พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านา ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ หากไม่ครบถ้วน สัญญาเช่ายังมีผล
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา 26,37 กำหนดให้ผู้ให้เช่านาต้องบอกเลิกการเช่านาด้วยเหตุตามมาตรา 37 โดยทำเป็นหนังสือให้ผู้เช่านาทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจะครบกำหนดการเช่านา เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยก่อนครบกำหนดการเช่าเพียง 8 เดือน และตามหนังสือบอกกล่าวก็มิได้ระบุเหตุการบอกเลิกการเช่านาไปยัง คชก.ตำบล ตามที่มาตรา 37 กำหนดไว้เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเช่านายังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินทำนา ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การบอกเลิกก่อนกำหนดและไม่แจ้งเหตุต่อ คชก.ตำบล ทำให้สัญญาเช่ายังมีผล
ตามบทบัญญัติในมาตรา26และมาตรา37แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524เห็นได้ว่าเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาตามมาตรา26วรรคหนึ่งแล้วถ้าผู้ให้เช่านามิได้บอกเลิกการเช่านาตามมาตรา37และผู้เช่านายังทำนาในที่นานั้นต่อไปให้ถือว่าได้มีการเช่านานั้นต่อไปอีกคราวละหกปีและการบอกเลิกการเช่านาต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของมาตรา37โดยผู้ให้เช่านาต้องบอกเลิกเป็นหนังสือให้ผู้เช่านาทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจะครบกำหนดการเช่านาและผู้ให้เช่านาจะบอกเลิกการเช่านาได้ก็ด้วยเหตุตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา37 การเช่านาระหว่างโจทก์และจำเลยจะครบกำหนดในวันที่20ตุลาคม2532แต่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าเมื่อวันที่20กุมภาพันธ์2532การบอกเลิกการเช่านาดังกล่าวจึงเป็นการบอกเลิกก่อนครบกำหนดการเช่าเพียง8เดือนเท่านั้นและตามหนังสือบอกกล่าวก็มิได้ระบุเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่านาไปยังคชก.ตำบลตามที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา37กำหนดไว้การบอกเลิกการเช่านาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายการเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่สิ้นสุดลงโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, และการคิดดอกเบี้ยหลังสิ้นสุดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์และได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์และเพิ่มวงเงินกู้2ครั้งรวมเป็นวงเงิน5,000,000บาทคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีการค้าของธนาคารร้อยละ15ต่อปีโดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาหลังจากนั้นจำเลยที่1ได้ถอนเงินและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันตลอดมาจนสัญญาครบกำหนดจำเลยที่1คงเบิกเงินจากบัญชีต่อไปแต่ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์อีกต่อไปจึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1จำเลยที่1คงค้างชำระหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน7,095,820.70บาทรายละเอียดปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ซึ่งโจทก์จะส่งศาลให้ชั้นพิจารณาขอให้จำเลยที่1รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ดังนี้คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้วแม้โจทก์จะไม่มีบัญชีเดินสะพัด(บัญชีกระแสรายวัน)ของจำเลยที่1แนบมาท้ายฟ้องแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์ไม่ได้แนบบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1มาท้ายฟ้องจึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์2ฉบับตั๋วแลกเงิน6ฉบับและทรัสต์รีซีท6ฉบับรวม15ฉบับซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม3ครั้งค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้องโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้วเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่1ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แต่จำเลยที่1ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม6ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อนโดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม6ฉบับให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระจำเลยที่1ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วนคงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19บาทโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้าชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศเลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋วและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่นๆตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้วคำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้วเอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้นแม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้งป. เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งคดีอาญาคดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวงป. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใดๆเกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียวและหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์30บาทถูกต้องตามข้อ7(ข)ของบัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้วโจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรมาตรา118ไม่การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว จำเลยที่1ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์2ครั้งในวงเงิน5,000,000บาทโดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ2และ3ใจความว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าวก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราวๆไปและให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือนประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้นดังนี้แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัดโดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ3ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่1ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วยเมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดไปด้วยปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อวันที่25เมษายน2532จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์5,492,962.01บาทหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้งโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์2533หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกหรือถอนเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีกดังนี้ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่1ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไปและโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่28กุมภาพันธ์2533ปรากฏว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86บาทซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันพฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่1ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28กุมภาพันธ์2533ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่1อีกคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทน
