรับผู้รับโอนเป็นผู้ถือหุ้น
ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้โอนขายหุ้นทั้งหมดให้ผู้อื่นไปแล้วและบริษัทก็ได้แก้ทะเบียนให้ผู้รับโอนเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว ถึงแม้เงินค่าหุ้นนั้นจะยังส่งใช้ไม่ครบก็ดี โจทก์ผู้ชนะคดีบริษัทจำเลยจะขออายัดสิทธิเรียกร้องบังคับให้ผู้โอนขายหุ้นนั้นชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ ไม่ได้ เพราะบริษัทจำเลยหมดสิทธิจะเรียกร้องจากผู้โอนหุ้นไปแล้ว ผู้รับโอนย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อบริษัท
ในคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยต่อบุคคลภายนอกให้ชำระเงินในปัญหาที่ว่าอายัดได้หรือไม่นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2503)
ในคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยต่อบุคคลภายนอกให้ชำระเงินในปัญหาที่ว่าอายัดได้หรือไม่นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกู้ยืมเงินบริษัท: การสัตยาบันโดยปริยายจากประโยชน์ที่ได้รับ
ผู้จัดการของบริษัทจะมีอำนาจที่จะกู้ยืมเงินได้โดยสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทได้รับประโยชน์จากการยืมเงินรายนี้โดยตรง ก็ย่อมถือได้ว่าบริษัทได้ให้สัตยาบันแก่การกู้ยืมเงินรายนี้โดยปริยายแล้ว บริษัทต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกู้ยืมเงินของบริษัท: การสัตยาบันโดยปริยายและการรับผิด
ผู้จัดการของบริษัทจะมีอำนาจที่จะกู้ยืมเงินได้โดยสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทได้รับประโยชน์จากการยืมเงินรายนี้โดยตรงก็ย่อมถือได้ว่าบริษัทได้ให้สัตยาบันแก่การกู้ยืมเงินรายนี้โดยปริยายแล้วบริษัทต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทละเลยหน้าที่ ปกปิดความเสียหาย ทำให้บริษัทต้องเสียค่าปรับ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทไม่ได้
โจทก์เป็นประธานกรรมการบริษัทจำเลยและเป็นเจ้าของที่ดินและตึกซึ่งบริษัทจำเลยเช่าอยู่ โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกให้แก่ผู้ซื้อ โดยมีเงื่อนไขเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์รับรองจะให้บริษัทจำเลยออกจากตึกและให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองที่ดินและตึกภายใน 3 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ถ้าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติได้ โจทก์ยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงิน 160,000 บาท โจทก์ได้แจ้งให้บริษัทจำเลยออกจากที่ดินและตึกภายใน 3 เดือน ก่อนครบกำหนด 3 เดือนเพียง 1 วันโจทก์จึงได้แจ้งให้บริษัทจำเลยทราบว่า ถ้าโจทก์ส่งมอบที่ดินและตึกให้แก่ผู้ซื้อไม่ได้ตามกำหนด โจทก์จะถูกผู้ซื้อเรียกค่าเสียหายดังนี้ถือว่าโจทก์เป็นประธานกรรมการบริษัทจำเลยมีหน้าที่จะต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 โจทก์กลับปกปิดความจริงเรื่องที่จะต้องถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกเรียกค่าเสียหาย เพิ่งแจ้งให้บริษัททราบต่อเมื่ออีก 1 วัน จะต้องถูกผู้ซื้อปรับการกระทำของโจทก์เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผิดวิสัยบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจะพึงปฏิบัติ ทำให้บริษัทจำเลยและผู้ถือหุ้นทั้งหลายต้องเสียหาย โจทก์จะนำผลแห่งความละเมิดของตนมาฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับที่โจทก์ต้องเสียแก่ผู้ซื้อไปและค่าเสียหายอื่นๆ จากบริษัทจำเลยหาได้ไม่
ค่าสินไหมทดแทนในการที่ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าเนิ่นช้า นั้น ตามธรรมดาควรจะเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าเป็นรายวัน ส่วนค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้นับว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งผู้เช่าจะต้องรู้ถึงความเสียหายพิเศษนี้ในระยะเวลาอันสมควรก่อนที่ตกลงไว้ว่าจะออกจากสถานที่เช่า ผู้ให้เช่าจึงจะเรียกร้องค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษนี้จากผู้เช่าได้
ค่าสินไหมทดแทนในการที่ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าเนิ่นช้า นั้น ตามธรรมดาควรจะเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าเป็นรายวัน ส่วนค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้นับว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งผู้เช่าจะต้องรู้ถึงความเสียหายพิเศษนี้ในระยะเวลาอันสมควรก่อนที่ตกลงไว้ว่าจะออกจากสถานที่เช่า ผู้ให้เช่าจึงจะเรียกร้องค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษนี้จากผู้เช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่บริษัทที่ผิดระเบียบ และการถอนผู้ชำระบัญชีต้องทำภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
กรณีเรื่องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัดอันผิดระเบียบ และขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งนั้น กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งและผู้ถือหุ้นนับได้ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งหุ้นของบริษัทย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่ง ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ตอนท้ายโดยไม่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่ง เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตามป.พ.พ. มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 142(5),246,247
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่ง เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตามป.พ.พ. มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 142(5),246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาโดยกรรมการบริษัทคนเดียวมีผลผูกพันบริษัท แม้ข้อบังคับกำหนดกรรมการ 2 คนลงนาม
การที่กรรมการบริษัทจำกัดนายเดียวลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานผู้จัดการบริษัทจำกัด และหลังจากนั้นบริษัทก็ได้ถือเอาผลงานซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างคู่สัญญาได้ดำเนินการตามสัญญาจ้างเหมาเป็นลำดับมานั้น ถือได้ว่าเป็นการทำแทนบริษัทแล้ว แม้ตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการ 2 นายลงนามแทนบริษัทจึงจะมีผลผูกพันก็ดี
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ
(อ้างฎีกา 1525/2494)
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ
(อ้างฎีกา 1525/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาจากผู้จัดการบริษัท แม้ข้อบังคับกำหนดกรรมการ 2 นายลงนาม ย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
การที่กรรมการบริษัทจำกัดนายเดียวลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานผู้จัดการบริษัทจำกัด และหลังจากนั้นบริษัทก็ได้ถือเอาผลงานซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างคู่สัญญาได้ดำเนินการตามสัญญาจ้างเหมาเป็นลำดับมานั้นถือได้ว่าเป็นการทำแทนบริษัทแล้ว แม้ตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจดทะเบียนไว้จะต้อง มีกรรมการ 2 นายลงนามแทนบริษัทจึงจะมีผลผูกพันก็ดี
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ(อ้างฎีกาที่ 1525/2494)
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ(อ้างฎีกาที่ 1525/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนบริษัท: คณะกรรมการต้องมอบอำนาจก่อน
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "คณะกรรมการมีอำนาจตั้งตัวแทน กำหนดอำนาจตัวแทนได้ตามที่เห็นสมควรและให้คณะกรรมการเป็นโจทก์จำเลยในคดีแพ่งหรืออาญา โดยกรรมการ 2 นายมีอำนาจลงนามและประทับตราและให้คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการของบริษัท โดยความควบคุมของที่ประชุมใหญ่" ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการยังไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการฟ้องคดีผู้จัดการจะอ้างนามบริษัทฟ้องไม่ได้