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย แม้จะมีการกำหนดให้ชำระเงินเป็นงวด ๆ รวม 4 งวด โดยกำหนดวันชำระเงินแต่ละงวดไว้แน่นอนก็ตาม แต่สัญญาก็มีข้อความระบุว่าถ้าโจทก์จ่ายเงินในแต่ละงวดไม่ทันตามกำหนด โจทก์ยินยอมเสียดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารให้จำเลยทั้งสอง และโจทก์จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31ธันวาคม 2532 หากโจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินไม่เสร็จภายในกำหนดดังกล่าวให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา แสดงว่า ในการชำระเงินตามงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 3คู่สัญญามิได้ถือเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องชำระเงินแต่ละงวดให้จำเลยตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยคู่สัญญายอมให้โจทก์ชำระเงินแต่ละงวดล่าช้ากว่ากำหนดได้ เพียงแต่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้จำเลยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร คงมีแต่เฉพาะงวดที่ 4 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายเท่านั้นที่โจทก์จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดตามสัญญาพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองเนื่องจากการชำระเงินไม่ตรงตามงวด โดยโจทก์ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31ธันวาคม 2532 มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ดังนั้น การที่โจทก์มิได้ชำระเงินในงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 3 ตามกำหนดเวลาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เพราะเหตุนี้หาได้ไม่ และจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะกำหนดระยะเวลาขึ้นมาใหม่ แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินภายในระยะเวลานั้น โดยแจ้งว่าหากโจทก์ไม่ชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา อันจะเป็นผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ได้ เพราะหนังสือสัญญาจะซื้อขายได้กำหนดเวลาชำระหนี้ทั้งหมดที่ค้างชำระไว้แน่นอนตายตัวแล้ว คือ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2532การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือทวงถามโจทก์ให้ชำระเงินในงวดที่ 1 โดยกำหนดเวลาให้ชำระภายในวันที่ 23 มิถุนายน 2532 และโจทก์ได้รับหนังสือทวงถามของจำเลยทั้งสองแล้ว แต่โจทก์ไม่ชำระเงินให้จำเลยทั้งสองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เช่นนั้น การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จึงหาเป็นผลให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นอันเลิกกันไม่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองยังคงมีผลผูกพันต่อกันอยู่ แต่การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่นนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนไขเวลา ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายอีกต่อไป ดังนั้น กำหนดเวลาตามสัญญาที่ให้จำเลยทั้งสองไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2532 จึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นเสียแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 154วรรคสอง เดิม เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 4 ธันวาคม 2532 แจ้งให้จำเลยทั้งสองไปรับเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยและโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 15 ธันวาคม 2532 จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือของโจทก์แล้ว ไม่ไปรับเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2532 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ โดยไม่กำหนดให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่ค้างแก่จำเลยทั้งสองนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระแก่จำเลยทั้งสองได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ โดยไม่กำหนดให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่ค้างแก่จำเลยทั้งสองนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5794/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ชอบ การยอมรับค่าเช่าซื้อที่ชำระไม่ตรงตามกำหนดแสดงว่าไม่ถือเอาข้อกำหนดเรื่องการผิดนัด
โจทก์ยอมรับค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่1ชำระไม่ตรงตามกำหนดตลอดมาแสดงว่าโจทก์ไม่ถือเอาข้อกำหนดสัญญาที่ว่าจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดสัญญาเป็นอันเลิกกันโดยไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นสาระสำคัญเมื่อจะบอกเลิกสัญญาโจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อภายในเวลาที่สมควรก่อนเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยมิได้กำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่ชอบสัญญายังไม่เลิกกันโจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แม้ผู้รับไม่รับก็ถือว่ามีผลผูกพัน
โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงจำเลยตามภูมิลำเนา เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาให้จำเลยไม่ได้ โดยรายงานเหตุขัดข้องว่า "ย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่" เกิดจากการที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับหมาย ดังนี้ การที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำหนังสือบอกเลิกสัญญาไปส่งให้จำเลย ที่ภูมิลำเนาของจำเลยอันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการ แม้จะไม่พบจำเลยและไม่มีผู้ใดรับไว้ แต่ก็ถือได้ว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์ได้ไปถึงจำเลย และมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 และมาตรา169 แล้ว การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไปยังจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ: การส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ถึงแม้ผู้รับไม่รับเอง ก็ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบ
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงการวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไปส่งที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่1แม้ไม่พบจำเลยที่1และไม่มีผู้ใดรับไว้โดยเกิดจากการที่จำเลยที่1หลีกเลี่ยงไม่ยอมรับก็ถือว่าหนังสือบอกเลิกสัญญาได้ไปถึงจำเลยที่1และมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาตัวแทนและการไม่ผูกพันตามสัญญา เมื่อมีเหตุสุดวิสัยจากระเบียบราชการ
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้ เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของ ก.เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ ดังนั้น ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 827
เมื่อปรากฏว่า หลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จาก ก. แต่ ก.ได้กำหนดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลายประการ และ ก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อน ซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาต และผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูล ต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ ดังนี้ ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้ แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใด ๆ ได้ก็ตาม และการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญา ฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาด แต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลย เช่นนี้ สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว
ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์ และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลย และเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้ เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว ฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ก.ได้ และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อย ฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์
เมื่อปรากฏว่า หลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จาก ก. แต่ ก.ได้กำหนดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลายประการ และ ก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อน ซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาต และผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูล ต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ ดังนี้ ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้ แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใด ๆ ได้ก็ตาม และการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญา ฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาด แต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลย เช่นนี้ สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว
ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์ และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลย และเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้ เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว ฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ก.ได้ และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อย ฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนก่อสร้าง: สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยและไม่ได้ผูกพันตามเงื่อนไขเดิม
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของก. เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ดังนั้นฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827 เมื่อปรากฎว่าหลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จากก.แต่ก.ได้กำหนดให้ปฎิบัติตามเงื่อนไขหลายประการและก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฎิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตและผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูลต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฎิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ดังนี้ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดๆได้ก็ตามและการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญาฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาดแต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลยเช่นนี้สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้นเมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลยและเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของก.ได้และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อยฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรม: ระยะเวลาบอกเลิกและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดิน
สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 15 ครบกำหนดวันที่ 13กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 15 ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกเลิกการเช่ามาถึงโจทก์ผู้เช่าโจทก์ได้รับหนังสือวันที่ 4 มิถุนายน 2533 แต่การประชุมของ คชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2534 เพิ่งได้มีการกำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้ว ดังนั้น ขณะที่จำเลยที่ 15 มีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงเวลาโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่า จึงยังไม่มีวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่จะใช้สำหรับนับระยะเวลาในการบอกเลิกการเช่า การที่จำเลยที่ 15 ทำหนังสือบอกเลิกการเช่านาซึ่งโจทก์ได้รับในช่วงต้นฤดูการทำนา ก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่าเกินกว่าหนึ่งปี จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะนำวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นมาภายหลังมาลบล้างผลแห่งการบอกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วให้เสียไปหาได้ไม่
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา37 มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา 37 (1) - (4) ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่า หากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อ คชก.ตำบล เมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้ว และปรากฏว่าแม้จำเลยที่ 15 มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน (1) - (4) ของมาตรา 37 ไว้ในเอกสารหมาย จ.6ก็ตาม แต่จำเลยที่ 15 ก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้ว ซึ่งเมื่อ คชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของ คชก.ตำบลลำลูกกา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2533 โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไป จำเลยที่ 15 จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาต่อทาง คชก.จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2533 โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสม จึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่ 15 ชอบด้วยมาตรา 37 แล้ว
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา37 มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา 37 (1) - (4) ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่า หากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อ คชก.ตำบล เมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้ว และปรากฏว่าแม้จำเลยที่ 15 มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน (1) - (4) ของมาตรา 37 ไว้ในเอกสารหมาย จ.6ก็ตาม แต่จำเลยที่ 15 ก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้ว ซึ่งเมื่อ คชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของ คชก.ตำบลลำลูกกา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2533 โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไป จำเลยที่ 15 จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาต่อทาง คชก.จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2533 โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสม จึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่ 15 ชอบด้วยมาตรา 37 แล้ว